HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
กรุงเทพธุรกิจ [ วันที่ 07/01/2557 ]
ปีใหม่ ปรับชีวิตเปลี่ยนสุขภาพ
 ปีใหม่นี้หลายๆ คนถือเป็นฤกษ์งาม ยามดีในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
          จากข้อมูลการสำรวจสภาวะสุขภาพของคนไทย ของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง 4 อันดับโรคฮิต ที่คร่าชีวิตคนไทย และนับวัน จะมีแนวโน้มผู้ป่วยด้วยโรคนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ
          โดยคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความชุกของโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 21.4 หรือ 10.8 ล้านคน มีความเสี่ยงที่จะป่วยด้วยโรคหัวใจสูงถึงร้อยละ 86 และจากการคาดการณ์ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ในปี 2551 ประเทศไทยจะมี ผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งรายใหม่ 120,000 ราย และจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 ในช่วง 10 ปี ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก เฉพาะโรคมะเร็งเพียงอย่างเดียว เฉลี่ยถึงคนละ 1 ล้านบาท ตัวการสำคัญที่ทำให้คนไทยเป็นโรค เหล่านี้กันมากขึ้น ชี้ชัดๆ ว่ามาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องในเรื่องการบริโภค และการออกกำลังกาย
          ดังนั้น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จึงแนะนำวิธี "ปรับพฤติกรรม  เปลี่ยนสุขภาพ" ด้วยตัวเอง โดยเน้น 2 หลักการสำคัญ คือ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคู่กับการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดีออกกํลังกยให้ห่งโรค
          การออกกำลังกายหรือการเคลื่อนไหวร่างกายจะทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกาย หัวใจและระบบไหลเวียนของเลือด ปอด กล้ามเนื้อ ข้อต่อ กระดูก มีความแข็งแรง เสริมสร้างภูมิต้านทานในการป้องกันโรค เราควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน วันละอย่างน้อย 30 นาที
          สำหรับการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ควรเริ่มต้นด้วยการอบอุ่นร่างกาย ยืดเหยียด กล้ามเนื้อ เช่น วิ่งเหยาะๆ เดินช้าๆ ประมาณ 5 นาที
          ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายให้หัวใจเต้นแรงขึ้น ปอด กล้ามเนื้อทำงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น เดินเร็ว เต้นแอโรบิก ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน ฯลฯ ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที
          ผ่อนคลาย สิ้นสุดการออกกำลังกายด้วยการลดระดับความแรงลงเรื่อยๆ เพื่อผ่อนคลายระดับการเต้นของหัวใจ ปอด กล้ามเนื้อทุกสัดส่วนของร่างกาย เช่น วิ่งช้าๆ สลับการเดิน เดินช้าๆ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ใช้เวลาผ่อนคลายประมาณ 5 นาที
          นอกจากนี้การออกกำลังกายในแต่ละช่วงวัย ก็มีความแตกต่างกันด้วย เช่น ในวัยเด็ก การออกกำลังกายจะช่วยให้พัฒนาการของเด็กในด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ดีขึ้น การออกกำลังกาย ควรเป็นการฝึกความคล่องตัว ความอ่อนตัว ควบคุมกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้มีการพัฒนาร่างกายทุกสัดส่วน โดยใช้กิจกรรมที่หลากหลายใช้การออกแรงแบบหนักสลับเบา เพื่อการออกกำลังกาย ในแต่ละวัน
          วัยทำงาน ควรเลือกออกกำลังกายให้เหมาะสมกับเวลา วัย อาชีพ และสภาพร่างกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน วันละอย่างน้อย 30 นาที เช่นเต้นแอโรบิก เดินเร็ว วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ เป็นต้น
          ส่วนวัยสูงอายุ เป็นวัยที่ร่างกายเสื่อมถอย มีปัญหาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ควรออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสุขภาพไม่หักโหม ใช้แรงพอเหมาะค่อยเป็นค่อยไป เช่น การเดินช้าๆ รำมวยจีน กายบริหารประกอบเพลงกินอหรถูกต้อง ไกลโรค
          การกินอาหารอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพ เพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยในแต่ละหมู่ควรเลือกกินให้หลากหลายชนิด ไม่ซ้ำซาก กินอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับ การใช้พลังงานในแต่ละวัน
          กินข้าวเป็นหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งบางมื้อ กินผัก และผลไม้สด ปลอดสารพิษ เป็นประจำอย่างเพียงพอ และหลากหลาย วันละอย่างน้อย 5ขีด หรือครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป กินให้ได้ทั้ง 3 มื้อ และไม่กินผลไม้รสหวานจัด ซึ่งคนที่กินผัก ผลไม้หลากหลายสี เช่น สีเขียว สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีน้ำเงิน สีม่วง สีขาว สีน้ำตาล เป็นประจำ ร่างกายจะได้รับประโยชน์จากคุณสมบัติของสีเหล่านี้ เพราะช่วยต้าน อนุมูลอิสระ ดูดซับสารพิษที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง ต้านการอักเสบ และเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันปกป้องเซลล์ ช่วยการไหลเวียนของเลือด และช่วยลดคลอเลสเตอรอล
          กินเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน กินปลา ไข่ และ ถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ ดื่มนมให้เหมาะสม ตามวัย ลดอาหารไขมัน หลีกเลี่ยงการกินอาหารเค็มและหวานจัด ควรจำกัดการกินเกลือ หรือน้ำปลาวันละไม่เกิน 1 ช้อนชา และจำกัดการกินน้ำตาลวันละไม่เกิน 6 ช้อนชา และกินอาหาร ที่สุก สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
          สำหรับการกินอาหารในแต่ละช่วงวัย วัยเด็กและเยาวชน เป็นช่วงวัยที่กำลังเจริญเติบโต ควรกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ และหลากหลายชนิด ให้ครบทั้ง 3 มื้อ เน้นกินอาหารที่ประกอบไปด้วย ธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ ตับ ไข่ ทั้งผัก ผลไม้ ควรกินเป็นประจำ ดื่มนม รสจืดวันละ 2-3 แก้ว ถ้ามีน้ำหนักเกิน ควรดื่มนมพร่องมันเนย
          และควรหลีกเลี่ยงลูกอมขนมหวาน น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว อาหารรสจัด และอาหาร ฟาสฟู๊ด เพราะจะมีผลเสียต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และก่อให้เกิดโรคตั้งแต่ วัยเด็ก เช่นโรคอ้วน โรคเบาหวาน
          วัยทำงาน วัยนี้มักมีปัญหาเรื่องของ น้ำหนักตัวมาก ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยควบคุมปริมาณการกินอาหารลดอาหารที่มีไขมัน และคลอเลสเตอรอลสูง และหมั่นออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนัก
          วัยสูงอายุ ควรเลือกกินอาหารให้เหมาะสม ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นอาหารที่ย่อยง่ายได้สารอาหารครบถ้วน เช่น ปลา ผักใบเขียว ผลไม้รสไม่หวานจัด ลดและหลีกเลี่ยงอาหารที่มี ไขมัน เช่น แกงกะทิ อาหารทอด และอาหาร รสจัด และใช้วิธีปรุงอาหาร ประเภท นึ่ง ต้ม ตุ๋น ผู้หญิงสูงอายุที่อยู่ในวัยทองควรดื่มนมพร่องมันเนย หรือกินปลาเล็กปลาน้อย เพื่อเสริมแคลเซียมให้ร่างกาย
          วิธีง่ายๆ เพื่อปรับปลี่ยนพฤติกรรม ในการใช้ชีวิต เริ่มได้ด้วยตัวเองตั้งแต่ วันนี้ รับรองว่าปีหน้าฟ้าใหม่คุณจะเปลี่ยน ไปเป็นคนที่สุขภาพแข็งแรง และห่างไกล โรคร้าย

pageview  1205831    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved