ปีที่ 2 ฉบับที่ 18 พฤศจิกายน 2549 เนื้อหา : นพ.พินิจ ฟ้าอำนวยผล , นพ.ณรงค์ กษิติประดิษฐ์ , อรพิน ทรัพย์ล้น |
หน้าที่ 1 |
|
อัตราตายระดับจังหวัด มีความสำคัญในการใช้เปรียบเทียบความ แตกต่างของการตายโดยเฉพาะรายสาเหตุ ระหว่างจังหวัดซึ่งจะช่วยในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพของจังหวัดและช่วยในการวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพรวมทั้งจัดสรรทรัพยากรสุขภาพให้ตรงกับปัญหาสุขภาพของพื้นท ี่รวมทั้งช่วยในการวางแผนสุขภาพระดับจังหวัด
การคำนวณอัตราตาย ระดับจังหวัด ใช้ข้อมูลการตายจากฐานข้อ มูลมรณบัตร(กระทรวงมหาดไทย) ปีพ.ศ. 2548ซึ่งกลุ่มข้อมูลข่าว สารสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ได้นำมาวิเคราะห์อัตราตายรายสาเหตุ ระดับจังหวัด และคำนวณ อัตราตายในระดับภาค 9 ภาค และกรุงเทพมหานคร(จังหวัดในแต่ ละภาค แสดงในแผนที่) |
|
อัตราตาย จากมะเร็งตับสูงสุดที่ ภาคอีสานตอนบน ภาคอีสานตอนล่าง และภาคเหนือตอน บน ตามลำดับ โดยภาคใต้ตอนบนและตอนล่าง มีอัตราตายต่ำสุด มะเร็งปอดมีอัตราตายสูงสุดที่ กรุง เทพมหานคร และภาคเหนือตอนบน ซึ่งมีอัตราตายที่ใกล้เคียงกัน โดยภาคใต้ตอนล่างมีอัตราตายต่ำสุด มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม มีอัตราตายสูงสุดที่ กรุงเทพมหานคร และภาคใต้ตอนล่างมีอัตราตาย ต่ำสุด เบาหวานมีอัตราตายสูงสุดที่ภาคอีสานตอนบน และต่ำสุดที่ภาคใต้ตอนบน โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง มีอัตราตายสูงสุดที่ กรุงเทพมหานครและต่ำสุดที่ภาคอีสานตอนบน อุบัติเหตุจราจรมี อัตราตายสูงสุดที่ ภาคตะวันออก ต่ำสุดที่กรุงเทพมหานคร โรคเอดส์มีอัตราตายสูงสุดที่ ภาคเหนือตอน บน ต่ำสุดที่ภาคอีสานตอนล่าง การฆ่าตัวตายมีอัตราตายสูงสุดที่ ภาคเหนือตอนบนและต่ำสุดที่กรุงเทพมหานคร) |
 |
 |
การแบ่งเฉดสีในแผนที่ แบ่งโดยเรียงอัตราตาย 76 จังหวัด แล้วแบ่งจังหวัดออกเป็น 10 กลุ่ม (decile) เท่าๆกันกลุ่มละ 7-8 จังหวัด |
โรคเอดส์
โรคเอดส์ มีอัตราตายสูงสุดที่จังหวัดพะเยา เชียงราย และสมุทรสงคราม โดยจังหวัดส่วนใหญ่ที่มีอัตราตายสูง จะอยู่ในภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่ ลำพูน) ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน (ภูเก็ต)
|
|
ที่ |
จังหวัด |
อัตรา |
1 |
พะเยา |
43.3 |
2 |
เชียงราย |
37.9 |
3 |
สมุทรสงคราม |
34.3 |
4 |
ภูเก็ต |
34.3 |
5 |
ระยอง |
30.6 |
6 |
เชียงใหม่ |
27.3 |
7 |
ลพบุรี |
26.8 |
8 |
ประจวบคีรีขันธ์ |
24.6 |
9 |
ลำพูน |
24.2 |
10 |
สุพรรณบุรี |
22.0 |
|
|
รายงานถูกเปิดอ่านทั้งหมด ครั้ง |
 |