HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
โพสต์ทูเดย์ [ วันที่ 03/03/2555 ]
คอมพ์ฉาว900ล้าน เหยื่อปปช

จบเรื่องนี้เมื่อไหร่จะเขียนหนังสือชื่อคอมพ์ฉาว 900 ล้าน เพราะเป็นรัฐมนตรีมา 4 กระทรวง ไม่เคยถูกกล่าวหาว่าทุจริต หรือถูก
          อภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่เคยถูกตั้งกรรมการสอบแต่อยู่ๆ ถูกกล่าวหาว่าทุจริตโครงการจัดซื้อจัดจ้างคอมพิวเตอร์ของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ถูกตราหน้าว่าเป็นคนทุจริต" คุณหญิงหน่อยกล่าวพร้อมกับหัวเราะไปพร้อมๆ กัน
          คำกล่าวของ คุณหญิงสุดารัตน์ ถ่ายทอดออกมาปะปนความอัดอั้นตันใจ ที่ต้องครุ่นคิดถึงการแก้ต่างในคดี ข้อกล่าวหาว่าทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง
          โครงการคอมพิวเตอร์ของกระทรวงสาธารณสุขมูลค่า 900 ล้านบาท
          เธอเล่าว่า เรื่องเกิดขึ้นในสมัยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสาธารณสุข ปี 2546-2547 ซึ่งคำคำนี้(คอมพ์ฉาว) ได้ยินทุกครั้งเหมือนนำมีดมากรีดหัวใจ เพราะจะมีสักกี่คนที่รู้ว่าโครงการนี้ไม่ได้จัดซื้อแม้แต่เครื่องเดียวและงบประมาณก็ส่งคืนกระทรวงการคลังทุกบาททุกสตางค์ อีกทั้งเรื่องมีอยู่ว่า กรมบัญชีกลางที่มีหน้าที่ในการควบคุมการจัดซื้อจัดจ้างทั่วประเทศตามกฎหมาย ชี้มาแล้วว่าบริษัทเอกชนที่เป็นผู้ร่วมประมูลโครงการตกสเปกทุกประการ คือ โครงการจัดซื้อระบุต้องการ
          ความจุเครื่องคอมพิวเตอร์2 กิกะไบต์ และความเร็วของดีวีดีรอม 10 เอกซ์ แต่บริษัทเอกชนแห่งนี้เสนอเพียง 1 กิกะไบต์ และความเร็วดีวีดีรอมเพียง 6 เอกซ์ บริษัทเอกชนเขาก็ไม่สามารถเข้าสู่การประมูลได้ อย่าว่าแต่จะให้เป็นผู้ชนะการประมูลเลย ทำให้โครงการยังไม่ได้เริ่มประมูล
          ทั้งในปี 2547 ก็ได้ร้องเรียนไปถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และเป็นคนร้องเรียนคนแรกของคดี แต่หลังจากนั้น (หัวเราะ) กลายเป็นผู้ถูกกล่าวหาซะเอง อย่างนี้ต้องเรียก "คดีพลิก!"คุณหญิงอธิบายว่า ปมที่เป็นไฮไลต์หลักเลยก็ว่าได้ อยู่ที่การกล่าวอ้างว่าบริษัทเอกชนรู้เรื่องสเปกการประมูลล่วงหน้า และค่าซ่อมบำรุง 5 ปีจึงมาเสนอ ผลก็คือบริษัทนี้เสนอค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกกว่าคนอื่น13 ล้านบาท แต่ค่าซ่อมบำรุง 5 ปี แพงกว่าคนอื่นถึง419 ล้านบาทถามว่าเป็นวิญญูชนที่เห็นแก่ประโยชน์ของทางราชการ จะซื้อลงหรือไม่
          "เพราะซื้อจากบริษัทไหนก็ต้องซ่อมกับบริษัทนั้น เท่ากับเสียค่าโง่ ใครที่เขียนรายละเอียดว่าจ้างเช่นนี้ทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ และคนที่รับผิดชอบการเขียนรายละเอียดนี้คือ ภักดี โพธิศิริกรรมการ ป.ป.ช. ในสมัยดำรงตำแหน่งรองปลัด สธ. และเป็นประธานคณะกรรมการประกวดราคาจัดซื้อ(ทีโออาร์) รับผิดชอบเขียนรายละเอียดจัดซื้อจัดจ้าง และยังจะมาเป็นกรรมการ ป.ป.ช.สอบเรื่องที่ตัวเองทำได้อย่างไร"
          คุณหญิงเล่าว่า มีความพยายามจะให้เหมือนว่าเป็นการโทร.สั่งการให้ได้ เช่น กล่าวหาว่าโทร.สั่งการใช้เวลา39 นาทีจากต่างประเทศแต่ในขณะนั้นได้ไปประชุมที่ต่างประเทศ ก็ต้องโทร.มาถามข้อมูลจากข้าราชการอยู่แล้ว เป็นการโทร.เพียง1.2 นาที ป.ป.ช.คิดรวมเป็น 12 นาที โทร.อีกครั้ง2.7 นาที เขาก็รวมเป็น 27 นาที ฉะนั้นโทร.รวมกัน 39 นาที เพื่อให้ดูเหมือนว่าได้มีการสั่งการยาวมาก ซึ่งมันไม่ใช่ คุณจะไม่เห็นจุดทศนิยมได้อย่างไร ทั้งหมดเป็นกระบวนการสอบสวนอย่างไม่เป็นธรรม
          ดังนั้น การที่ไปเป็นพยานในการถอดถอน"ภักดี"เป็นการรักษา ป.ป.ช.เอาไว้ เพราะองค์กรอิสระมีความสำคัญ ต้องอยู่ต่อไป ส่วนคนไม่ดีต้องถูกพิจารณา ซึ่งในวันที่ 9 มี.ค.นี้ วุฒิสภาจะลงคะแนนตัดสินว่าจะถอดถอนหรือไม่ตรงนี้จะเป็นการ
          พิสูจน์ถึงการถ่วงดุลตรวจสอบองค์กรอิสระ

 


pageview  1205134    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved