PDF File
  IMAGE File
  Download ZipFile


 
 


ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 พฤษภาคม 2549
เนื้อหา : รศ.พญ.เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม , รศ.พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ และคณะ
 
หน้าที่ 1    

              การบริโภคเครื่องดื่ม  ที่มีแอลกอฮอล์มีผลต่อทั้งสุขภาพของบุคคลและสังคม จากการ
รวบรวมผลของแอลกอฮอล์ต่อสุขภาวะจากงานวิจัยต่างๆ แสดงให้เห็นว่าแอลกอฮอล์มีความ
สัมพันธ์ในด้านการเป็นสาเหตุกับโรคเรื้อรัง ปัญหาการบาดเจ็บ ปัญหาทางสังคมทั้งเฉียบพลันและ
เรื้อรัง ผลกระทบของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเกิดจากองค์ประกอบที่สำคัญ 2 อย่างคือวิธี
การดื่ม (pattern of drinking) เช่น ดื่มประกอบการกินอาหาร หรือดื่มเพื่อสังคม ดื่มฉลองใน
เทศกาล ฯลฯ และปริมาณที่ดื่ม (average volume of consumption) ผลของทั้ง 2 องค์ประกอบ
รวมกันทำให้มีผลต่อสุขภาพแยกได้ 3 ลักษณะใหญ่ๆ ได้แก่
 

              1) ผลกระทบด้านชีวภาพ   
              มีทั้งด้านบวกและด้านลบ ในด้านที่เป็นบวก คือ ถ้าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลาง (moderate drinking) จะช่วยลดการเกาะของ plague ในเส้นเลือด ป้องกันการอุดตัน และช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือดหรือทำให้เลือดที่แข็งตัวละลายลง มีผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน ในด้านที่เป็นลบ ทำให้ความดันเลือดสูง มีพิษโดยตรงกับ Acinar cell กระตุ้นให้เกิดการทำลายของตับอ่อนและมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมน
              2) การเป็นพิษ (intoxication)  
              เป็นผลอย่างเฉียบพลันของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ผลที่ตามมา เช่น อุบัติเหตุโดยเฉพาะจากการจราจร ความรุนแรงในครอบครัวและสังคมจากการทะเลาะวิวาท และลงท้ายด้วยการบาดเจ็บ พิการหรือเสียชีวิต นอกจากนี้การดื่มอย่างหนักในครั้งเดียวนอกจากจะมีผลต่อการสูญเสียการควบคุมตนเอง ก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือความรุนแรงต่างๆแล้ว ยังอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวโดยเฉียบพลันได้
              3) การติดสุรา (alcohol dependence)   
              มีผลต่อร่างกายทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง และมีผลทางสังคมตามมา เช่น ปัญหาการทำงาน ครอบครัวและเพื่อนฝูง
 


   



              ผลการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานผล “การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2546-2547” ซึ่งดำเนินการสำรวจโดย สำนักงานการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัย ภายใต้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและได้รับงบประมาณสนับสนุนการสำรวจ จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีการสุ่มตัวอย่างในระดับเขตสาธารณสุข 12 เขต และกรุงเทพมหานคร โดยจังหวัดตัวอย่างในแต่ละเขต แสดงใน ภาพที่ 1

 



ภาพที่ 1 สถานภาพของการสูบบุหรี่ในประชากรตัวอย่าง(จากคำถามในแบบสอบถาม)


              การคำนวณ  ปริมาณแอลกอฮอล์จากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดต่างๆเป็น
กรัมต่อวัน เพื่อนำมาจัดกลุ่มประชากรตัวอย่าง ตามระดับของปริมาณแอลกอฮอล์ (ethanol) ที่
บริโภค เพื่อจะดูว่ามีกลุ่มใดบ้างที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือดื่มในปริมาณที่อยู่ในระดับอันตราย โดย
เกณฑ์ปริมาณของแอลกอฮอล์ที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพนี้ ได้จากการทำ Meta-analysisของ
งานวิจัยที่ศึกษาปริมาณโดยเฉลี่ยของแอลกอฮอล์ที่บริโภคต่อวัน กับการเกิดโรคต่างๆมากกว่า
 60 โรค
 

ตารางที่ 1 การจัดกลุ่มผู้บริโภคแอลกอฮอล์ตามระดับความเสี่ยง

 
กลุ่มผู้บริโภคแอลกอฮอล์
ปริมาณแอลกอฮอล์ (Ethanol) ที่บริโภคต่อวัน (กรัม)
ชายหญิง
   ไม่ดื่ม
00
   ดื่มอย่างมีสติ (responsible)
> 0 และ < 40> 0 และ < 20
   ดื่มอย่างอันตราย (harmful)
>= 40 และ < 60>= 20 และ < 40
   ดื่มอย่างอันตรายมาก (hazardous)
>=60>=40


 

              ในการคำนวณ  ปริมาณของแอลกอฮอล์เป็นกรัมของ ethanol จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่บริโภคทั้งหมดต่อวัน จะได้จากข้อมูลต่อไปนี้ คือ
              - จำนวนครั้งของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (แต่ละชนิด) ในแต่ละเวลาที่ดื่ม (เช่น ถ้าดื่มทุกวัน ดื่มวันละกี่ครั้ง ดื่มทุกเดือน เดือนละกี่ครั้ง ฯลฯ)
              - ปริมาณที่ดื่ม (เป็นมิลลิลิตรหรือ CC.) ในแต่ละครั้งที่ดื่ม โดยใช้คำถามจากขนาดของภาชนะที่ใส่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแก้วขนาดต่างๆ หรือเป็นกระป๋อง เป็นเป็กของเหล้า
              - ปริมาณของแอลกอฮอล์หรือ ethanol content ในเครื่องดื่มโดยปรับด้วยความหนาแน่นจำเพาะ (specific density) ของ ethanol
               ปริมาณของแอลกอฮอล์(กรัม) = ขนาดของภาชนะ (แก้ว/กระป๋อง/ขวด) x 0.79*
               (ethanol content) x เปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มแต่ละชนิด
               * 0.79 คือ ความหนาแน่นจำเพาะของ ethanol (ethanol specific density)
 



รายงานถูกเปิดอ่านทั้งหมด ครั้ง












๏ปฟHISO-เธชเธณเธ™เธฑเธเธ‡เธฒเธ™เธžเธฑเธ’เธ™เธฒเธฃเธฐเธšเธšเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธฒเธฃเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ