HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
สยามรัฐ [ วันที่ 04/05/2560 ]
ดึงสื่อ-สังคมหยุดไลฟ์สดฆ่าตัว

          น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวถึง พฤติกรรมเลียนแบบ(copy cat) การไลฟ์สดทำร้ายตัวเองว่า พบว่าบุคคลที่เปราะบาง ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหามากอยู่แล้วจะเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะมีโอกาสเลียนแบบ เพราะอยู่ในสภาวะจิตใจขาดความมั่นคง ซึ่งสื่อหลักและสื่อสังคมจะมีส่วนช่วยได้มาก โดยระมัดระวังนำเสนอข่าวหรือส่งต่อ การนำเสนอข่าวของสื่อจึงเน้นว่า อย่าพาดหัวใหญ่ หรืออ้างเหตุผลเดียวง่ายๆ ต้องให้ความรู้-แหล่งช่วยเหลือ/บริการด้วย เช่นเดียวกับสื่อโซเชียล ไม่ควรส่งต่อเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจออกไปเรื่อยๆ สิ่งที่ควรทำคืออย่าเพิกเฉยหรือนิ่งนอนใจ ให้ใช้ความทันสมัยความรวดเร็วของสื่อสังคมช่วย เหลือผู้ก่อเหตุพูดคุยประวิงเวลา รีบติดต่อ เจ้าหน้าที่หน่วยฉุกเฉินให้เข้าไปแทรกแซงสถานการณ์
          อย่างไรก็ตาม การป้องกันที่ดีที่สุดคือป้องกันแต่ต้นทาง โดยใช้ หลัก 3 ส ช่วยให้กลุ่มเสี่ยงเข้าสู่ระบบบริการก่อนที่จะมาเป็นปัญหาไลฟ์สดได้แก่ 1.สอดส่องมองหา ผู้ใกล้ชิดที่มีสัญญาณฆ่าตัวตายคือ ซึมเศร้า มีประวัติฆ่าตัวตาย และแสดงถึงความต้องการฆ่าตัวตาย 2.ใส่ใจรับฟังคนรอบข้างที่มีความเสี่ยง 3.ส่งต่อเชื่อมโยง ให้ผู้เชี่ยวชาญสุขภาพจิตช่วยดูแล หากการพูดคุยเจรจาไม่ได้ผล สำหรับผลกระทบกับเด็กที่อยู่ในเหตุการณ์ ต้องได้รับการช่วยเหลือ ตั้งแต่ประเมินจิตใจ ประเมินสภาวะครอบครัวเพื่อดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป

pageview  1205142    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved