PDF File
  IMAGE File
  Download ZipFile


 
 


ปีที่ 2 ฉบับที่ 16 กันยายน 2549
เนื้อหา : รศ.พญ.เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม , รศ.พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ และคณะ
 
หน้าที่ 1    




   

              ความดันโลหิตสูง เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โดยพบว่าความดันซิสโตลิกที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 10 มิลลิเมตรปรอท จะทำให้ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 และโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 และเมื่อนำมาประเมินภาระโรคแล้วพบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ และสองในสามของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลกเกิดจากความดันโลหิตซิสโตลิกที่มากกว่า 115 มิลลิเมตรปรอท สำหรับประเทศไทยโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองคิดเป็นประมาณร้อยละ 10 ของภาระโรคทั้งหมด การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 3 พ.ศ. 2546-2547 ทำการสำรวจเพื่อหาข้อมูลของโรคความดันโลหิตสูงโดยการสัมภาษณ์ และตรวจวัดความดันโลหิต เพื่อหาความชุกรวมทั้งสัดส่วนและผลของผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันในประชากรกลุ่มอายุและภูมิลำเนาต่างๆกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการประเมินความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองในคนไทยต่อไป

 

              ผลการศึกษานี้  เป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานผล “การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2546-2547” ซึ่งดำเนินการสำรวจโดย สำนักงานการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัย ภายใต้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และได้รับงบประมาณสนับสนุนการสำรวจ จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข

              การตรวจวัดความดันโลหิต  ด้วยเครื่องวัดแบบปรอท (sphygmomanometers) มีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้ การวัดความดันโลหิตจะวัดที่แขนขวา ยกเว้นกรณีใช้แขนขวาไม่ได้ การวัดทำ 3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 นาที ถ้าไม่สามารถวัดได้ 3 ครั้ง ต้องวัด 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย ผู้ที่วัดความดันโลหิตอาจเป็นแพทย์หรือพยาบาล แต่ต้องได้รับการทดสอบว่าไม่มีปัญหาการฟังของหูทั้ง 2 ข้าง เครื่องวัดความดันโลหิตที่ใช้เป็นเครื่องวัดแบบปรอท โดยการฟังเสียงจะใช้หูฟังด้านระฆัง การควบคุมคุณภาพการวัดความดันโลหิตประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก คือการควบคุมก่อนและหลังการวัดความดันโลหิต โดยการควบคุมก่อนการวัดความดันโลหิตจะเน้นที่การตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ ส่วนการควบคุมหลังการวัดความดันโลหิตจะเน้นที่การวิเคราะห์คุณภาพของข้อมูลซึ่งได้เก็บมาแล้ว และก่อนเข้ารับการตรวจวัดความดันโลหิต ผู้เข้ารับการตรวจต้องปฏิบัติตัวดังนี้
       • งดอาหาร เครื่องดื่มทุกชนิดยกเว้นน้ำเปล่าก่อนเข้ารับการตรวจวัดความดันโลหิต 1 ชั่วโมง
       • ต้องปัสสาวะก่อนเข้ารับการตรวจ
       • งดออกกำลังกายอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนตรวจ
       • ต้องไม่ได้รับความเจ็บปวดทางร่างกายก่อนเข้ารับการตรวจ 1 ชั่วโมง
       • ต้องนั่งพักอย่างสงบอย่างน้อย 5 นาทีก่อนเข้ารับการตรวจ
       • หากสวมเสื้อ กางเกง กระโปรงอย่างแน่นจนรู้สึกอึดอัดก็จำเป็นต้องถอดออกก่อน
       • ท่าที่ใช้ในการตรวจคือนั่งเก้าอี้ซึ่งมีพนักพิง และแขนวางอยู่บนโต๊ะ และขาวางอยู่บน
         พื้นอย่างมั่นคง ผู้รับการตรวจต้องรู้สึกสบายไม่อึดอัด
 
              การวิเคราะห์คุณภาพของข้อมูล พิจารณาจากค่าความดันซิสโตลิก ความดันไดแอสโตลิก และค่าความต่างระหว่างความดันไดแอสโตลิกและซิสโตลิก (pulse pressure) ว่าอยู่ในช่วงค่าที่เป็นไปได้หรือไม่ ดังแสดงในตารางที่ 1 หากพบข้อมูลค่าความดันโลหิตใด ไม่อยู่ในช่วงค่าความดันโลหิตที่เป็นได้ ข้อมูลนั้นจะไม่ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล



ตารางที่ 1 ค่าความดันที่เป็นไปได้ของความดันซิสโตลิก ไดแอสโตลิก
และความต่างระหว่างความดันไดแอสโตลิกและซิสโตลิก
 
ความดันโลหิต
ค่าความดันที่เป็นได้ (มิลลิเมตรปรอท)
ค่าต่ำสุดค่าสูงสุด
ความดันซิสโตลิก
ความดันไดแอสโตลิก
ความต่างระหว่างความดันไดแอสโตลิก
และซิสโตลิก
    75
    10
    10
275
160
150



รายงานถูกเปิดอ่านทั้งหมด ครั้ง












๏ปฟHISO-เธชเธณเธ™เธฑเธเธ‡เธฒเธ™เธžเธฑเธ’เธ™เธฒเธฃเธฐเธšเธšเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธฒเธฃเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ