HISO - สื่อข้อมูลสุขภาพ เกิดข้อผิดพลาด ไม่สามารถติดต่อฐานข้อมูลได้
  



สำรวจความมั่นคงในชีวิต (2)
ปัญหาสุขภาพอนามัย









กลุ่มประเมินผล สำนักตรวจและประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เปิดเผยข้อมูลจากการสำรวจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดในปี 2554 จำนวน 7,779 แห่งของพื้นที่ 4 ภาค รวมทั้งหมด 75 จังหวัด จากการสำรวจตัวบ่งชี้ต่างๆ ทั้งหมด 8 ด้านที่สะท้อนถึงปัญหาด้านสุขภาพ พบพื้นที่ที่กำลังประสบกับปัญหาต่างๆ ดังนี้

• ประชาชนที่ติดสุรา พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 38.7 รองลงมา คือ ภาคเหนือ ร้อยละ 29.4 ภาคกลาง ร้อยละ 19.2 และภาคใต้ ร้อยละ 12.7 ตามลำดับ

• ประชาชนที่ติดสารเสพติดร้ายแรง เช่น ยาอี สารระเหย กัญชา เป็นต้น พบมากที่สุดในภาคใต้ ร้อยละ 33.9 รองลงมาคือ ภาคกลาง ร้อยละ 26.0 ภาคเหนือ ร้อยละ 21.0 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 19.1 ตามลำดับ

• ประชาชนที่ติดเชื้อเอดส์ และสมควรได้รับความช่วยเหลือ (ทั้งที่ได้รับคววามช่วยเหลือแล้วและยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ) พบมากที่สุดในภาคเหนือ ร้อยละ 43.1 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 27.3 ภาคกลาง ร้อยละ 20.6 และภาคใต้ ร้อยละ 9.0 ตามลำดับ

• ประชาชนที่ติดโรคระบาดในรอบปี เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอหิวาตกโรค โรคไข้หวัดนก โรคฉี่หนู เป็นต้น พบมากที่สุดในภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 30.1 รองลงมาได้แก่ ภาคใต้ ร้อยละ 23.9 ภาคกลาง ร้อยละ 23.3 และภาคกลาง ร้อยละ 22.7 ตามลำดับ

• ประชาชนที่เสียชีวิตในรอบปีจากโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดัน เป็นต้น พบมากที่สุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 37.0 รองลงมาคือ ภาคเหนือ ร้อยละ 35.5 ภาคกลาง ร้อยละ 18.5 และภาคใต้ ร้อยละ 9.0 ตามลำดับ

• ประชาชนที่เจ็บป่วยและไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (ไม่รวมคนพิการ) พบมากที่สุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 51.3 รองลงมา คือ ภาคกลาง ร้อยละ 27.0 ภาคเหนือ ร้อยละ 15.7 และภาคใต้ ร้อยละ 6 ตามลำดับ

• ประชาชนที่มีอาการทางจิต/ประสาท พบมากที่สุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 44.8 รองลงมา คือ ภาคเหนือ ร้อยละ 27.5 ภาคกลางร้อยละ 16.7 และภาคใต้ ร้อยละ 11.0 ตามลำดับ

• อื่นๆ เช่น ประชาชนที่ป่วยเป็นโรคติดต่อ (โรคตาแดง, อีสุกอีใส) เป็นโรคผิวหนังเกิดจากแพ้สารเคมีทางการเกษตร, พัฒนาการเด็กไม่สมกับวัย, โรคเครียด/ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น พบมากที่สุดที่ภาคกลาง ร้อยละ 34.3 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 33.3 ภาคเหนือ ร้อยละ 26.7 และภาคใต้ ร้อยละ 5.7 ตามลำดับ

เมื่อนำตัวบ่งชี้ทั้ง 8 ด้านมารวมกัน ภูมิภาคที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพอนามัยมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการติดสุรา ยาเสพติดร้ายแรง ติดเชื้อเอดส์ หรือโรคระบาดต่างๆ ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 37.2 รองลงมา คือ ภาคเหนือ ร้อยละ 27.4 ภาคกลาง ร้อยละ 22.1 และภาคใต้ ร้อยละ 13.3 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1)


ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชาชนที่มีปัญหาด้านสุขภาพอนามัย จำแนกตามภูมิภาค



ที่มา : ข้อมูลด้านสังคมประจำปี 2554 ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อ้างใน http://www.m-society.go.th/document/statistic/statistic_7383.pdf


ภาคตะวันออกเฉียงหรือภาคอีสานเป็นบริเวณที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุดในประเทศ อีกทั้งยังเป็นแหล่งรวมอารยธรรมที่เก่าแก่มาช้านานเกือบ 3,500 ปี ภูมิปัญญาที่สั่งสมมานับพันปีนี้ทำให้คนอีสานมีความอยู่ดีมีสุขมาช้านาน แต่อีสานในวันวานกับวันนี้ดูจะแตกต่างกันออกไป เพราะขณะนี้อีสานกลายเป็นพื้นที่ที่กำลังถูกปัญหาสังคมนานับปการรุมเร้า ซึ่งปัญหาด้านสุขภาพก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขให้ลุล่วง



เรียบเรียงโดย :  สิริกร เค้าภูไทย สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
แหล่งที่มา :  - กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ข้อมูลด้านสังคมประจำปี 2554 ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อ้างใน http://www.m-society.go.th/document/statistic/statistic_7383.pdf