ปีที่ 2 ฉบับที่ 15 สิงหาคม 2549 เนื้อหา : รศ.พญ.เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม , รศ.พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ และคณะ |
หน้าที่ 1
|
อาหารที่บริโภค มีความสำคัญต่อสภาวะสุขภาพ การศึกษาในอดีตพบว่าผักและผลไม้ มีผลในด้านเป็นปัจจัยคุ้มครอง (protective factor) ต่อโรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease) โรคหลอดเลือดในสมอง (stroke) มะเร็งปอดและมะเร็งของทางเดินอาหาร จากผลการ ทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบและการทำ meta-analysisของกลุ่มที่ศึกษาภาระโรคขององค์การ อนามัยโลก โดยวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ พบว่าถ้าบริโภคผักและผลไม้เพิ่มขึ้นได้ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้จะลดภาระโรคของโรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดในสมองตีบได้ประมาณ ร้อยละ 31 และ 19 ตามลำดับลดการเจ็บป่วยและการตายจากโรคมะเร็งกระเพาะอาหารร้อยละ 19 มะเร็งหลอดอาหารร้อยละ 20 มะเร็งปอดร้อยละ 12 และมะเร็งลำไส้ใหญ่ร้อยละ 2 |

|
การกำหนดเกณฑ์ของปริมาณการรับประทานผักและผลไม้ต่อวัน ได้มาจากการทบทวนงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการบริโภคผักและผลไม้ต่อวันกับการเกิดโรคต่างๆ พบว่าปริมาณที่เหมาะสมคือ ระหว่าง 400-600 กรัมต่อวัน ทั้งนี้ไม่รวมพืชผักที่มีแป้งมาก เช่น มันเทศ มันฝรั่ง หรือถ้าคิดเป็นถ้วยมาตรฐาน (ขนาด 150 cc.) 1 ถ้วยมาตรฐานประกอบด้วยผักและผลไม้ 80 กรัม ก็จะได้วันละ 5-7.5 ถ้วยมาตรฐาน สำหรับการศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค (comparative risk assessment) ใช้เกณฑ์ขั้นต่ำของการบริโภคผักและผลไม้ต่อวันตามอายุที่แสดงไว้ในตารางที่ 1
|
ตารางที่ 1 เกณฑ์ขั้นต่ำ (theoretical-minimum-risk) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของการบริโภคผักและผลไม้ ตามกลุ่มอายุ
|
อายุ (ปี) | การบริโภคผักและผลไม้ (กรัม/คน/วัน) |
0-4 | 330 +- 50 |
5-14 | 480 +- 50 |
15-29 | 500 +- 50 |
30-44 | 500 +- 50 |
45-59 | 500 +- 50 |
60-69 | 500 +- 50 |
70-79 | 500 +- 50 | >=80 | 500 +- 50 |
|
ที่มา Lock K, Pomerleau I, Causer L, McKee M. Low fruit and Vegetable consumption in Ezzati M et al eds. Comparative Quantification of Health Risks, Global and Regional Burden of Disease Attributable to Selected Major Risk Factors. Vol. 1 WHO Geneva 2004 |
ผลการศึกษานี้ เป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานผล การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2546-2547 ซึ่งดำเนินการสำรวจโดย สำนักงานการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัย ภายใต้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และได้รับงบประมาณสนับสนุนการสำรวจ จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข |
การสำรวจสภาวะสุขภาพโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 3 นี้ มีคำถามเกี่ยวกับการบริโภคผักและผลไม้ ทั้งความถี่ของการบริโภคภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ และปริมาณที่บริโภคเป็นจำนวนถ้วยมาตรฐานต่อวัน โดยมีแผ่นภาพผักและผลไม้ชนิดต่างๆ และแผ่นภาพถ้วยตวงมาตรฐานขนาดเท่าของจริงให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้พิจารณาด้วย และมีคำถามเกี่ยวกับผักและผลไม้ที่รับประทานเป็นประจำในแต่ละวันในรอบสัปดาห์ แล้วนำมาเปรียบเทียบว่าถ้าใส่ลงในถ้วยมาตรฐานที่แสดงโดยภาพประกอบจะได้กี่ถ้วยมาตรฐาน ถ้าเป็นผลไม้ก็ให้คิดถึงผลไม้ที่รับประทานเป็นประจำ ปริมาณมากน้อยเท่าใดต่อวัน แล้วปรับเป็นหน่วยมาตรฐาน เช่น |
ผลไม้ 1 หน่วย (ถ้วย) มาตรฐาน ได้แก่ |
- มะละกอหรือแตงโมหรือสับปะรด 6-8 ชิ้น
- กล้วยน้ำว้า 1 ผล
- กล้วยหอม 1/2 ผล
- ส้มเขียวหวาน 1 ผลใหญ่
- เงาะ 4 ผล
- ผลไม้กระป๋อง 1 ถ้วย (150 cc.)
|
|
ผัก 1 หน่วย (ถ้วย) มาตรฐาน ได้แก่ |
- ผักที่ปรุงแล้ว 1/2 ถ้วย (1 ถ้วย = 150 cc หรือ 1 ทัพพีใหญ่)
- ผักสด 1 ถ้วย ผักสลัด 1 ถ้วย
- น้ำผักไม่ผสมอื่นใดเลย 1/2 ถ้วย |
|
จากคำตอบจะได้ปริมาณผักและผลไม้เป็นหน่วยมาตรฐานที่รับประทานต่อวันและสามารถคำนวณเป็นปริมาณกรัมต่อวัน
โดยใช้ผักและผลไม้ 1 หน่วย (ถ้วย) มาตรฐาน = 80 กรัม
|
รายงานถูกเปิดอ่านทั้งหมด ครั้ง |
|