HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
บ้านเมือง [ วันที่ 25/06/2556 ]
'โภชนาการในผู้ป่วยเบาหวาน'

 ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารที่มีทั้งชนิด และปริมาณที่เหมาะสม ตรงตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้รับสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และพลังงานที่สมดุลกับการใช้แรงงาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนควรให้ความสนใจ และพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกชนิด และปริมาณอาหารที่เหมาะสม
          ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนอาหารได้หลากหลาย เพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซากจำเจ และให้มีความสุขในการรับประทานอาหารมากขึ้น โดยสลับเปลี่ยนหมุนเวียนในอาหารหมู่เดียวกัน ในปริมาณที่มีพลังงานเทียบเท่ากัน
          อาหารผู้ป่ายเบาหวานนั้น อาจแบ่งง่ายๆ เป็น 3 ประเภทคือ
          ประเภทที่ 1 ห้ามรับประทาน ได้แก่ อาหารน้ำตาล และ ขนมหวาน เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ลอดช่อง อาหารเชื่อม เค้ก ช็อกโกแลต ไอศกรีม และขนมหวานอื่นๆ เครื่องดื่ม เครื่องดื่มประเภท น้ำอัดลม น้ำเขียว น้ำแดง โอเลี้ยง เครื่องดื่มชูกำลัง นมข้นหวาน น้ำเกลือแร่ น้ำผลไม้ซึ่งมีน้ำตาลประมาณ 8-15% เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นน้ำมะเขือเทศ มีน้ำตาลประมาณ 1%
          ควรดื่มน้ำเปล่า น้ำชาไม่ใส่น้ำตาล ถ้าดื่มกาแฟ ควรดื่มกาแฟดำ ไม่ควรใส่น้ำตาล นมข้นหวาน หรือครีมเทียม เช่น คอฟฟี่เมท (คอฟฟี่เมทประกอบ ด้วยน้ำตาลกลูโคส 58% น้ำมันปาล์ม 33%+) ควรใส่นมจืดพร่องไขมัน หรือน้ำตาลเทียมแทน ถ้าดื่มนม ควรดื่มนมจืดพร่องไขมัน สำหรับนมเปรี้ยว ส่วนใหญ่ไม่ใช่นมพร่องไขมัน และมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณ 15%
          ถ้าดื่มน้ำอัดลม ควรดื่มน้ำอัดลมที่ใส่น้ำตาลเทียม เช่น เป็ปซี่แมกซ์ ไดเอทโค้ก เป็นต้น
          1.แอสปาแทม ชื่อการค้าว่า อีควล (Equal) หรือไดเอต จำหน่าย เป็นเม็ด และเป็นซอง แอสปาแทม 1 เม็ด ให้พลังงาน 2 กิโลแคลอรี่ ข้อห้ามคือ ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นฟีนิลคีโตนยูเรีย (phenylketonuria) โรคนี้พบน้อยในเมืองไทย และถ้าเป็นโรคนี้จะได้รับการวินิจฉัยโรคตั้งแต่วัยเด็ก
          2.แซคคารียน (saccharin) หรือขัณฑสกรชื่อทางการค้าว่าสวีทแอนด์โลว์ (sweet and low) ไม่มีสารอาหาร มีการศึกษาว่าเกิดมะเร็งกระเพาะน้ำตาลเทียมที่มีในปัจจุบันมี 3 ประเภท คือ ปัสสาวะในหนู แต่ต้องใช้ปริมาณสูงมาก สำหรับในคนยังไม่มีหลักฐานว่าทำให้เกิดมะเร็ง
          3.น้ำตาลฟรุคโตส หรือชอร์บิทอล เป็นน้ำตาลจากผลไม้ มีสารอาหารเท่ากับน้ำตาล จึงไม่ควร รับประทานน้ำตาลชนิดนี้ เพราะอาจเข้าใจผิดว่าไม่มีสารอาหาร
          ประเภทที่ 2 รับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน ได้แก่ ผักใบเขียวทุกชนิด เช่น ผักกาด ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ถั่วงอก ทำเป็นอาหาร ตัวอย่าง เช่น ต้มจืด ยำ สลัด ผัดผัก เป็นต้น อาหารกลุ่มนี้มีสารอาหารต่ำ นอกจากนั้นยังมีกากอาหารที่เรียกว่าไฟเบอร์ ซึ่งทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง
          ประเภทที่ 3 รับประทานได้แต่จำกัดจำนวน ได้แก่ อาหารพวกแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ปัจจุบันอาหารพวกแป้งนั้นไม่จำกัดจำนวน ถ้าผู้ป่วยไม่อ้วนมาก เนื่องจากลดอาหารจำพวกแป้ง ทำให้ต้องเพิ่มอาหารพวกไขมัน ซึ่งอาจเป็นผลให้ระดับไขมันสูงและเพิ่มเนื้อสัตว์ทำให้หน้าที่ของไต เสียไปเร็วขึ้น
          ข้อมูลจากพ.ญ.อยุทธินี สิงหโกวินท์ อายุรแพทย์โรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ ศูนย์ เบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลพญาไท 2/http://www.phyathai.com


pageview  1205868    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved