HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
โพสต์ทูเดย์ [ วันที่ 26/09/2556 ]
(ความ)สุข...เอ๋ยอยู่หนใด?

 เมื่อเร็วๆนี้ ผลสำรวจจากรายงานประจำปี "World Happiness Report 2013" ของสหประชาชาติจัดอันดับให้ เดนมาร์ก เป็นประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก รองลงมาคือ นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน ตามลำดับ ส่วนประเทศไทยนั้นได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ 36 จาก
          จากผลสำรวจชิ้นเล็กๆ ซึ่งแม้ไม่สามารถช่วงชิงพื้นที่สื่อได้มากนักหากเทียบกับข่าวร้ายๆ เช่น ข่าวสงคราม ภัยธรรมชาตินี้ แต่ก็จุดประกายคำถามในใจว่า ทำไมสำหรับหลายๆ คน "ความสุข" ถึงอยู่ไกลเกินเอื้อม แต่สำหรับบางคนความสุขกลับวนเวียนอยู่รอบตัวจนน่าอิจฉา" แล้วทำไมความสุขของแต่ละคนจึงไม่เท่ากัน?M
          เชื่อเถอะความสุข...สร้างได้
          นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุลนายแพทย์ทรงคุณวุฒิกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิตเพื่อสุขภาวะสังคมไทยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงผลการสำรวจล่าสุดที่ออกมา ถือเป็นเรื่องน่ายินดีแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูในรายละเอียดว่า ดัชนีที่นำมาชี้วัดคืออะไร เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจัยที่มีผลสำคัญทำให้คนเรามีความสุขหรือไม่นั้น ไม่ได้เกิดจากตัวบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยมหภาค ทั้งการเมืองเศรษฐกิจ การดูแลประชาชนที่ด้อยโอกาส รองลงมา คือ ระดับท้องถิ่น ชุมชนที่อยู่มีความเข้มแข็ง พึ่งพาอาศัยกันหรือไม่ เป็นต้น และสุดท้าย คือ ปัจจัยในระดับบุคคล ได้แก่ ระดับรายได้ ความสัมพันธ์กับคนรอบตัว สุขภาพ
          "โดยส่วนตัว ผมคิดว่าประเทศอาจจะไต่ขึ้นไปอยู่ระดับต้นๆ ในการจัดอันดับความสุขโลกยาก เพราะแม้ประเทศไทยมีต้นทุนทางสังคมดี แต่มีโจทย์ที่ติดลบประเทศไทยยังขาดกระบวนการพัฒนาสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ยังมีปัญหาความมั่นคงในหลายประเทศ แต่สาเหตุที่ไทยยังอยู่ในอันดับดีๆ เพราะเรามีต้นทุนทางสังคมที่ดี ผู้คนมีนิสัยใจดี ประพฤติตามคำสอนของศาสนา ภูมิศาสตร์ที่ตั้งประเทศดี ไม่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศ หรือภัยธรรมชาติที่ร้ายแรง"
          อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหลายปัจจัยที่เข้ามากำหนดความสุข แต่ นพ.ประเวชยังเชื่อมั่นว่าความสุขสร้างได้ โดยเริ่มต้นง่ายๆ ที่ระดับบุคคล หลายคนอาจมองข้ามวิธีง่ายๆ เช่น การรู้จักดูแลสุขภาพ อดออมเงิน ใส่ใจครอบครัว ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนศาสนา ไม่ว่าจะศาสนาใดก็ตาม สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้คนเรามีความสุขได้โดยไม่รู้ตัว ยกตัวอย่าง ปัญหาที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ทุกข์ คือเป็นหนี้นอกระบบ จากการศึกษาพบว่าคนที่เป็นหนี้ในระบบ ไม่เพียงไม่ทุกข์ แต่กลับมีดัชนีความสุขมากขึ้นกว่าเดิม เพราะหนี้นี้แสดงถึงการมีเครดิต เป็นหนี้เพื่ออนาคต ต่างจากหนี้นอกระบบ คนกลุ่มนี้จะทุกข์ ซึ่งถ้าย้อนดูสาเหตุแห่งทุกข์ก็เพราะไม่รู้จักออม
          "ผมมองว่าวิธีที่จะเติมความสุขให้ประเทศไทยตอนนี้ คือ คนในสังคมต้องหันมามองอะไรให้รอบด้าน และมองอย่างเข้าใจ แทนที่จะมองแบบสุดขั้น"
          ห้องทดลองความสุข
          หนูดี-วนิษา เรซผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ เห็นว่า ประเทศไทยน่าจะติดอันดับเลขตัวเดียวในการจัดอันดับประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลกได้ไม่ยากเพราะด้วยนิสัยของคนไทยที่ไม่เอาเรื่องเอาราวใคร ผู้คนยิ้มแย้มแจ่มใส จิตใจดี มีอารมณ์ขัน แม้แต่เรื่องเครียดๆอย่างนโยบายภาษีคนโสด ก็นำมาวาดการ์ตูนเรียกเสียงหัวเราะได้ มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พยายามศึกษาพฤติกรรมของคนที่มีความสุขมาก ความลับ คือ คนพวกนี้ไม่ใช่ไม่เคยเจอปัญหา หรือมีความทุกข์ เพียงแต่คนกลุ่มนี้ปรับตัวได้เร็วเลยมีความสุขมากกว่าทั้งที่ความทุกข์อาจจะเท่ากับคนที่ไม่มีความสุขก็ได้
          "จริงอยู่ แม้ปัจจัยแวดล้อมอย่างการเมืองและเศรษฐกิจจะมีผล ใครเจอเรื่องร้ายแรงมาก็ต้องจิตตกแต่ถ้าปรับตัว
          ได้ไวก็มีความสุขได้ หนูดีว่าสุขภาพใจก็เหมือนสุขภาพกาย บางคนป่วยโรคเดียวกัน แต่ฟื้นตัวได้เร็วไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นใครฟื้นตัวเร็วกว่า ก็กลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็ว"
          หนูดี ย้ำว่า ความสุขสร้างได้ แม้จะไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่วิธีที่หนูดีนำมาใช้บ่อย คือ พยายามนำเรื่องที่แย่ออกจากใจให้เร็วที่สุด ยกตัวอย่าง บางวันเจอเรื่องแย่มา เราก็เศร้าและทุกข์กับมันไป แต่หนูดีเชื่อว่าคนเราต้องมีวันหยุดเศร้าแล้วถ้างั้นทำไมต้องรอให้เป็นอีก 1 เดือนข้างหน้าทำไมวันที่เราหยุดเศร้า ไม่เป็นวันพรุ่งนี้เลยเพราะสุดท้ายเมื่อถึงวันรุ่งขึ้นความเศร้าวันนี้ก็จะกลายเป็นอดีต
          "ทุกวันนี้ไปกินอาหาร ถามว่าแพงมั้ยแพง แต่แทนที่เราจะเก็บมาบ่มเพาะเป็นความเครียด เราน่าจะเลือกที่จะปรับตัวเช่น ลองสับเปลี่ยนซื้อกับข้าวมาทำเองบ้าง
          หรือลองมองประเทศที่แย่กว่าเรา ต้องเผชิญภัยธรรมชาติ เกิดสงคราม มีการสูญเสีย หนูดีว่าคนพวกนั้นแย่กว่าเรามาก"
          อย่างไรก็ตาม หนูดีว่า มนุษย์เราไม่ว่าชาติไหนภาษาใด มีสิ่งที่บันดาลสุขให้ไม่ต่างกัน ได้แก่ การเงิน การงาน สุขภาพครอบครัว สำหรับหนูดี ครอบครัวมาเป็นอันดับ 1 สุขภาพมาเป็นอันดับ 2 ตามด้วยงานและเงิน เพราะหนูดีมองว่า ต่อให้หนูดีป่วย แต่ถ้ามีคนในครอบครัวอยู่ข้างๆ คอยดูแล หนูดีก็มีกำลังใจสู้ แต่ถ้าหนูดีมีสุขภาพดีแต่เห็นคนในบ้านทุกข์ หนูดีคงทนไม่ได้
          "หนูดีว่าทุกคนควรจะจัดอันดับความสำคัญสิ่งบันดาลสุขนี้ เพื่อที่จะได้เตือนตัวเองเสมอว่าเราควรทำอะไร ให้เวลากับอะไร หรือถ้าใครยังไม่รู้ตัว ลองสังเกตดูก็ได้ว่า แต่ละวันใช้เวลากับอะไรมากที่สุด นั่นแหละคือคำตอบว่าความสุขของคุณอยู่ที่ไหน"
          สุขไหน...ใช่เลย
          เริ่มที่ บอย-ดร.เชษฐา ส่งทวีผลกูรูนาฬิกาและรถซูเปอร์คาร์คนดังแถมยังเป็นเจ้าของธุรกิจมากมายกล่าวว่า จะบอกว่าอะไรคือความสุข
          คงวัดกันลำบาก อยู่ที่ความพอใจของ
          แต่ละคน แต่โดยส่วนตัว เขาใช้
          ชีวิตอย่างมีความสุข เพราะทำ
          ในสิ่งที่รัก อะไรที่ไม่ชอบก็ไม่
          ทำ ดร.บอยบอกว่า เขายึดหลัก "ความพอเพียง" ของ
          ในหลวงไว้ในใจ อย่างบางคนมองว่า สิ่งที่เขาทำมากเกินไปแต่เขาเชื่อว่าตัวเองอยู่ในความ
          พอเพียง เขาก็มีความสุข ถามว่าคนไทยควรคืนความสุขให้กับประเทศยังไง ดร.บอยมองว่า ถึงเวลาที่คนไทยจะต้องรู้จักให้ แทนที่จะเป็นแต่ผู้รับ
          "พ่อแม่ของผมสอนว่า เวลาอยู่ในสระน้ำ ถ้าเราเอาแต่วักน้ำเข้าหาตัวน้ำที่วกเข้าหาตัวจะมีไม่มาก ต่างกับเวลาผลักน้ำออกไปจากตัว ปรากฏว่าน้ำจะวกโอบล้อมเข้ามาสู่ตัวเรามากกว่าตอนที่เราพยายามจะผลักน้ำเข้ามาด้วยซ้ำ เหมือนกับการให้ ยิ่งให้ก็ยิ่งได้รับ"
          สอดคล้องกับ เคน-ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์พระเอกสุดฮอต ที่นิยามความสุขว่า คือ การได้ทำสิ่งที่รักและชอบ ซึ่งความสุขนั้นจะเป็นสุขที่สมบูรณ์แบบ ต่อเมื่อได้นำความสุขของตัวเองมาแชร์ให้คนที่รัก
          "ผมว่าทุกวันนี้ คนในเมืองใช้ชีวิตอย่างรีบร้อน ผมว่าก็เป็นสิ่งที่ดี ที่ทุกคนมีพลังในตัว แต่ถ้าจะคืนความสุขให้ประเทศไทย ผมว่าทุกคนต้องคิดถึงตัวเองให้น้อยลง และคิดถึงคนอื่นให้มากขึ้น"
          ด้าน ไข่มุก-ชุติมา ดุรงค์เดชอดีตมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส บอกว่า ความสุขของคนเราอยู่ที่การคิด ทุกคน
          สามารถสุขได้ตั้งแต่ตอนนี้ แค่เปลี่ยนมุมมอง เลิกมองความสุขจากวัตถุและเอาความสุข/ทุกข์ของตัวเองไปเทียบเคียงกับความสุขของคนอื่น
          "เวลามีปัญหา แทนที่จะชี้นิ้วโทษคนอื่นให้มองมุมกลับว่า ทุกครั้งที่ชี้นิ้วไปข้างหน้า 3 นิ้วที่เหลือจะชี้กลับมาหาตัวเรา เพราะฉะนั้นเราจะมีส่วนแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง"
          ปิดท้ายที่สาว เอิร์น-จิรวรรณเตชะหรูวิจิตรทายาทโรงแรมเอเชียเห็นว่า ตัวชี้วัดว่าสุขหรือทุกข์อยู่ที่ใจคน ทุกครั้งที่เธอเจอปัญหา จะนึกถึงคนที่แย่กว่า เจอปัญหามากกว่า
          เพื่อเป็นกำลังใจส่วนสิ่งที่คนไทยควรจะร่วมมือกันเพื่อคืนความสุขให้สังคมไทยนั้น สาวเอิร์นบอกว่า คนไทยต้องสามัคคีกัน อย่ามองไปที่จุดใดจุดหนึ่ง แต่ต้องมองไปที่ส่วนรวมเพื่อประเทศชาติ


pageview  1205323    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved