HISO - สื่อข้อมูลสุขภาพ
เกิดข้อผิดพลาด ไม่สามารถติดต่อฐานข้อมูลได้
  



เผยสถิติเรื่องราวร้องทุกข์ของผู้บริโภค



มีข้อมูลที่น่าสนใจระบุว่า ในแต่ละปีมีผู้บริโภคที่ส่งเรื่องราวร้องทุกข์เพื่อขอความเป็นธรรมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนพันกว่าเรื่อง โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุดคือ เรื่องของอาหาร รองลงมา คือ ยา และเครื่องสำอาง เป็นต้น

ข้อมูลการร้องเรียน

ในปีงบประมาณ 2553 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคจำนวน 1,124 เรื่อง โดยเรื่องที่ถูกร้องเรียนมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ อาหาร ร้อยละ 55.52 (จำนวน 629 เรื่อง) รองลงมาคือ ยา ร้อยละ 23.04 (จำนวน 259 เรื่อง) และเครื่องสำอาง ร้อยละ 10.68 (จำนวน 120 เรื่อง) ตามลำดับ (ดังภาพที่ 1 และตารางที่ 1)


ภาพที่ 1 ร้อยละของประเภทสินค้าที่มีการร้องเรียนของผู้บริโภค


ที่มา : คำนวนจากตารางสถิติร้องเรียนของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2553


ตารางที่ 1 แสดงสถิติรับเรื่องร้องเรียน ปีงบประมาณ 2553

เรื่องที่ร้องเรียน
ต.ค.พ.ย. ธ.ค.ม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.รวม
    ยา
191425173018132029212429259
    อาหาร
505542506452252967655570624
    เครื่องสำอาง
1013910111252910920120
    เครื่องมือแพทย์
35553523563651
    ยาเสพติด
0000000120003
    วัตถุอันตราย
1010100012028
    อื่นๆ
56345245938357
    รวม
88938586114914960122107991301124

ที่มา :  ผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียน ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อ้างใน http://newsser.fda.moph.go.th/hpsc/frontend/theme/view_info_operation.php?Submit=Clear&ID_Info_Operation=00000021

โดยประเด็นที่มีการร้องเรียนเข้ามามาก คือ การโฆษณาอาหาร (ไม่ได้ขออนุญาต หรือโฆษณาเกินจริง) จำนวน 160 ครั้ง การขายยา (ขายยาโดยไม่ขออนุญาต ขายยาโดยไม่มีเภสัชกร ขายยาหมออายุ ยาชุด) จำนวน 114 ครั้ง โฆษณายา (โฆษณาเกินจริง โฆษณาได้รับอนุญาตหรือไม่) จำนวน 82 ครั้ง ฉลากอาหาร (ไม่ระบุวันเดือนปี ผลิต/หมดอายุ ไม่มีเลขสารบบอาหาร) จำนวน 75 ครั้ง เครื่องดื่ม (ไม่มี อย./สกปรก) 75 ครั้ง ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า (จำหน่ายสินค้าหมดอายุ ไม่มีคุณภาพ ขึ้นรา) จำนวน 65 ครั้ง นม เช่น นมยูเอชที นมผง เป็นต้น (เสียก่อนหมดอายุ หรือมีสารปนเปื้อน) จำนวน 51 ครั้ง เครื่องสำอาง (สงสัยคุณภาพ มีสารอันตราย) จำนวน 44 ครั้ง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ปลอมไม่มีเลขสารบบอาหาร) จำนวน 37 ครั้ง น้ำดื่ม (น้ำดื่มไม่มี อย. น้ำดื่มสกปรก สงสัยคุณภาพ) จำนวน 34 ครั้ง (ดังตารางที่ 2)

ลำดับ กรณีร้องเรียน ปีงบประมาณ 53 (จน.ครั้ง) รายละเอียด
1   โฆษณาอาหาร   160   โฆษณาเกินจริง
  โฆษณาได้รับอนุญาตหรือไม่
2   การขายยา   114   ขายยาโดยไม่ขออนุญาต ขายยาโดยไม่มี
  เภสัชกร ขายยาหมออายุ ยาชุด
3   โฆษณายา   82   โฆษณาเกินจริง
  โฆษณาได้รับอนุญาตหรือไม่
4   ฉลากอาหาร   75   ฉลากไม่ระบุ ว.ด.ป.ที่ผลิต/หมดอายุ
  ฉลากไม่มีเลขสารบบอาหาร
5   เครื่องดื่ม   75   เครื่องดื่มไม่มี อย.
  เครื่องดื่มสกปรก
6   ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า   65   จำหน่ายสินค้าหมดอายุ
  ไม่มีคุณภาพ ขึ้นรา
7   นม (เช่น นมยูเอชที นมผง)   51   นมเสียก่อนหมดอายุ
  นมมีสารปนเปื้อน
  สงสัยคุณภาพ
8   เครื่องสำอาง   44   เครื่องสำอาง สงสัยคุณภาพ
  มีสารอันตราย
9   ผลิตภัณฑ์เสริอาหาร   37   ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปลอม
  ไม่มีเลขสารบบอาหาร
10   น้ำดื่ม   34   น้ำดื่มไม่มี อย.
  น้ำดื่มสกปรก
  สงสัยคุณภาพ

ที่มา : ผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียน ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพิ่งอ้าง.

ทั้งนี้ช่องทางที่มีการร้องเรียนมากที่สุดคือ จดหมาย/หนังสือ ร้อยละ 42.53 รองลงมาคือ โทรศัพท์ ร้อยละ 26.69 อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 15.12 มาร้องเรียนด้วยตนเอง ร้อยละ 12.19 ส่งเรื่องร้องเรียนมาที่ ตู้ ปณ. 52 ปณจ. ร้อยละ 3.11 และโทรสาร ร้อยละ 0.36

สิทธิ 5 ประการที่ผู้บริโภคควรรู้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้ความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค โดยบัญญัติถึงสิทธิของผู้บริโภคไว้ในมาตรา 57 ว่า"สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ"

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติสิทธิของผู้ บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้

1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่ จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม

2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม

3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว

4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ

5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว

ข้อควรปฏิบัติหลังจากซื้อสินค้าหรือบริการ

ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการเก็บรักษาพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงถึง การละเมิดสิทธิของผู้บริโภคไว้ เพื่อการเรียกร้องตามสิทธิของตน พยานหลักฐานดังกล่าว อาจเป็นสินค้าที่แสดงให้เห็นว่ามีปริมาณ หรือคุณภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ระบุไว้ในฉลาก มีความสกปรก หรือมีพิษที่ก่อให้เกิดอันตราย ควรจำสถานที่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้นไว้ เพื่อประกอบการ้องเรียน และต้องเก็บเอกสารโฆษณา และใบเสร็จรับเงินเอาไว้ด้วย

เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคขึ้น ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการดำเนินการร้องเรียน ตามสิทธิของตน โดยร้องเรียนไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสินค้าหรือบริการนั้นหรือร้องเรียนมาที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคต่างจังหวัดร้องเรียนที่คณะอนุกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด

การเตรียมตัวเพื่อร้องทุกข์สำหรับผู้บริโภค

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 มาตรา 4 ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับการคุ้มครอง 5 ประการ ได้แก่

- สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ

- สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ

- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ

- สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา

- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

ดังนั้นการร้องทุกข์ เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าหรือบริการ ถือเป็นเรื่องที่ชอบธรรมที่ผู้บริโภคควรกระทำ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ความเสียหาย และเพื่อเป็นการลงโทษหรือปรามมิให้ ผู้ประกอบธุรกิจเอารัดเอาเปรียบผู้ บริโภค

การเตรียมตัวของผู้บริโภค เพื่อจะมาร้องทุกข์เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ หากเอกสารหลักฐานที่ผู้บริโภคนำมาไม่ครบถ้วน จะทำให้ผู้บริโภคเสียเวลาในการยื่นเรื่อง

การเตรียมเอกสาร หลักฐานของผู้ร้องเรียนที่ควรรู้

ผู้ร้องเรียนจะต้องเตรียม เอกสารหลักฐานให้พร้อม เพื่อจะนำมาใช้ประกอบกับการบันทึกร้องเรียน ดังนี้

- กรณีร้องเรียนเรื่องบ้าน ที่ดินจัดสรรและอาคารชุด (เอกสารทั้งหมดให้ถ่ายสำเนา 5 ชุด)

1. บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรประจำตัวข้าราชการ

2. ทะเบียนบ้านผู้ร้องเรียน

3. ที่อยู่ที่สามารถติดต่อกับผู้ประกอบธุรกิจ

4. หนังสือจอง, สัญญาจอง, สัญญาจะซื้อขาย

5. เอกสารโฆษณา, ภาพถ่าย (ถ้ามี)

6. ใบเสร็จรับเงิน, เอกสารรับเงินเรียงรับดับการชำระค่างวด

7. หนังสือ, จดหมายโต้ตอบระหว่างผู้ร้องเรียน กับผู้ประกอบธุรกิจ (ถ้ามี)

8. เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นสำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาหนังสือรับรอง ทะเบียนนิติบุคคล เป็นต้น

9. เตรียมไปรษณียบัตร จำนวน 1 แผ่นพร้อมกรอก ชื่อ -ที่อยู่ของ ผู้ร้องเรียน

10. เตรียมอากรแสตมป์จำนวน 30 บาท

วิธีการยื่นเรื่องร้องเรียน

ผู้บริโภคยื่นเรื่องร้องเรียน ที่สำนักงานคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค (กรุงเทพฯ) หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้ บริโภคประจำจังหวัดในจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ผู้ร้องเรียนกรอกรายละเอียด ในแบบบันทึกคำร้องเรียนพร้อมแนบเอกสาร (เอกสารลงชื่อรับรองสำเนาทุกฉบับ) มอบให้เจ้าหน้าที่

2. ผู้ร้องเรียนกรอกรายละเอียด ในแบบหนังสือมอบอำนาจ (มอบอำนาจให้ สคบ. ดำเนินการแทนผู้ร้อง) พร้อมติดอากรแสตมป์จำนวน 30 บาท

3. กรณีผู้บริโภคไม่สามารถร้องเรียนด้วยตนเองได้ ผู้มาร้องเรียนแทน จะต้องมีหนังสือรับรองมอบ อำนาจจากผู้บริโภค (พร้อมติดอากรแสตมป์จำนวน 30 บาท) นำมายื่นต่อเจ้าหน้าที่ด้วย




เรียบเรียงโดย :  สิริกร เค้าภูไทย สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
 
ที่มา :  - ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียน. อ้างใน http://newsser.fda.moph.go.th/hpsc/frontend/theme/view_info_operation.php?Submit=Clear&ID_Info_Operation=00000021

- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. สิทธิผู้บริโภค 5 ประการ. อ้างใน http://www.ocpb.go.th/main_previlege.asp