HISO - สื่อข้อมูลสุขภาพ
เกิดข้อผิดพลาด ไม่สามารถติดต่อฐานข้อมูลได้
  



ป่วยทางใจหลังภัยพิบัติมาเยือน



ด้วยเหตุที่คนแต่ละคนมีความรู้สึกและมีความอ่อนไหวที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อมีเหตุการณ์ความรุนแรงผ่านเข้ามาในชีวิต ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับคนแต่ละคนจึงมีความรุนแรงที่แตกต่างกัน และด้วยความไม่เหมือนกันนี้เองจึงทำให้ปัญหาสุขภาพจิตไม่ใช่ปัญหาที่สำคัญของคนในวงกว้าง คงมีแต่ผู้รอดชีวิต ญาติของเหยื่อที่เสียชีวิต ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์ รวมทั้งอาสาสมัครที่เข้าไปช่วยเหลือเท่านั้นที่มักจะได้รับผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง

ระยะอาการทางจิตโดยทั่วไปหลังเกิดภัยพิบัติ

หลังจากผ่านพ้นเหตุการณ์ที่น่าสะพรึงกลัว ผู้ประสบภัยมักจะมีอาการที่เรียกว่า Disaster Syndrome ซึ่งแบ่งอาการเป็น 3 ระยะ เริ่มต้นด้วยระยะช็อก จากนั้นจึงเข้าสู่ระยะที่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร กับระยะสุดท้าย คือระยะฟื้นคืนสติ

โดยระยะช็อก (Shock stage) นั้น เป็นระยะที่ผู้ประสบภัยหรือเหยื่อยังอยู่ในภวังค์ของการตกใจ และไม่มีสติดีพอที่จะปกป้องตนให้พ้นอันตราย จนกว่าจะพบใครมาช่วยเหลือ และจะมีอาการซึมจัด จนไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใคร

ระยะถัดมา เป็น Suggestible stage คือสามารถทำตามคำบอกหรือคำแนะนำของหน่วยกู้ภัยได้ ตระหนักในตนเองและพยายามช่วยเหลือเพื่อนหรือคนรัก

และระยะสุดท้าย เป็น ระยะฟื้น (Recover stage) ผู้ประสบภัยค่อยคลายความตื่นตระหนกลงบ้าง และเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นอาการวิตกกังวล กับค่อยๆ ฟื้นคืนความสมดุลทางจิตใจให้ปรากฏ โดยเฉพาะพยายามบอกเล่าภัยที่ตนประสบมาว่าเป็นประการใดบ้าง

แต่ในทางปฏิบัติทำได้ไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะกรณีหายนภัยที่เกิดขึ้นรุนแรงอย่างเกินความคาดหมาย เพราะจะเหยื่อที่บอบช้ำใจอย่างที่สุด อย่างเช่น ผู้ที่สูญเสียคนรักไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ สามี ภรรยา ลูกหลาน หรือญาติสนิท ซึ่งทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผิดบาปในใจที่ไม่สามารถช่วยเหลือคนเหล่านั้นไว้ได้ ซึ่งคนเหล่านี้จะมีอารมณ์เศร้า และเศร้าจัดตามมาเป็นอาการเครียดจัดของแผลใจหลังจากเกิดหายนภัยที่เรียกว่า โพสต์ ทรอมาติก สเตรส (Post Traumatic Stress)


ภาพที่ 1 อัตราการบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
ระหว่างปี พ.ศ. 2543 – 2550


ที่มา : รายงานการเฝ้าระวังการบาดเจ็บในประเทศไทย, สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค อ้างใน รายงานการสาธารณสุขไทยปี 2551-2552

PTSD โรคจิตเวชที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษหลังภัยพิบัติ

ความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย หรือที่เรียกกันว่า Post-traumatic Stress Disorder (PTSD) นั้น เป็นโรคทางจิตเวชที่ได้รับความสนใจมากที่สุด เพราะเป็นโรคที่จะฝั่งแน่นในจิตใจของผู้ประสบภัยเป็นเวลายาวนาน จนทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำงานหรือใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติดังเช่นเมื่อก่อน

มีรายงานจากการศึกษา พบว่า ความชุกของ PTSD พบได้มากเป็นอันดับ 4 ของโรคทางจิตเวชทั้งหมด โดยในช่วงชีวิตที่ผ่านมาของทั้งหญิงและชายที่ประสบเหตุการณ์ร้ายแรงโอกาสป่วยทางจิตประเภทนี้ได้ โดยผู้หญิงมีโอกาสที่จะเป็นโรค PTSDได้มากกว่าผู้ชาย ร้อยละ 18.3 ในขณะที่ผู้ชาย มีโอกาสเป็นโรคนี้เพียง ร้อยละ 10.3

ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ให้ความสนใจในผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์ความรุนแรงมากเป็นพิเศษ โดยได้ทำการศึกษาวิจัยจนพบว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์รุนแรงต่างๆ นานาๆ จะมีกลุ่มคนที่ป่วยด้วยโรคทางจิตอยู่จำนวนหนึ่ง

ความเจ็บป่วยทางจิตนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกเกิดขึ้นภายใน 1 เดือนหลังเหตุการณ์เรียกว่า Acute Stress Disorder (ASD) หรือ โรคเครียดฉับพลัน ส่วนระยะที่ 2 เกิดขึ้นหลังจากนั้น 1 เดือนหรือนานกว่านั้น เรียกว่า Post-traumatic Stress Disorder (PTSD) อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะ ASD สามารถหายเองได้ หรือไม่เป็นอะไรเลยในเดือนแรก แต่อาจะป่วยด้วย PTSD ในเวลาต่อมา หรือถ้าป่วยด้วย ASD ติดต่อกันนานเกิน 1 เดือนยังไม่หายจะกลายเป็น PTSD ได้ในภายหลัง ลักษณะอาการของโรคมีดังนี้

1. ช๊อคทางจิตใจ เงียบเฉย งง ขาดการตอบสนอง สับสน อารมณ์เฉยชาไม่แจ่มใสร่าเริงเหมือนเดิม อาการนี้มักเกิดในวันแรกๆ

2. ตกใจและหวาดกลัว (Hyper arousal) เกิดจากความกลัวเหตุการณ์นั้นวิตกกังวลง่าย กังวลแม้แต่เรื่องเล็กน้อย ตกใจง่ายจากเสียงดัง หรือเสียงคลื่น ขาดสมาธิ ย้ำคิดย้ำทำ คิดวนเวียนเรื่องที่วิตกกังวลซ้ำๆ ถามพ่อแม่ถึงความปลอดภัยซ้ำๆ อาจมีอาการอารมณ์แปรปรวน ร้องไห้ไม่สามารถควบคุมตนเอง

3. รู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์นั้นอีก (Reexperiencing) คิดถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ ตกใจขึ้นมาเองเหมือนตัวเองอยู่ในเหตุการณ์นั้นเมื่อมีสิ่งเร้าเพียงเล็กน้อย เช่นได้ยินเสียงคลื่น เสียงน้ำ เสียงคนร้องตะโกนดังๆ คิดซ้ำๆถึงเหตุการณ์นั้น ฝันร้ายว่าอยู่ในเหตุการณ์นั้นอีก รู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์นั้นขึ้นมาเองและตกใจกลัว (Flash back) เกิดอาการทางร่างกายของความวิตกกังวลรุนแรง เช่น ใจสั่นมือสั่น เหงื่อออกมาก ในเด็กโตหรือวัยรุ่นบางคน

4. กลัวและหลีกเลี่ยง (Avoidance) กลัวสถานที่หรือสถานการณ์ที่ประสบเหตุ หวาดกลัวสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ และหลีกเลี่ยงไม่กล้าเผชิญกับสิ่งเร้านั้นๆ เช่น กลัวคลื่น กลัวเสียงคลื่น กลัวทะเล กลัวชายหาด ไม่กล้ากลับเข้าบ้านหรือไปที่ชายหาด กลัวสิ่งที่คล้ายๆสิ่งกระตุ้นภัยพิบัติ เช่น กลัวน้ำจากฝักบัว กลัวสระว่ายน้ำ ไม่กล้าว่ายน้ำ หรืออาบน้ำจากฝักบัว

โดยอาการต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นได้ ร้อยละ 15-40 ของผู้ประสบภัย ถ้าเกิดขึ้นใน 4 สัปดาห์แรกหลังเหตุการณ์ เรียกว่า Acute Stress Disorder ซึ่งอาการเหล่านั้นมักหายได้เอง แต่ถ้าหลัง 4 สัปดาห์แล้วยังมีอาการเหล่านี้อยู่ หรืออาการเหล่านั้นเกิดขึ้นในภายหลังก็เรียกว่า Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD)


จากการศึกษาการป่วยด้วยโรคนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า
- มีผู้ใหญ่เกือบ 8 ล้านคนในประเทศสหรัฐอมเริกาที่ป่วยด้วยโรค PTSD (จากการรายงานของสมาคมสุขภาพจิตแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา)
- จากข้อมูลการสำรวจในกลุ่มวัยรุ่นของสหัฐอเมริกายังพบว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 4,023 คนที่มีอายุระหว่าง 12-17 ปี มีผู้ป่วยด้วยโรค PTSD เป็นชาย ร้อยละ 3.7 และเป็นหญิง ร้อยละ 6.3

สำหรับในประเทศไทย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข (TUC) ได้ทำการสำรวจปัญหาสุขภาพจิตของผู้ใหญ่และเด็กหลังประสบเหตุการณ์สึนามิในปี 2547 จนถึงปัจจุบัน พบข้อมูลที่สำคัญดังนี้

- ในกลุ่มผู้ใหญ่พบ อาการ PTSD หรือ ภาวะเครียด ร้อยละ 11.9 ในการสำรวจครั้งที่ 1 และลดลงเหลือ ร้อยละ 4.7 ในการสำรวจครั้งที่ 2 ส่วนภาวะซึมเศร้า พบ ร้อยละ 30.2 ในการสำรวจครั้งที่ 1 และลดลงเหลือ 14.9 ในการสำรวจครั้งที่ 2
- ส่วนปัญหาสุขภาพจิตในเด็ก พบ อาการ PTSD หรือภาวะเครียดหลังเหตุการณ์ ร้อยละ 13.3 ในการสำรวจครั้งที่ 1 และลดลงเหลือ ร้อละ 8.6 ในการสำรรวจครั้งที่ 2 สำหรับภาวะซึมเศร้า พบ ร้อยละ 10.4 ในการสำรวจครั้งที่ 1 และเพิ่มขึ้นมาเป็น 11.3 ในการสำรวจครั้งที่ 2 (ตารางที่ 1)


ตารางที่ 1 ผลการสำรวจสภาวะทางจิตหลังเหตุการสึนามิ

การสำรวจ PTSD ภาวะซึมเศร้า
 
ผู้ใหญ่ผู้ใหญ่ผู้ใหญ่ผู้ใหญ่
ครั้งที่ 1 (2547)
11.913.330.210.4
ครั้งที่ 2 (2548)
4.713.330.210.4
ที่มา : ความจริง 3 ปีหลังสึนามิ วิตกกังวล-เครียดกลายเป็นแผลเรื้อรัง อ้างใน http://www.neawna.com/news.asp?ID=102224


ในขณะที่การสำรวจครั้งที่ 3 ซึ่งทำการสำรวจในปี 2551 พบ ปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มอาการ PTSD ของผู้ประสบภัยอีก ร้อยละ 2.7 ซึมเศร้า ร้อยละ 13.4 วิตกกังวล ร้อยละ 18 และทุกข์โศก ร้อยละ 15.3 จากข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นว่า ยังมีผู้ประสบภัยอีกไม่น้อยที่ยังมีปัญหาสุขภาพจิตอยู่ ถึงแม้ว่าเหตุการณ์จะผ่านไปแล้วถึง 3 ปี ๆ

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลการสำรวจทั้งหมดเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า สภาพจิตใจของผู้ประสบภัยในกลุ่มผู่ใหญ่ค่อนข้างดีขึ้น ในขณะที่กลุ่มเด็กยังอยู่ในภาวะซึมเศร้าเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า หลังเกิดภัยพิบัติในแต่ละครั้งการฟื้นฟูสภาพจิตใจอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งที่จำเป็นโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กๆ




เรียบเรียงโดย :  สิริกร เค้าภูไทย สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ

แหล่งที่มา :

 - Emedicinehealth . Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD) Overview. อ้างใน http://www.emedicinehealth.com/post-traumatic_stress_disorder_ptsd/article_em.htm#overview

 - สรุปสำหรับผู้บริหารกรมสุขภาพจิต เรื่อง สรุปสถานการณ์และการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กรมสุขภาพจิต วันที่ 20 ตุลาคม 2553 อ้างใน http://www.dmh.go.th/dmhflood54/pdf/fr_201010.pdf

 - ผศ.นพ.พนม เกตุมาน ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. คู่มือแพทย์ความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย อ้างในhttp://www.psyclin.co.th/new_page_62.htm

 - มติชนออนไลน์. มุมจิตวิทยา”กิติกร”เปิด”บาดแผลใจ”หลังภัยพิบัติ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1301894612&grpid=no&catid=50