PDF File
  IMAGE File
  Download ZipFile


 
 


ปีที่ 2 ฉบับที่ 17 ตุลาคม 2549
เนื้อหา : รศ.พญ.เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม , รศ.พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ และคณะ
 
หน้าที่ 1    





 
 


โรคเบาหวาน ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ลดลง จากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่นความผิดปกติของปลายระบบประสาท จอประสาทตาเสื่อม โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคไต รวมถึงแผลบริเวณเท้าที่มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานแล้วยากต่อการดูแลรักษา นอกจากนั้นแล้วผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยมานานกว่า 15 ปี ประมาณร้อยละ 2 จะมีความพิการทางสายตา มากกว่าครึ่งของผู้ป่วยเบาหวานพบความผิดปกติของปลายระบบประสาท ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองสูงเป็น 2 ถึง 4 เท่าเมื่อเทียบกับคนปกติ จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกพบว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยเบาหวานราว 150 ล้านคนทั่วโลกและจะเพิ่มเป็น 2 เท่าตัวในอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าเฉพาะโรคเบาหวานคิดเป็นประมาณร้อยละ 3 และร้อยละ 7 ในผู้ชายและผู้หญิงตามลำดับ แต่หากรวมภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวานแล้วจะคิดเป็นร้อยละ 10 และร้อยละ 17 ในผู้ชายและผู้หญิงตามลำดับ การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 3 พ.ศ. 2546-2547 ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)เพื่อหาความชุกของโรคเบาหวานในประชากรชายและหญิง จำแนกตามกลุ่มอายุ และภูมิลำเนาต่างๆ รวมถึงผลของการรักษาเบาหวานด้วยยาลดน้ำตาลในเลือด เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการประเมินความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองในคนไทยต่อไป

 


              ผลการศึกษานี้ เป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานผล “การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัย
ของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2546-2547” ซึ่งดำเนินการสำรวจโดย สำนักงานการสำรวจ
สภาวะสุขภาพอนามัย ภายใต้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และได้รับงบประมาณสนับสนุนการสำรวจ  จากสำนักนโย
บายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข )
 

 

              การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 3 พ.ศ. 2546-2547 นี้ ได้ทำ
การตรวจเลือดเพื่อวัดน้ำตาลในเลือด  (Fasting blood sugar; FBS) มีหน่วยเป็น mg/dl  ซึ่งมีข้อกำหนดก่อนเข้าตรวจ
โดยสังเขป ดังนี้
      • ผู้ที่เข้ารับการตรวจต้องงดอาหารและน้ำดื่มทุกชนิดยกเว้นน้ำเปล่าเป็นเวลาอย่างน้อย 6
        ชั่วโมงก่อนเจาะเลือด
      • การเจาะเลือดทำโดยพยาบาลผู้เชี่ยวชาญและมีแพทย์เป็นผู้ควบคุม
      • เครื่องมือที่ใช้ต้องสะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อ
      • ตำแหน่งที่เจาะเลือดคือหลอดเลือดดำบริเวณข้อพับแขน หลังมือ หรือหลังเท้า
      • เลือดที่เจาะได้ 2 CC. จะเก็บในหลอดทดลองที่มี NaF เพื่อใช้ในการตรวจวัดระดับน้ำตาล
              ข้อมูลที่เก็บได้จะถูกตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในส่วนของการจัดการข้อมูลเบื้องต้นหลังจากนั้นจึงได้
ทำการตรวจสอบข้อมูล โดยจัดให้ช่วงค่า FBS ที่เป็นไปได้ตามหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์เริ่มตั้งแต่ 40 ถึง 500 mg/dl
(>=40 and =<500) ค่าที่ต่ำกว่าหรือสูงกว่าช่วงที่กำหนดนี้จะไม่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
 


         ผลการศึกษา
 
              ค่าระดับน้ำตาลในเลือด มีแนวโน้มสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ดังแสดงในภาพที่ 1 ซึ่งเป็นกราฟแจกแจงความถี่
(Histogram) ของค่าระดับน้ำตาลในเลือด ตามอายุและเพศ

ภาพที่ 1 การกระจายของค่าน้ำตาลในเลือดในประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป
ในเพศชายและหญิง จำแนกตามกลุ่มอายุ

 




 

              ผลการศึกษานี้ผู้วิจัยกำหนดคำจำกัดความของผู้ป่วยเบาหวาน หมายถึง
                    • ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือด ตั้งแต่ 126 mg/dl ขึ้นไป (FBS>=126 mg/dl) หรือ
                    • ผู้ที่กำลังได้รับการรักษาด้วยการรับประทานยาลดน้ำตาลในเลือดหรือฉีดอินซูลิน
              คำจำกัดความ  ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ไม่นับรวมผู้ที่รับได้รับคำแนะนำจากบุคลากรทางด้านสาธารณสุข (ทั้ง
แพทย์และไม่ใช่แพทย์) ว่าเป็นเบาหวานหรือเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน หรือได้รับคำแนะนำให้ปรับเปลี่ยน
ลักษณะการดำเนินชีวิตอันเนื่องมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง เช่นการออกกำลังกาย การงดหรือลดบริโภคอาหารหวาน
เพราะอาจมีความผิดพลาดในความเข้าใจและการแปลความหมายได้ง่ายนอกจากนั้นแล้วการตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพ
ของบุคคล มักขึ้นกับปัจจัยบางประการ เช่นความสามารถในการเข้าถึงสถานพยาบาลซึ่งมีผลต่อความรู้ความเข้าใจในโรค
ที่ถูกซักถาม เป็นต้น
 



รายงานถูกเปิดอ่านทั้งหมด ครั้ง












๏ปฟHISO-เธชเธณเธ™เธฑเธเธ‡เธฒเธ™เธžเธฑเธ’เธ™เธฒเธฃเธฐเธšเธšเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธฒเธฃเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ