HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
ไทยโพสต์ [ วันที่ 09/03/2555 ]
น้ำอัดลม-น้ำมะนาว-มะเขือเทศ มีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการเสียวฟัน

           หนุ่มๆ สาวๆ ไทยรุ่นใหม่หันมาใส่ใจกับสุขภาพฟันกันมากขึ้น เพราะถือเป็นอวัยวะส่วนหนึ่ง ที่ช่วยส่งบุคลิกหน้าตาให้สวยหล่อชวนมองได้ ทญ.ดร.เรวดี มีวศิน หมอฟันขวัญใจอเมริกันชนประจำอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีคำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพฟันมาฝาก โดยเฉพาะเรื่องของอาการ “เสียวฟัน” ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ฟันคุณมีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว และจากผลการสำรวจพบว่า คนไทยกว่าร้อยละ 69 เผชิญอาการ “เสียวฟัน” อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน!  ซึ่งปัจจุบันก็มียาสีฟันสำหรับลดอาการเสียวฟันขึ้นโดยเฉพาะอย่าง “เซ็นโซดายน์”
          คุณหมอเรวดีบอกว่า อาการเสียวฟันโดยทั่วไปเกิดจากการกระตุ้นของสิ่งเร้า อาทิ ความร้อน ความเย็น ความหวาน ไปกระทบประสาทฟันผ่านเนื้อฟันที่ถูกเปิดออก และมีท่อเนื้อฟันซึ่งเป็นรูเล็กๆ มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น  บางคนอาจเกิดอาการเสียวฟันชั่วครั้งชั่วคราว หรือเป็นๆหายๆ เกิดจากการก่อตัวของหินปูน เมื่อทันตแพทย์ขูดออกแล้วปัญหาเสียวฟันก็อาจหายไปได้  แต่ถ้ายังไม่หายไป นั่นแปลว่าอาการเสียวฟันของคุณ เนื่องมาจากเนื้อฟันถูกเปิดออก ซึ่งต้องจัดการกับอาการเสียวฟันอย่างถูกวิธี ตามหลักทันตกรรมสากล วิธีง่ายสุดคือ การใช้ยาสีฟันสำหรับลดอาการเสียวฟันโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีสารประกอบช่วยลดอาการเสียวฟัน เช่น โปแตสเซียมไนเตรต, แคลเซียม โซเดียม ฟอสโฟซิลิเกด หรือสตรอนเตียม คลอไรด์ เมื่อแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีสารดังกล่าว ก็จะไปอุดรูเล็กๆ ที่ปรากฏอยู่บนเนื้อฟันที่เปิดออก เพื่อปิดกั้นประสาทฟันจากการกระตุ้น
          สำหรับปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการเสียวฟัน คุณหมอเรวดีบอกว่า มีทั้งเรื่องของอายุ ซึ่งตามสถิติพบว่า คนในช่วงวัย 20 ถึง 40 ปี จะมีความเสี่ยงมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มซึ่งมีส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดอาการเสียว เช่น มะนาว น้ำอัดลม และมะเขือเทศ อาหารเหล่านี้จะกัดเซาะเคลือบฟัน ทำให้เนื้อฟันถูกเปิดออก จนเกิดอาการเสียวฟันในที่สุด โดยเฉพาะคนที่ชอบดูดน้ำมะนาวสดๆ ดังนั้น เมื่อเกิดอาการเสียวฟัน นอกจากหันมาใช้ยาสีฟันสำหรับลดอาการเสียวฟันแล้ว ควรหมั่นไปพบทันตแพทย์เป็นประจำทุกๆ 6 เดือนเพื่อตรวจเช็กสุขภาพฟันและช่องปาก เพราะถึงแม้ว่าอาการเสียวฟันโดยทั่วไปอาจไม่อันตราย แต่บางกรณีอาจเป็นอาการเบื้องต้นที่นำไปสู่โรคทางทันตกรรมที่ร้ายแรงขึ้นก็ได้


pageview  1205005    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved