picture
รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 


โครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย เป็นโครงการสำรวจสถานะสุขภาพของประเทศที่สำคัญ ที่ช่วยเฝ้าระวังสภาวะทางสุขภาพประชาชนไทย การดำเนินการสำรวจครั้งที่ 5 นี้เริ่มต้นเตรียมการมาตั้งแต่ปี 2555 ดำเนินงาน ภาคสนามในปี 2557 และเสร็จในต้นปี 2558 เนื่องจากมีฐานข้อมูลจากหลายแหล่งจึงใช้เวลาในการดำเนินงาน ผ่านผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขมาหลายท่านจนถึงปัจจุบัน ประเด็นทางสุขภาพที่ครอบคลุมในการสำรวจครั้งนี้มีทั้งในเรื่อง พฤติกรรมสุขภาพ ภาวะโรคที่สามารถตรวจวัดพื้นฐาน ได้แก่ การวัดสัดส่วนร่างกาย ความดันโลหิต และการตรวจวัดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้งในวัยทำงาน และวัยผู้สูงอายุ


ปัญหาสุขภาพอันดับต้นของสังคมในขณะนี้คือ โรคจากพฤติกรรมทางสุขภาพ การบาดเจ็บจากอุบัติภัย โรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง การสำรวจภาวะสุขภาพโดยการตรวจร่างกายครั้งนี้ ทำให้เห็นภาพปัญหาพฤติกรรมสุขภาพที่มีแนวโน้มที่ลดลง ได้แก่ การสูบบุหรี่ในประชากรโดยรวมลดลง และการดื่มสุรา สำหรับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพออยู่ในสถานะเดิม สำหรับการกิน ผักผลไม้อย่างเพียงพอมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตามปัญหาสุขภาพที่เกิดจากพฤติกรรม วิถีชีวิตยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาวะอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีผลแทรกซ้อนต่ออุบัติการณ์โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต ซึ่งเป็นภาระของสังคมและระบบบริการสุขภาพ การดำเนินกลยุทธ์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันและ ลดภาระโรคเหล่านี้จึงเป็นประเด็นสำคัญ



จัดทำโดย  สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
สนับสนุนโดย   สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ
สารบัญรายงาน

  ส่วนนำรายงาน (กิติกรรมประกาศ คำนำ สารบัญ บทคัดย่อสำหรับผู้บริหาร)
  บทที่ 1 บทนำ : ศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
  บทที่ 2 ระเบียบวิธีการสำรวจ : คุณหทัยชนก พรรคเจริญ
    2.1 คุ้มรวม
    2.2 ระดับการนำเสนอผล
    2.3 แผนการเลือกตัวอย่าง
    2.4 การกำหนดขนาดตัวอย่าง
    2.5 การกำหนดค่าถ่วงน้ำหนัก
  บทที่ 3 ลักษณะทางประชากร สังคม และเศรษฐกิจ : ศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
    3.1 โครงสร้างอายุ เพศ ที่อยู่ตามเขตปกครองและภาคของตัวอย่างที่สำรวจ
    3.2 การศึกษา
    3.3 สถานภาพสมรส
    3.4 สถานภาพทางเศรษฐกิจ รายได้
    3.5 การนับถือศาสนา
  บทที่ 4 พฤติกรรมสุขภาพ : ศ.นพ.วิชัย เอกพลากร, คุณกนิษฐา ไทยกล้า และผศ.ดร.วราภรณ์ เสถียรนพเก้า
    4.1 การสูบบุหรี่
    4.2 การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    4.3 กิจกรรมทางกาย
    4.4 พฤติกรรมการกินอาหาร
    4.5 การกินผักผลไม้
    4.6 การใช้ยาและอาหารเสริม
  บทที่ 5 ภาวะสุขภาพ : ศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
    5.1 ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน
    5.2 โรคเบาหวาน
    5.3 โรคความดันโลหิตสูง
    5.4 ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
    5.5 โรคและปัจจัยเสี่ยงของโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
    5.6 โรคหลอดเลือดหัวใจ จากประวัติการวินิจฉัยโดยแพทย์ และโรคหลอดเลือดสมองจากประวัติอาการ
    5.7 ประวัติโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต จากโรคหลอดเลือดสมอง
    5.8 ภาวะโลหิตจาง
    5.9 ภาวะซึมเศร้า
    5.10 โรคเรื้อรังที่เคยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์
    5.11 การบาดเจ็บ
    5.12 การวัดแรงบีบมือ
  บทที่ 6 อนามัยเจริญพันธุ์ : ศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
    6.1 การมีประจำเดือนและการหมดประจำเดือน
    6.2 การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร
    6.3 การแท้งลูก
    6.4 การมีคู่สมรสและการคุมกำเนิด
    6.5 ภาวะการมีบุตรยาก
    6.6 การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
    6.7 การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
    6.8 พฤติกรรมเคยมีเพศสัมพันธ์ในเยาวชน
  บทที่ 7 สุขภาพผู้สูงอายุ : ศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
    7.1 ลักษณะตัวอย่างผู้สูงอายุ
    7.2 ปัจจัยเกื้อหนุนต่อความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ
    7.3 ปัจจัยที่เกื้อหนุนผู้สูงอายุด้านหลักประกันในการอยู่อาศัยและความปลอดภัย
    7.4 การพึ่งพิงในกิจวัตรประจำวัน
    7.5 การตรวจคัดกรองภาวะสมองเสื่อม
    7.6 ความเสื่อมถอยของอวัยวะ
    7.7 การหกล้ม
    7.8 โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ
    7.9 การทดสอบความเร็วของการเดิน
    7.10 การมองระยะใกล้
  บทที่ 8 สรุปและข้อเสนอแนะ : ศ.นพ.วิชัย เอกพลากร