PDF File
  IMAGE File
  Download ZipFile


 
 


ปีที่ 2 ฉบับที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549
เนื้อหา : ยอดพล ธนาบริบูรณ์ และคณะ
 
หน้าที่ 1    


1. การศึกษาสถิติอุบัติเหตุทางถนน

                   ประเทศไทย  มีจำนวนอุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้นเฉลี่ย 75,000 ครั้งต่อปีมีผู้เสีย
ชีวิตเฉลี่ยปีละ 13,000 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บไม่ต่ำกว่าปีละ 900,000 ราย  คิดเป็นมูลค่า
ความสูญเสียประมาณ 100,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าอุบัติเหตุทางถนนเป็น
ปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดปัญหาหนึ่งของประเทศในขณะนี้ ที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

 

การวิเคราะห์ สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย จากข้อมูลที่มีอยู่ ทั้งในด้านจำนวน อัตรา การเปรียบเทียบและแนวโน้ม จะเป็นประโยชน์ในเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการควบคุมอุบัติเหตุทางถนน การวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน ได้จากการรวบรวมข้อมูลที่เผยแพร่จากหน่วยงานที่รับผิดชอบข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน ได้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข และกรมทางหลวง เป็นต้น และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุทางถนน จากแหล่งข้อมูลทั่วไป เช่น จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมการขนส่งทางบกและกระทรวงพลังงาน เป็นต้น (ภาพที่ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงพรรณนา จะช่วยในการกำหนดมาตรการและยุทธศาสตร์ ในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนต่อไป


  
ภาพที่ 1 หน่วยงานที่มีข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน
      ตามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลอื่นๆ


2. ปัจจัยระดับมหาภาคกับอุบัติเหตุทางถนน

                   หากพิจารณา  ตรรกศาสตร์ที่ว่า เมื่อปริมาณการเดินทางของผู้คนเพิ่มขึ้นแล้ว
โอกาสหรือความเสี่ยงในการที่จะเกิดอุบัติเหตุทางถนนย่อมมากขึ้นด้วยนั้น  ก็จะเห็นได้ว่าปัจจัย
ต่างๆ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มิได้คำนึงถึงประเด็นสำคัญนี้ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลปริมาณการเดิน
ทางในประเทศไทยที่ชัดเจน จากปัญหาดังกล่าว จึงได้พยายามรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูล
อื่นๆ ที่มีอยู่ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มเติม เช่น ปัจจัย
ทางเศรษฐกิจจากธนาคารแห่งประเทศไทย คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และ
ปัจจัยทางด้านพลังงานจากกระทรวงพลังงาน คือ  ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของการขนส่ง
ทางถนน  ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนี้น่าจะบ่งชี้แนวโน้มของอุบัติเหตุทางถนนได้  โดยอยู่บนสมมติฐาน
ที่ว่า อุบัติเหตุน่าจะมีแนวโน้มตามสภาวะทางเศรษฐกิจ รวมทั้งปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของ
ประเทศ จะเห็นว่าแนวโน้ม GDPและปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมีการแปรผันตามจำนวนผู้เสีย
ชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน (ภาพที่ 2)


ในการวิเคราะห์ สถิติอุบัติเหตุในเชิงอัตรา(Rate)ดัชนีที่จะบ่งบอก
ถึงปริมาณการเดินทาง ได้ดีที่สุด
คือการใช้ปริมาณการจราจรและ
ระยะการเดินทางซึ่งรู้จักดีในหน่วย คัน-กิโลเมตร หรือvehicle-kilometer  (ในบางประ
เทศใช้ vehicle-mile) อย่างไรก็ตามข้อมูลvehicle-kilometerใน
ประเทศไทย ยังมีข้อจำกัดและมี
เฉพาะบางเส้นทางเท่านั้น ที่ผ่าน
มา มีเพียงกรมทางหลวง ที่มีข้อ
มูลเหล่านี้อยู่


 

ภาพที่ 2
 หน่วยงานที่มีข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน
      ตามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลอื่นๆ


                   ทางเลือกอื่น  ในการประเมินสถานการณ์อุบัติเหตุ อาจจะใช้อัตราผู้เสียชีวิตและ
ผู้บาดเจ็บต่อรถจดทะเบียนต่อประชากร จากข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2537 – 2546 (ภาพที่ 3) เมื่อ
พิจารณาเปรียบเทียบกับอัตราผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บต่อการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและต่อ GDPแล้ว
จะเห็นว่ามีแนวโน้มที่ใกล้เคียงกับ อัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงหรือ GDP คือมีการลดลงในปี พ.ศ.
2538 และเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2544 ดังนั้นดัชนีรถจดทะเบียนต่อประชากรควรจะนำมาพิจารณาใช้
เป็นทางเลือก ในการประเมินสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในประเทศ

 


ภาพที่ 3
 แนวโน้มอัตราผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตต่อจำนวนรถจดทะเบียนต่อประชากร



รายงานถูกเปิดอ่านทั้งหมด ครั้ง












๏ปฟHISO-เธชเธณเธ™เธฑเธเธ‡เธฒเธ™เธžเธฑเธ’เธ™เธฒเธฃเธฐเธšเธšเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธฒเธฃเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ