PDF File
  IMAGE File
  Download ZipFile


 
 


ปีที่ 2 ฉบับที่ 8 มกราคม 2549
เนื้อหา : รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
 
หน้าที่ 1    
1. สถานการณ์โรคเบาหวาน

                 ปัจจุบันเบาหวาน  เป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตและคร่าชีวิตมนุษย์
มากที่สุดโรคหนึ่ง และมีแนวโน้มอัตราการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้นในอนาคต จากสถิติจำนวนผู้ป่วย
เบาหวานทั่วโลก 50 ล้านคนในปีพ.ศ. 2528 เพิ่มเป็นกว่า 170 ล้านคนในขณะนี้ และมีการ
ทำนายว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 300ล้านคนในปีพ.ศ. 2568จึงเป็นความท้าทายของงานสาธารณสุขยุค
ศตวรรษที่ 21 นี้เป็นอย่างยิ่ง ในการควบคุมป้องกันภาวะโรคนี้ สำหรับประเทศไทย แต่ละปีมีผู้
เสียชีวิตด้วยเบาหวานปีละ 2 หมื่นคน ความชุกของเบาหวานในประชาชนไทยอายุ 35  ปีขึ้นไป
มีร้อยละ 9.6 และร้อยละ 50 ของผู้เป็นเบาหวานเหล่านี้ไม่ทราบว่าตนเองมีเบาหวาน ดังนั้นกว่า
ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยเบาหวานไม่ได้รับการวินิจฉัยจึงสูญเสียโอกาสในการทราบว่าตนเองเป็นกลุ่ม
เสี่ยงที่ต้องรีบดำเนินการป้องกันและ รักษา


  จากการสำรวจ
 สภาวะสุขภาพอนามัยประชาชนด้วยการตรวจร่างกาย
  พบว่าผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นจาก 2.3% ในปีพ.ศ. 2534 เป็น 4.6% 
  ในปี พ.ศ.2539 ในจำนวนนี้มีเพียง 48%ที่ทราบว่าตนเองป่วยและมีเพียง
  17.6% (พ.ศ. 2534) ของผู้ที่ทราบว่าตนเองป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะ
  สม (จากรายงานการสาธารณสุขไทย พ.ศ. 2544-2547)




ภาพที่ 1 ความชุกของโรคเบาหวาน
และร้อยละที่ทราบว่าป่วยและได้รับการรักษาที่เหมาะสม

 

       ลักษณะธรรมชาติ
 ของโรคเบาหวานมีการ
ดำเนินโรคอย่างเงียบๆ   ในระยะแรกของโรคผู้
ป่วยในระยะแรกจึงไม่ทราบว่าตนเองมีเบาหวาน
ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนจาก
พยาธิสภาพของอวัยวะต่างๆได้แก่ตา ไต ระบบ
ประสาท และระบบหัวใจ และหลอดเลือดดังนั้น
การรู้ตัวของผู้ป่วย และ  การวินิจฉัยโดยแพทย์
จึงมักจะช้าเกินไปโดยเฉลี่ยประมาณว่า ปัจจุบัน
การวินิจฉัยโรคช้าไป ประมาณ 9 – 12 ปี ทำให้
ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลรักษาในเรื่องภาวะ
น้ำตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง และความ
ดันเลือดให้พอเหมาะซึ่งหากมีการควบคุมระดับ
น้ำตาลและปัจจัยเสี่ยงร่วมได้ดีจะทำให้มี
โอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อนได้น้อยลง   การ
ศึกษาพบว่าประมาณ1 ใน5 ของผู้ป่วยเบาหวาน
รายใหม่ที่เพิ่งวินิจฉัยได้ มีภาวะแทรกซ้อนทางตา,ประสาท หรือ ไต  นอกจากนี้  ผู้ป่วยเบาหวานกว่าร้อยละ 75  จะเสียชีวิตด้วยโรคระบบ
หลอดเลือดและหัวใจซึ่งการดำเนินของโรคนั้น
เริ่มต้นตั้งแต่ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน
(prediabetes)    ปัจจุบันยังไม่มีข้อแนะนำให้
ประชากรทั่วไปตรวจคัดกรองเบาหวานด้วยการ
ตรวจเลือดเนื่องจากผลได้  ยังไม่คุ้มค่าใช้จ่าย
แต่แนะนำให้ตรวจเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงแต่ก็ยังมี
ผู้ที่ไม่ได้รับการตรวจเป็นจำนวนมาก นอกจาก
นี้การตรวจพบมักจะช้าเกินไป   เนื่องจากภาวะ
แทรกซ้อนทางระบบหลอดเลือดต่างๆ  เกิดขึ้น
แล้วก่อนวินิจฉัยเบาหวาน

     
       ภาพที่ 2 ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน



รายงานถูกเปิดอ่านทั้งหมด ครั้ง












๏ปฟHISO-เธชเธณเธ™เธฑเธเธ‡เธฒเธ™เธžเธฑเธ’เธ™เธฒเธฃเธฐเธšเธšเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธฒเธฃเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ