HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
กรุงเทพธุรกิจ [ วันที่ 07/01/2557 ]
ภาวะกระดูกร้าวภัยเงียบเอเชีย
 มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF) เปิดเผยรายงานฉบับใหม่ พบผู้มีภาวะกระดูกร้าวอันเนื่องมาจากโรคกระดูกพรุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีจำนวนพุ่งขึ้นสูงมาก กลุ่มผู้สูงอายุวัย 70 ปีขึ้นไปมีอัตราการเกิดโรคพุ่งสูงถึง 230 เปอร์เซ็นต์ และวัย 50 ปีขึ้นไป มีอัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้น 144 เปอร์เซ็นต์ อัตราการเกิดภาวะกระดูกร้าวที่สะโพกอาจ เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่าตัวภายในปี 2593  ดังนั้นแม้ว่าประชากรอาจมีอายุยืนยาวขึ้น แต่สุขภาพกล้ามเนื้อ และกระดูก จะเป็นต้นเหตุร้ายแรงที่นำไปสู่ความพิการ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ต้นทุนด้านสังคมตามหลักเศรษฐศาสตร์ (Socio-economic) ก็จะพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย เว้นแต่จะมีการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ
          ภาวะกระดูกสะโพกร้าว ซึ่งมักจะเกิดในผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป เป็นอาการกระดูกร้าวจากโรคกระดูกพรุน ซึ่งค่ารักษาพยาบาลสูงและมีความรุนแรงมากที่สุด ประเทศส่วนมากในเอเชียมีผู้ป่วยด้วยภาวะกระดูกสะโพกร้าวเพิ่มขึ้นแล้ว 2-3 เท่าในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจ ส่งผลให้มีอัตราการเกิดภาวะกระดูกสะโพกร้าวในเอเชียเพิ่มขึ้นเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ จากทั้งหมดทั่วโลกภายในปี 2593 ณ เวลานั้น ประชาชนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีก็จะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า
          จีน และอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก จะมีผู้สูงวัยที่อายุ 70 ปี หรือมากกว่า เกือบ 430 ล้านคนภายในปี 2593  นอกเหนือไปจากการรักษาที่มีต้นทุนสูงแล้ว ผู้ป่วยประมาณ 33 เปอร์เซ็นต์ จำเป็นต้อง พึ่งพาผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดในช่วงปีหลังจากที่มีอาการ และผู้ป่วย 1 ใน 5 รายจะเสียชีวิตภายใน 1 ปี ยิ่งไปกว่านั้นชุมชนเมืองในเอเชียแปซิฟิกยังได้รับผลกระทบจากอัตราผู้ป่วยโรคกระดูกร้าว ซึ่งในสภาวะชุมชนเมืองมีอัตราการเกิดโรคสูงกว่า เนื่องจากผู้ป่วยมักจะใช้ชีวิตภายในอาคาร และนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ ไปจนถึงผู้ที่ขาดวิตามินดี และมีสุขภาพกล้ามเนื้อ และกระดูกที่ไม่แข็งแรง
          สำหรับคำถามที่ว่า ระบบการดูแลสุขภาพจะสามารถรับมือกับความต้องการในการดูแลรักษาโรคกระดูกสะโพกร้าวในทันที และระยะยาว ได้หรือไม่นั้น ผู้ป่วยโรคกระดูกร้าวที่สะโพกต้องได้รับการผ่าตัด และการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างทันท่วงที เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต และความพิการ ในประเทศด้อยพัฒนาในเอเชีย อาจจะไม่มีความพร้อม หรือเงินทุนด้านการดูแลรักษา และการผ่าตัด
          ในประเทศอย่างเวียดนาม ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และปากีสถาน มีผู้ป่วยโรคกระดูกสะโพกร้าวต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องทุ่มเงินทั้งหมดเพื่อการผ่าตัดอาจต้องเผชิญกับความขัดสน ไม่เช่นนั้น ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการผ่าตัด ก็จะทุพพลภาพอย่างรุนแรง
          ศาสตราจารย์จอห์น เอ คานิส (Prof. John A. Kanis) ประธาน IOF กล่าวว่า "ผู้หญิง 1 ใน 3 และผู้ชาย 1 ใน 5 ที่มีอายุ 50 ปีทั่วโลก จะเกิดภาวะกระดูกหักเนื่องจากโรคกระดูกพรุน ดังนั้น การวินิฉัย และการรักษาอย่างทันท่วงทีเป็นสิ่งสำคัญมาก IOF เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วเอเชียยกระดับความพยายามในด้านการป้องกัน โรคกระดูกพรุน และโรคที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ และโครงกระดูกควรจะเป็นวาระสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพแห่งชาติ"
          โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายงานของ IOF ได้เรียกร้องให้หน่วยงานต่างๆ ระบุระดับประชากรที่ขาดวิตามินดี และมีแคลเซียมต่ำ ส่งเสริมมาตรการป้องกันในการใช้ชีวิตประจำวัน อาทิ กิจกรรมด้านกายภาพกลางแจ้ง และการเลิกบุหรี่ สนับสนุนการรักษาที่สามารถเบิกจ่ายได้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนที่เป็นโรคกระดูกพรุนสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกร้าวได้
          พร้อมกันนั้นควรควรให้บริการด้าน การวินิจฉัยโรคอย่างเพียงพอ และเข้าถึงได้ง่าย มีการจัดหาทรัพยากรเพื่อพัฒนาการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางโรคกระดูกพรุน จัดให้มีแผนกโรคกระดูกร้าวในคลินิกต่างๆ เพื่อช่วยวินิจฉัย และให้การรักษาผู้ป่วย ส่งเสริมการวิจัย และการลงทะเบียนผู้ป่วยโรคกระดูกร้าว เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาระดับชาติที่เหมาะสม
          สุดท้ายคือกระตุ้นให้สาธารณะชนตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย และโภชนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประชากรวัยรุ่น
          หมายเหตุ :มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF) เป็นองค์กรนอกภาครัฐที่ไม่แสวง ผลกำไรรายใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งอุทิศตนเพื่อการป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษาโรคกระดูกพรุน และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อ และโครงกระดูก สมาชิกของ IOF ประกอบด้วยสมาคมต่างๆ 216 แห่ง ซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อทำให้เรื่องสุขภาพกระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อเป็นวาระการดูแลสุขภาพที่สำคัญระดับโลก www.iofbonehealth.org
          ผู้ป่วยโรคกระดูกร้าว ที่สะโพกต้องได้รับการผ่าตัด และ การฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างทันท่วงที เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายงานของ IOF ได้

pageview  1205831    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved