PDF File
  IMAGE File
  Download ZipFile


 
 


ฉบับที่ 1  เนื้อหา : นพ.พินิจ ฟ้าอำนวยผล,ดร.ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์
 
หน้าที่ 1    

                   ความตาย  เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในทางความเชื่อ หลายคนอาจจะมองว่า การ
ตายเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วล่วงหน้า หรือเป็นผลมาจากกรรมเก่า  ที่มนุษย์ไม่สามารถเปลี่ยน
แปลงได้ อันเป็นไปตามธรรมชาติ หรือวิบากกรรมของแต่ละคน

                   แต่ในทางการแพทย์
นั้น  มีการตายมากมายหลายประการ
ที่เป็นการตายก่อนวัยอันควรหรือเป็น
การตายที่ไม่สมควรตายและสามารถ
ป้องกันได้ ด้วยความเจริญทางการ
แพทย์ในการรักษาพยาบาลอย่างไร
ก็ตามยังมีโรคหรือภาวะความเจ็บป่วย
อีกหลายประการที่บริการทางการแพทย์นั้น  ไม่สามารถยับยั้งการตาย
ได้ การป้องกันความเจ็บป่วยมิให้เกิด
ขึ้น จึงมีบทบาทสำคัญ ในการลดการ
ตายลงได้  และเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการ
ป้องกันการตาย



  

  
 


แต่ในทางการแพทย์นั้น  มีการตายมากมายหลายประการที่
เป็นการตายก่อนวัยอันควรหรือเป็นการตายที่ไม่สมควรตาย
และสามารถป้องกันได้ด้วยความเจริญทางการแพทย์ในการ
รักษาพยาบาลอย่างไรก็ตามยังมีโรคหรือภาวะความเจ็บป่วย
อีกหลายประการ ที่บริการทางการแพทย์นั้นไม่สามารถยับ
ยั้งการตายได้ การป้องกันความเจ็บป่วยมิให้เกิดขึ้น จึงมี
บทบาทสำคัญ ในการลดการตายลงได้ และเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ในการป้องกันการตาย
 
                  การวิเคราะห์ความแตกต่างของการตายระหว่างพื้นที่ ในประเทศไทยใช้ข้อมูลการ
 ตายจากฐานข้อมูลมรณบัตรปี พ.ศ.2543 และข้อมูลประชากรจากการสำมะโนประชากรปี พ.ศ
 2543 โดยคำนวณเป็นอัตราการตาย และอัตราส่วนการตายมาตรฐาน*  เพื่อให้สามารถเปรียบ
 เทียบระหว่างพื้นที่ที่มีโครงสร้างอายุที่ต่างกันได้  โดยวิเคราะห์เป็นรายภาค  ลงไปจนถึงระดับ
 อำเภอ

                  อัตราตายรวมทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2543 เท่ากับ 6 คน ต่อประชากรพันคน เพศ
ชายตายมากกว่าเพศหญิงในทุกภาคของประเทศประมาณ 2 คนต่อประชากรพันคน   โดยภาค
เหนือมีอัตราตายสูงสุดทั้งชายและหญิง ตามด้วยภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้  ตามลำดับ
โดยกรุงเทพฯมีอัตราตายต่ำที่สุด ภาคเหนือมีอัตราตายเท่ากับ 1.7 เท่าของอัตราตายใน
กรุงเทพฯ หรือ มีอัตราตายต่างกัน 3 คนต่อประชากรพันคน แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
มีอิทธิพลต่อการตายของคนที่อาศัยในพื้นที่ มากพอสมควร
 


 
              *ข้อมูลเชิงเทคนิค : อัตราส่วนการตายมาตรฐาน(Standardized Mortality Ratio:
 SMR) เท่ากับจำนวนตายที่เป็นจริงของพื้นที่ หารด้วยจำนวนตายที่ควรจะเป็นของพื้นที่ คูณด้วย
 100 มีค่าเป็น เปอร์เซ็นต์ (%) ค่าที่เกิน 100% หมายถึงพื้นที่นั้นมีการตายมากกว่าที่ควรจะเป็น
 ยิ่งมากกว่า 100% เท่าใด ยิ่งแปลว่ามีการตายมากขึ้นเท่านั้น ค่าที่ต่ำกว่า 100% หมายถึงพื้นที่
 นั้นมีการตายน้อยกว่าที่ควรจะเป็นโดยจำนวนตายที่ควรจะเป็นของพื้นที่ คำนวณจากโครงสร้าง
 อายุของประชากรในพื้นที่ กับอัตราตายรายอายุโดยเฉลี่ยของประเทศ



รายงานถูกเปิดอ่านทั้งหมด ครั้ง












๏ปฟHISO-เธชเธณเธ™เธฑเธเธ‡เธฒเธ™เธžเธฑเธ’เธ™เธฒเธฃเธฐเธšเธšเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธฒเธฃเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ