PDF File
  IMAGE File
  Download ZipFile


 
 


ฉบับที่ 2  เนื้อหา : นพ.ยงเจือ เหล่าศิริถาวร
 
หน้าที่ 1    
การตายของมารดา

                 มีผลกระทบต่อการพัฒนาสาธารณสุขอย่างสูง อัตราส่วนการตายมารดา(Maternal
mortality ratio, MMR) เป็นเครื่องบ่งชี้ด้านสุขภาพอนามัยที่สำคัญ ของประชาชนและถูกใช้เป็น
ตัวชี้วัดสำคัญ  ของงานอนามัยแม่และเด็ก  ประเทศต่างๆทั่วโลกต่างก็ตระหนักถึงความจำเป็นใน
การส่งเสริมสุขภาพของสตรีและมารดา
                   การตายของมารดา  เป็นตัวบ่งบอกความเป็นอยู่ของผู้หญิง การเข้าถึงบริการด้าน
สุขภาพ ตลอดจนความเพียงพอ ของสถานบริการด้านสุขภาพ ข้อมูลการตายมารดาและ
สถานการณ์จะบอกถึงปัจจัยเสี่ยงของการตั้งครรภ์และการคลอดและชี้ให้เห็นถึงสุขภาพโดยรวม ของผู้หญิงโดยตรงและสภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยอ้อม
                   ในประเทศไทย  อัตราส่วนการตายมารดาได้มีการนำไปใช้
เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดหลักทางด้านสาธารณสุขในแผนงานสาธารณสุขโดยเฉพาะ
ในส่วนของแผนงานอนามัยแม่และเด็ก และได้จัดทำโครงการลูกเกิดรอดแม่
ปลอดภัยเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการในการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ และ
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการคลอดทั้งมารดาและทารกตั้งแต่ปี พ.ศ.2533

 
  
วิธีการคาดประมาณการตายมีหลายวิธี ได้แก่

                   1) สถิติชีพ (Vital registration)ใช้ข้อมูลจากทะเบียนการเกิดและการตาย วิธีนี้อาจได้ข้อมูลต่ำกว่าความเป็นจริงเนื่องจากการลงทะเบียนตายไม่ครอบคลุม และ/หรือ  มีความผิดพลาดในการระบุสาเหตุการตาย ทำให้มีการจัดกลุ่มสาเหตุการตายผิดประเภท

                   2) การสำรวจ (Survey)การสำรวจมีหลายวิธี แต่วิธีมาตรฐานที่ดีที่สุดในการคาดประมาณการตายของมารดา คือ การสำรวจโดยใช้วิธี RAMOS  (Reproductive Age Mortality Survey) ค้นหาและสอบสวนหาสาเหตุการตายของหญิงวัยเจริญพันธุ์ทั้งหมด   ซึ่งเรียกว่า “การสำรวจการตายของกลุ่มประชากรวัยเจริญพันธุ์”   แต่ก็เป็นงานที่ต้องใช้เวลามากและมีความซับซ้อนในการดำเนินการโดยเฉพาะถ้าทำในระดับกว้างเช่นประเทศ

                   3) วิธีการใหม่ขององค์การอนามัยโลก(WHO) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ(UNICEF)
 
                   ปัจจุบัน การรายงานอัตราส่วนการตายมารดาของประเทศไทยในระดับประเทศมี
 2 แหล่งคือ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ และ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย สำหรับ
 สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ได้คำนวณข้อมูลจากทะเบียนสถิติชีพของสำนักทะเบียนราษฎร์
 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยซึ่งพบว่าในปี พ.ศ.2537, 2538, 2539, 2540มีอัตราส่วน
 การตายมารดาเท่ากับ 10.8, 10.7, 16.4, 10.6 ต่อแสนการเกิดมีชีพ ตามลำดับ  สำหรับสำนัก
 ส่งเสริมสุขภาพได้คำนวณข้อมูลจากรายงานที่ได้จัดทำขึ้น  สำหรับ โครงการลูกเกิดรอดแม่
 ปลอดภัย ซึ่งพบว่าในปี พ.ศ.2533 , 2537 , 2538 , 2539 , 2540  มีอัตราส่วนการตายมารดา
 เท่ากับ 36.17 , 17.28 , 16.8 , 15.79 และ 14.2 ต่อแสนการเกิดมีชีพ ตามลำดับ

                   สำหรับสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัยได้คำนวณข้อมูลจากรายงานที่ได้จัดทำ
 ขึ้นสำหรับโครงการลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ซึ่งพบว่าในปี พ.ศ.2533 , 2537 , 2538 , 2539 ,
 2540 มีอัตราส่วนการตายมารดาเท่ากับ 36.17 , 17.28 , 16.8 , 15.79 และ 14.2 ต่อแสนการ
 เกิดมีชีพ ตามลำดับ



รายงานถูกเปิดอ่านทั้งหมด ครั้ง












๏ปฟHISO-เธชเธณเธ™เธฑเธเธ‡เธฒเธ™เธžเธฑเธ’เธ™เธฒเธฃเธฐเธšเธšเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธฒเธฃเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ