PDF File
  IMAGE File
  Download ZipFile


 
 


ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 กันยายน 2548
เนื้อหา : นพ.พินิจ ฟ้าอำนวยผล,ดร.ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์
 
หน้าที่ 1    

                  การตาย เป็นผลลัพธ์ของการพัฒนาด้านสาธารณสุขและเป็นผลพวงมาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคม ในทางหนึ่งเป็นการยกระดับความเป็นอยู่ของชีวิตให้ดีขึ้น ช่วยลดโอกาสในการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงบางประการ ที่มีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ด้านสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อม ด้านโภชนาการ ด้านความรู้ในการป้องกันโรค อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการ และใช้บริการด้านสุขภาพ และโอกาสอื่นๆทางสังคม เช่น การศึกษา การทำงานและอาชีพ


                   แต่อย่างไรก็ดี ความเจริญทางเศรษฐกิจก็อาจจะไม่ได้ส่งผลดีต่อสุขภาพเสมอไป มีหลายกลไกที่ภาวะเศรษฐกิจสังคมที่ดีขึ้น กลับส่งผลเสียต่อสุขภาพ และท้ายที่สุดทำให้การตายสูงขึ้น โดยผ่านพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การบริโภคที่มากเกินไป นำไปสู่โรคไม่ติดต่อหลายชนิด หรือผ่านกลไกทางจิตวิทยาสังคม เช่น ความแตกต่างของรายได้ที่เพิ่มขึ้น นำไปสู่ภาวะเครียดของกลุ่มบุคคลที่มีรายได้ต่ำกว่าทั้งนี้เพื่อบริโภคให้ได้ทัดเทียมกันทำให้ต้องดิ้นรนขวนขวายมากขึ้น เกิดเป็นปัญหาสุขภาพจิตและปัญหาสังคมตามมาความสัมพันธ์ในครอบครัวก็อาจจะถูกบั่นทอนลง เนื่องจากทุกคนต้องขวนขวายหารายได้นอกบ้าน มีเวลาให้กันและกันน้อยลงนอกจากนี้ความทั่วถึงในการคมนาคมกลับเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจราจรมากขึ้นได้ เนื่องจากการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุนั้นยังไม่ดีพอ หรืออีกนัยหนึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นตามไม่ทันความเจริญทางเศรษฐกิจ คนยังใช้ชีวิตอย่างประมาท ดังนั้นการมีเศรษฐกิจที่ดี ก็อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกัน
 

สภาวะเศรษฐกิจสังคม อาจจะกระทบต่อโอกาสในการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกัน ทำให้โอกาสเกิดโรคแตกต่างกันนำไปสู่อัตราการตายที่แตกต่างกันระหว่างพื้นที่ได้ โดยที่การป้องกันโรคช่วยลดโอกาสสัมผัสปัจจัยเสี่ยง รวมทั้งลดโอกาสการเกิดโรคได้ ในขณะที่การรักษาจะช่วยลดโอกาสในการตายหลังจากเกิดการเจ็บป่วยขึ้น สภาวะเศรษฐกิจสังคมอาจจะส่งผลต่อการมีอยู่ของทรัพยากรบริการสุขภาพและการเข้าถึงบริการสุขภาพในพื้นที่ได้ โดยพื้นที่ที่มีเศรษฐกิจดีก็มักจะมีโอกาสในการมีทรัพยากรสุขภาพที่มากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรในการรักษาโรค ที่มักจะสัมพันธ์กับระดับเศรษฐกิจสังคมของพื้นที่



 

 


                   โดยสรุป ในการจัดทำบัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2537-2544 เป็นช่วงก่อนมีโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หลังจากมีโครงการฯแล้วคาดว่า สัดส่วนรายจ่ายสุขภาพที่จ่ายจากภาคครัวเรือน น่าจะมีแนวโน้มลดลง มีผลให้โครงสร้างรายจ่ายสุขภาพของประเทศเปลี่ยนแปลงไป การจัดทำบัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้มีข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนกำหนดนโยบายด้านสุขภาพให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 

การศึกษานี้ ใช้ข้อมูลการตาย จากฐานข้อมูลมรณบัตร ในปี พ.ศ. 2543 ประกอบกับข้อมูลจำนวนประชากรตามเพศ อายุ และอำเภอ จากฐานข้อมูลการสำมะโนประชากร ปี พ.ศ. 2543 เพื่อใช้ในการคำนวณอัตราตาย และอัตราส่วนการตายมาตรฐาน (Standardized Mortality Ratio) เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกันได้ระหว่างพื้นที่อำเภอที่มีโครงสร้างอายุที่แตกต่างกัน สำหรับข้อมูลทางเศรษฐกิจสังคมของพื้นที่นั้น ใช้ข้อมูลจากการสำมะโนประชากรและเคหะ ปี พ.ศ. 2543 เช่นเดียวกัน




รายงานถูกเปิดอ่านทั้งหมด ครั้ง












๏ปฟHISO-เธชเธณเธ™เธฑเธเธ‡เธฒเธ™เธžเธฑเธ’เธ™เธฒเธฃเธฐเธšเธšเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธฒเธฃเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ