HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
ไทยโพสต์ [ วันที่ 28/11/2556 ]
โบกมืออำลามะเร็งเต้านม ด้วยการปรับ'นาฬิกาชีวิต'
  ท่ามกลางปัญหาหนักอกหนักใจของคุณสาวๆ เกี่ยวกับ "อกไซส์บิ๊ก" ที่อาจทำให้พวกเธอดูแก่เร็วขึ้นนั้น แต่ผลการวิจัยที่น่าตกใจล่าสุดกลับออกมา บอกว่า เนื้อเยื่อบริเวณเต้านมจะเป็นอวัยวะที่เหี่ยวย่นได้เร็วกว่าอวัยวะส่วนอื่นๆ บนร่างกาย ผลการวิจัยยังได้ค้นพบว่านาฬิกาชีวิตที่ฝังอยู่ในข้อมูลทางพันธุกรรม หรือที่เรียกกันว่า "จีโนม" นั้น เป็นตัวบอกถึงอายุและกระบวนการที่จะช่วยชะลอวัยให้กับผู้หญิงในแต่ละคนได้อีกด้วย
          ศ.สตีฟ โฮร์เวต ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์ ผู้สร้างแผนที่นาฬิกาชีวิตกล่าวว่า "แผนที่นาฬิกาลดริ้วรอยนี้มีชื่อว่า "ไบโอมาร์กเกอร์" จะแสดงการบอกตำแหน่งทั่วร่างกาย เพื่อนำไปสู่การชะลอวัยให้ลดลงถึง 4 ปี ซึ่งวัตถุประสงค์ในการประดิษฐ์นาฬิกาชีวิตนี้ขึ้นมาก็เพื่อให้เหล่าบรรดานักวิทยาศาสตร์เข้าใจถึงปัจจัยที่ช่วยชะลอความแก่ของมนุษย์นั่นเอง"
          เนื่องจากมีข้อมูลที่น่าสนใจจากผู้เชี่ยวชาญในวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียออกมาระบุว่า "เนื้อเยื่อบริเวณหน้าอกของผู้หญิงนั้นเป็นอวัยวะที่เหี่ยวย่นหรือเสื่อมสภาพได้เร็วกว่าอวัยวะส่วนอื่นๆ ในร่างกาย 2-3 ปี ดังนั้นเพื่อต่อสู้กับริ้วรอยจึงถือเป็นครั้งแรก ที่เราทำไปจุดประสงค์หลักคือ การตรวจวัดความแข็งแรงรอบๆ หน้าอก เพื่อเรียกความกระชับและอ่อนเยาว์ และป้องกันมะเร็งเต้านมให้กับคุณสาวๆ ไปพร้อมๆ กัน"
          รูปแบบการทำงานของนาฬิกาชีวิตดังกล่าวนั้น เป็นการสร้างยีนหรือภูมิคุ้มกันมะเร็งเต้านมที่มีชื่อว่า "เอเมทิเลชั่น" ซึ่งเป็นยีนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เพียงแค่จัดสรรเวลาในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม
          เนื่องจากเขาได้ค้นพบข้อมูลสำคัญที่ผ่านการคัดกรองจากกลุ่มตัวอย่าง 8,000 คน โดยการเก็บข้อมูลเซลล์เนื้อเยื่อทั่วร่างกายของมนุษย์กว่า 51 ชนิด ว่าหากคุณสาวๆ ปรับนาฬิกาชีวิตให้เหมาะสมแล้วละก็ ไม่เพียงแค่ร่างกายจะผลิตยีน หรือภูมิคุ้มกันโรคมะเร็งร้ายดังกล่าว แต่ยังสร้างสุขภาพให้แข็งแรงสดใสเต่งตึง ชนิดที่การศัลยกรรมหน้าอกต้องหลบชิดซ้ายอีกด้วย
          ซึ่งนาฬิกาชีวิตที่ได้รับการคิดค้นขึ้นมานี้ถูกออกแบบให้มีทั้งหมด 353 เครื่องหมายทั่วร่างกาย ที่นำไปสู่การเรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของอายุจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ขณะเดียวกันก็บอกทิศทางการลดลงของอายุ ที่น่าสนใจไปกว่านั้น ศ.โฮร์เวตยังค้นพบอีกว่า "อายุตั้งแต่ก่อนจนถึงหลังคลอดมีผลต่อการสร้างระดับดีเอ็นเอต้านมะเร็งและความอ่อนเยาว์ดังกล่าว เพราะนาฬิกาชีวิตจะเดินอย่างรวดเร็วตั้งแต่คลอด และจะหยุดลงเมื่ออายุ 20 ปี ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเป็นสาวน้อยวัย 12 ปี หรือสาวใหญ่วัย 36 ปีแล้วล่ะ คุณก็อาจเต้านมเหี่ยวย่นหรือมีโอกาสโรคมะเร็งร้ายได้พอๆ กัน.

pageview  1205848    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved