HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
[ วันที่ 25/09/2556 ]
เลือดสะอาด เพิ่มภูมิคุ้มกัน ๖ (ตอน รู้กดดัน รู้ผ่อนคลายให้ร่างกายอบอุ่น ลดภาวะภูมิแพ้ตัวเอง)

  ปล่อยให้ระบบประสาทแบบกดดัน หรือแบบผ่อนคลาย ทำงานมากเกินไป เลือดไหลเวียนลำบาก การลำเลียงออกซิเจนติดขัด สายการผลิตพร่องออกซิเจน สำหรับผลิต "พลังชีวิต" ขับเคลื่อนเซลล์ต้นกำเนิด ร่างกายจะเย็นต่ำกว่า 37 องศาเซลเซียส เซลล์จึงกลายพันธุ์ เป็นต้นเหตุของภาวะภูมิแพ้ตัวเอง
          เมื่อตอนที่แล้วไปแนะนำให้รู้จักกับบุคลิกของออกซิเจน ซึ่งเป็นหนึ่งในสามวัตถุดิบสำหรับผลิต "พลังชีวิต" อีกทั้งได้แนะนำระบบประสาทอิสระทั้งแบบกดดัน และแบบผ่อนคลาย ซึ่งระบบทั้งสองสามารถกระตุกไป-กลับได้เองตามธรรมชาติ และคนเรายังสามารถช่วยกระตุกไป-กลับได้จากการเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน ซึ่งสามารถใช้ในการป้องกัน และลดภาวะภูมิแพ้ตัวเอง และยังได้สัญญาไว้ว่าจะเปิดเผยความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างออกซิเจน กับระบบประสาทอิสระที่ส่งผลต่อร่างกายคนเรา อีกทั้งจะแนะนำแนวทางในการใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ดังกล่าว สำหรับปกป้องชีวิต ป้องการกลายพันธุ์ของเซลล์ต้นกำเนิด สร้างเสริมสมรรถภาพของอวัยวะในร่างกายทั้งหมดเพื่อลดโอกาสในการเกิด และใช้ในการบำบัดภาวะภูมิแพ้ตัวเอง
          อุณหภูมิร่างกาย เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าระบบประสาทอิสระยังปกติสมดุลดีหรือไม่ กล่าวคือ ถ้าร่างกายเป็นปกติ มีสมดุลดี อุณหภูมิจะอยู่ที่ 37 องศา เซลเซียส หากอุณหภูมิลดลงกว่า 37 องศาเซลเซียสติดต่อกันนานๆ แสดงว่าสมดุล
          ทั้งระบบประสาทแบบกดดัน หรือแบบผ่อนคลาย หากทำงานมากเกินไป ก็ล้วนแต่ทำให้การไหลเวียนของเลือดบกพร่อง การลำเลียงออกซิเจนจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก เมื่อสายการผลิต "พลังชีวิต" พร่องออกซิเจน ย่อมเดินเครื่องผลิต "พลังชีวิต" ได้น้อยลง เมื่อเซลล์ต้นกำเนิดพร่อง "พลังชีวิต" ร่างกายก็จะเย็นลง เซลล์จึงค่อยๆ กลายพันธุ์ ที่เป็นต้นเหตุของภาวะภูมิแพ้ตัวเอง แต่กลไกที่ทำให้ร่างกายเย็นลงนั้นแตกต่างกัน
          หนึ่ง อุณหภูมิร่างกายลดลง เนื่องจากระบบประสาทกดดันทำงานมากเกินไป เช่น
          ๑) ผู้ที่อดนอน
          ๒) ผู้ที่ทำงานล่วงเวลา
          ๓) ผู้ที่หักโหมงานหนักยาวนานติดต่อกัน
          ๔) ผู้ที่กลุ้มใจ เพราะเครียดจากความกดดันเรื่องงาน
          ๕) ผู้ที่แบกรับความแตกแยกในกลุ่มเพื่อนร่วมงาน
          เมื่อระบบประสาทกดดันทำงานมาก จะพบว่ามีการสร้างเม็ดเลือดขาวแกรนูโลไซต์มากเกินความจำเป็นซึ่งเม็ดเลือดขาวแกรนูโลไซต์ มีหน้าที่ต่อต้านแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกาย หากมองเพียงผิวเผิน น่าจะเป็นผลดีแต่จริงๆ แล้ว การมีเม็ดเลือดขาวแกรนูโลไซต์ มากเกินไป กลับก่อผลเสีย เพราะเมื่อเม็ดเลือดขาวแกรนูโลไซต์ ส่วนเกินตายลง ก็จะเกิด "อนุมูลอิสระ" ขึ้นมากมาย เข้าทำลายส่วนประกอบต่างๆ ของเซลล์ในร่างกาย อีกทั้งทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในกระแสเลือด จนในที่สุดเลือดจะมีลักษณะ "หนืด" ไหลเวียนได้ยาก เมื่อเลือดหนืด การไหลเวียนของเลือดจะช้าลง การลำเลียงออกซิเจน จึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก เมื่อสายการผลิต "พลังชีวิต" พร่องออกซิเจน ย่อมเดินเครื่องผลิต "พลังชีวิต" พร่องออกซิเจน ยอ่มเดินเครื่องผลิต"พลังชีวิต" ได้น้อยลง เมื่อเซลล์ต้นกำเนิดพร่อง "พลังชีวิต" จึงค่อยๆ กลายพันธุ์ไปเป็นเซลล์ต้นกำเนิด ที่เป็นต้นเหตุของภาวะภูมิแพ้ตัวเอง ส่วนร่างกายก็จะเย็นลง
          สอง หากทำงานน้อยเกินไป มีชีวิตที่เฉื่อยชา อับเฉา หรืออกกำลังกายไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะตึงเครียด ส่งเสริมให้ระบบประสาทแบบผ่อนคลายทำงานมากเกินไป ผลลัพธ์คือจะมีการผลิตเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ ซึ่งมีหน้าที่สร้างสารต่อต้านสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย เข้าสู่กระแสเลือดเพิ่มขึ้น อีกทั้งหลอดเลือดจะขยายตัว ซึ่งดูเหมือนว่าจะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดเป็นไปด้วยดี แต่เมื่อระบบผ่อนคลายทำงานมากเกินไปเป็นเวลานาน จะส่งผลกลับกันคือ การไหลเวียนเลือดเป็นไปด้วยดี แต่เมื่อระบบผ่อนคลายทำงานมากเกินไปเป็นเวลานานจะส่งผลกลับกันคือการไหลเวียนเลือดจะช้าลง เปรียบเสมือนมีน้ำปริมาณเท่าเดิม แต่คลองน้ำกว้างขึ้น กระแสน้ำย่อมไหลช้าลง
          ด้วยเหตุนี้เมื่อระบบผ่อนคลายทำงานมากเกินไป การไหลเวียนของเลือดจะช้าลง การลำเลียงออกซินเจนจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก เมื่อสายการผลิต "พลังชีวิต" พร่องออกซิเจน ย่อมเดินเครื่องผลิต "พลังชีวิต" ได้น้อยลง เมื่อเซลล์ต้นกำเนิดพร่อง "พลังชีวิต" จึงค่อยๆ กลายพันธุ์ไปเป็นเซลล์ต้นกำเนิด ที่เป็นต้นเหตุของภาวะภูมิแพ้ตัวเอง ส่วนร่างกายก็จะเย็นลง
          ไม่ว่าจะเป็นระบบกดดัน หรือระบบผ่อนคลายทำงานมากเกินไป ก็ล้วนแต่เชื้อเชิญความเจ็บป่วยเข้ามาเยือนทั้งสิ้น แต่ชนิดของโรคจะแตกต่างกัน
          เมื่อระบบกดดันทำงานมากเกินไป จำนวนเม็ดเลือดขาวแกรนูโลไซต์เพิ่มขึ้น การไหลเวียนเลือดบกพร่อง การลำเลียงออกซิเจนจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก เมื่อสายการผลิต "พลังชีวิต" พร่องออกซิเจน ยอ่มเดินเครื่องผลิต "พลังชีวิต" ได้น้อยลง เมื่อเซลล์ต้นกำเนิดพร่อง "พลังชีวิต" จึงค่อยๆ กลายพันธุ์ไปเป็นเซลล์ต้นกำเนิด นอกจากจะเป็นต้นเหตุของภาวะภูมิแพ้ตัวเอง ยังเป็นต้นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเหยื่อเมือก และเนื้อเยื่อทั่วไป แล้วก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยดังนี้
          ๑) แผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากเยื่อเมือกเกิดการเปลี่ยนแปลง
          ๒) แผลในลำไส้เล้กส่วนต้น เนื่องจากเยื่อเมือกเกิดการเปลี่ยนแปลง
          ๓) การอักเสบของลำไส้ใหญ่โคลอน (ส่วนที่ยาวที่สุดประกอบด้วยส่วนขวา กลาง และซ้าย มีหน้าที่ดูดซึมน้ำ และวิตามินตระกูลบี) เนื่องจากเยื่อเมือกเกิดการเปลี่ยนแปลง
          ๔) การอักเสบของปอด ชนิดทำลายเนื้อปอดเนื่องจากเซลล์ และเนื้อเยื่อปอดเกิดการเปลี่ยนแปลง
          ๕) เนื้อเยื่อในหูชั้นในเกิดการเปลี่ยนแปลง
          ๖) ปริทันต์อักเสบ เนื้อเยื่อรอบฐานฟันเกิดการเปลี่ยนแปลง
          นอกจากความเครียดทางใจ ยังมีเรื่องความเครียดจากการใช้ยา ที่สามารกระตุ้นให้ระบบประสาทแบบกดดันทำงานมากเกินไปได้เช่นกัน จะเป็นอย่างไร? ขอให้ติดตามในตอนต่อไป
          ถามแทรก
          หนึ่ง ออกซิเจนบนโลกขาดความเสถียร จะเป็นคุณ หรือเป็นโทษต่อร่างกาย?
          ระหว่างเดินเครื่องผลิต "พลังชีวิต" ออกซิเจนซึ่งเป็นวัตถุดิบในการ่วมผลิตจำนวนหนี่งจะเปลี่ยนแปลงสภาพไปคล้ายเขม่าท่อไปเสีย เรียกว่า "อนุมูลอิสระ" ที่เป็นภาระให้ร่างกาย
          ๑) ต้องสลายแมกนีเซียมจะเซลล์กระดูกมาทำความสะอาด จนเซลล์กระดูกเสื่อม แตกหักง่าย ลดสมรรถภาพในการสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว
          ๒) สมรรถภาพของเซลล์ในอวัยวะจะเสื่อมลง
          ๓) จะทำให้เซลล์กลายพันธุ์กลับไปเป็นเซลล์ดั้งเดิม
          ๔) ปกป้องชีวิตอย่างยากลำบาก
          ฉะนั้นการใช้งานร่างกายอย่างหักโหม (กิน-ดื่มเกิน, เกร็งกล้ามเนื้อเกิน, ใช้ความคิดจนเกิดอารมณ์เกิน) จึงเท่ากับการเร่งให้เกิด "อนุมูลอิสระ" เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เข้าสู่วงจรของภาวะ ภูมิแพ้ตัวเองได้ง่ายขึ้น
          สอง ทุก ๓ เดือน ปริมาณออกซิเจนในอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นอย่างไร?
          ๑) กุมภาพันธ์-เมษายน ปริมาณออกซิเจนค่อยๆ มากขึ้น
          ๒) พฤษภาคม-กรกฎาคม ปริมาณออกซิเจนมาก
          ๓) สิงหาคม-ตุลาคม ปริมาณออกซิเจนค่อยๆ น้อยลง
          ๔) พฤศจิกายน-มกราคม ปริมาณออกซิเจนน้อย
          อ่านถึงตรงนี้ น่าจะมีความสงสัยเกิดขึ้นว่า ทำไมยังมีคนป่วยอยู่อย่างนั้นทั้งปี ทั้งๆ ที่ ใน ๑ ปี จะมีช่วงที่บรรยากาศรอบตัวมี "ออกซิเจน" เพียงพอสำหรับร่วมผลิต "พลังชีวิต" ให้เซลล์ในร่างกาย?
          ก็เพราะว่าคนเราในปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ปรับอากาศตลอดทั้งปี ทั้งในรถ ในอาคาร (ที่ทำงาน ที่บ้าน) จึงขาดโอกาสที่จะได้รับ "ออกซิเจน" สำหรับร่วมผลิต "พลังชีวิต" ให้เซลล์ในร่างกาย
          สาม หลังจากทำความสะอาดกระแสเลือดแล้ว ร่างกายจัดการกับสิ่งสกปรกอย่างไร?
          ร่างกายจะสลายแมกนีเซียมจากกล้ามเนื้อหรือกระดูก มาเร่งผลิต และเร่งใช้ "พลังชีวิต" ให้เกิดเป็นความร้อน และอาศัยความร้อนนี้ขับระบายสิ่งสกปรกออกจากร่างกาย หากสิ่งสกปรกมีน้อย ก็สลายแมกนีเซียมออกมาเร่งความร้อนในระดับปกติ เราก็จะไม่ค่อยรู้สึกอะไร แต่หากสะสมสิ่งสกปรกไว้มาก ก็สลายแมกนีเซียมออกมาเร่งความร้อนในระดับสูง หรือที่เรียกว่า "ไข้" นั่นเอง จนกล้ามเนื้อ หรือกระดูกขาดแมกนีเซียม สำหรับเร่งผลิต และใช้ "พลังชีวิต" เราก็จะรู้สึกปวดเมื่อนอย่างเห็นได้ชัด ส่วนรูปแบบการขับระบายมีด้วยกัน ๓ รูป ดังนี้
          - ในรูปของอากาศ ขับพร้อมการหายใจออก การเรอ การผายลม
          - ในรูปของเหลว ขับพร้อมเหงื่อ ปัสสาวะ ประจำเดือน(ผู้หญิง)
          - ในรูปของมวล ขับพร้อมอุจจาระ ทางทวารหนัก
          นอกจากการขับระบายออกในรูปของมวลออกทางทวารหนักแล้ว ยังมีการขับระบายสิ่งสกปรกจากแต่ละอวัยวะออกทางทวารต่างๆ อีก ดังนี้
          ๑) สิ่งสกปรกจากกระดูก ไต กระเพาะปัสสาวะ ระบายออกเป็นขี้หู
          ๒) สิ่งสกปรกจากเส้นเอ็น ตับ ถุงน้ำดี ระบายออกเป็นขี้ตา
          ๓) สิ่งสกปรกจากหลอดเลือด ลำไส้เล็ก ช่องท้อง ๓ ส่วน หัวใจ เยื่อหุ้ม หรือกล้ามเนื้อหัวใจ ระบายออกเป็นคราบลิ้น
          ๔) สิ่งสกปรกจากกล้ามเนื้อ กระเพาะอาหาร ม้าม ระบายออกเป็นคราบลิ้น และขี้ฟัน
          ๕) สิ่งสกปรกจากผิวหนัง ปอด ลำไส้ใหญ่ ระบายออกเป็นมูก ทางจมูก
          ยินดีให้คำปรึกษาเรื่องร่างกาย และสุขภาพ
          08-1374-1464
          ชัย ปฐมรัตน์
           ๕๖๗๘
 


pageview  1205428    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved