picture
Thailand Medical Services Profile 2011-2014
(การแพทย์ไทย 2554 - 2557) First Edition 


สามารถ download รายงานฉบับสมบูรณ์ได้ที่ เว็บไซต์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
อาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ การได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสม ทั้งประเภทและ ปริมาณ ย่อมมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การประเมินเพื่อทราบสถานะและพฤติกรรมการบริโภค อาหารของประชาชนจึงมีความสำคัญต่อการจัดการระบบสุขภาพและสุขภาวะของประชาชน ประเทศไทยมีการ สำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประชากรไทยมาแล้ว 5 ครั้ง โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข และภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2503, 2518, 2529, 2538 และ 2546 ตามลำดับ สำหรับการสำรวจด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารในปี พ.ศ. 2551-2 นี้ เป็น ส่วนหนึ่งของการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2551-2 ซึ่งดำเนินการโดย สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และนับเป็นครั้งแรกของการสำรวจสุขภาพ ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายที่มีการสำรวจด้านโภชนาการรวมอยู่ด้วย โดยการสำรวจครอบคลุมพฤติกรรม การกินอาหาร ความถี่ในการบริโภคอาหารชนิดต่างๆ และอาหารที่บริโภคย้อนหลัง 24 ชั่วโมง สำหรับใน รายงานฉบับนี้เป็นการเสนอผลการสำรวจความถี่ในการบริโภคอาหารและอาหารที่บริโภคย้อนหลัง 24 ชั่วโมง ที่ผ่านมา ทางคณะผู้ดำเนินงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินด้าน โภชนาการและสุขภาพของประชาชนไทยต่อไป

จัดทำโดย  กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
สารบัญรายงาน

   บทนำ
   บทที่ 1 ยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์ของประเทศ
   บทที่ 2 ระบบบริการทางการแพทย์
   บทที่ 3 ระบบวิชาการแพทย์
   บทที่ 4 โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
   บทที่ 5 โรคมะเร็ง (Cancer)
   บทที่ 6 โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
   บทที่ 7 ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)
   บทที่ 8 โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease: CKD)
   บทที่ 9 ยาและสารเสพติด (Drugs and Addictive Substances)
   บทที่ 10 โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease)
   บทที่ 11 ระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางกายและการเคลื่อนไหว (Rehabilitation System for People with Disabilities)
   บทที่ 12 โรคตา (Eye Diseases)
   บทที่ 13 ทารกคลอดก่อนกำหนด (Preterm)
   บทที่ 14 เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (Maternal and Fetal Medicine)
   บทที่ 15 ระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน (Emergency Care System)
   บทที่ 16 อาชีวเวชศาสตร์ (Occupational Medicine)
   บทที่ 17 โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
   บทที่ 18 ไข้เลือดออกเดงกี่ (Dengue Hemorrhagic Fever)
   บทที่ 19 ทันตกรรม
   บทที่ 20 ภาวะสูญเสียการได้ยิน (Hearing Loss)
  ภาคผนวก