HISO - สื่อข้อมูลสุขภาพ
เกิดข้อผิดพลาด ไม่สามารถติดต่อฐานข้อมูลได้
  



ตามติดสถานการณ์สภาพจิตใจของผู้ประสบภัยหลังเกิดภัยพิบัติในแต่ละครั้ง



ช่วงคาบเกี่ยวระหว่างปีพ.ศ. 2553 และปีพ.ศ. 2554 ประเทศไทยพบปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรงถึง 2 ครั้ง 2 คร่า มีการประเมินมูลค่าความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินออกมาอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสียหายอีกมากที่ประเมินออกมาเป็นมูลค่ามิได้ อย่างเช่น บาดแผลในจิตใจของผู้ประสบภัยที่ยังฝั่งแน่นมาจนถึงทุกวันนี้ และยังต้องการความช่วยเหลือเยียวยาจากหลายๆ



สภาวะจิตใจของเหยื่อจากภัยพิบัติน้ำท่วมดินโคล่นถล่มใน 10 จังหวัด ภาคใต้

สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมดินโคล่นถล่มใน 10 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพร สงขลา กระบี่ พังงา นราธิวาส และสตูล เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2554 – 20 เมษายน 2554 นั้น มีประชากรที่ได้รับความเดือดร้อน 628,998 ครัวเรือน 2,094,595 บ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายทั้งหลัง 813 หลัง และเสียหายบางส่วน 16,664 หลัง ถนน 6,013 สาย ท่อระบายน้ำ 922 แห่ง ฝาย/ทำนบ 227 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 748 แห่ง วัด/โรงเรียน/มัสยิส 694 แห่ง และมีผู้เสียชีวิต 64 ราย

จากข้อมูลการรายงานของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีอุทกภัยภาคใต้ เมื่อระหว่างวันที่ 4-18 เมษายน 2554 ทีมจากกรมสุขภาพจิตและทีมสุขภาพจิตในพื้นที่ ได้ลงเยี่ยมเยียนเยียวยาผู้ประสบภัยพิภัยร่วมกัน ล่าสุดมีผู้ประสบภัยได้รับบริการแล้วทั้งสิ้น 2,119 ราย โดยได้มีการให้ยารักษา 429 ราย และมีการทดสอบประเมินความเครียดให้กลุ่มเสี่ยงแล้ว 1,284 ราย (ดังตารางที่ 1)


ตารางที่ 1 การให้บริการตรวจวัดสภาพจิตใจของผู้ประสบภัยใน 10 จังหวัดภาคใต้ ระหว่างวันที่ 4 - 17 พฤษภาคม 2554


ที่มา : บทสรุปสำหรับผู้บริการ ข้อมูล ณ วันที่ 4-18 เมษายน 2554 เวลา 12.00 น. ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีอุทกภัยภาคใต้ อ้างใน http://ict4.moph.go.th/flood/images/pdf/rpt25540418.pdf

ในการตรวจรักษาแต่ละครั้งจำนวนผู้ป่วยด้วยภาวะความเครียด ซึมเศร้า และอยากฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคมจนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2554 พบว่า ยอดผู้ป่วยที่มีเครียดสูงมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 8 เท่า ภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้นมาเกือบ 10 เท่า และอยากฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าของจำนวนผู้ป่วยในวันแรกๆ


ตารางที่ 2 สภาวะสุขภาพจิตใจของผู้ประสบภัยใน 10 จังหวัดภาคใต้ ระหว่างระหว่างวันที่ 4 - 17 พฤษภาคม


ที่มา : บทสรุปสำหรับผู้บริการ ข้อมูล ณ วันที่ 4-18 เมษายน 2554 เวลา 12.00 น. ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีอุทกภัยภาคใต้ อ้างใน http://ict4.moph.go.th/flood/images/pdf/rpt25540418.pdf

แม้สถานการณ์อุทกภัยทางภาคใต้จะคลี่คลายแล้ว แต่ปัญหาทางสุขภาพจิตยังต้องมีการช่วยเหลือกันอีกยาวนาน ทั้งนี้ทางกรมสุขภาพจิตยังต้องเฝ้าระวังและให้การเยียวยาประชาชนในพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การมอบกำลังใจและการให้ความช่วยเหลือกับพี่น้องชาวใต้ที่เราทุกคนสามารถทำได้ จะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจของพวกเขาให้ดีขึ้นโดยเร็ววัน



เรียบเรียงโดย :  สิริกร เค้าภูไทย สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ

แหล่งที่มา :

 - ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือและฟื้นฟูทางจิตใจแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ. แผนภูมิการช่วยเหลือและฟื้นฟูทางจิตใจแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ ปีงบประมาณ 2554 แยกการตามตรวจพบปัญหาสุขภาพจิต อ้างใน http://www.dmh.go.th/dmhflood54/

 - ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีอุทกภัยภาคใต้. บทสรุปสำหรับผู้บริการ ข้อมูล ณ วันที่ 18 เมษายน 2554 เวลา 12.00 น. อ้างใน http://ict4.moph.go.th/flood/images/pdf/rpt25540418.pdf