HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
ไทยโพสต์ [ วันที่ 04/07/2556 ]
เตือนสาวๆ เสี่ยงกระดูกพรุน เร่งเสริมแคลเซียมป้องกันก่อนสาย

 รายงานของ องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าโรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขอันดับสองรองจากโรคหัวใจและหลอดเลือดจากการรวบรวมข้อมูล ประชากรทั้งโลกพบว่าโรคกระดูกพรุน เกิดขึ้นได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะมวลกระดูกของผู้หญิงมีน้อยกว่า และเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนจะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ช่วยทำให้แคลเซียมมาจับเนื้อกระดูก ส่งผลให้กระดูกบางลง โดยผู้หญิงมีโอกาสกระดูกหักจากโรคนี้มากถึง 30-40%ในขณะที่ผู้ชายมีโอกาส เพียง 13% เท่านั้น สำหรับในประเทศไทย หากผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนเกิดข้อสะโพกหัก 1 ปี มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 17% จากข้อมูลดังกล่าว โรคกระดูกพรุน จึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆที่คุณมองข้ามอีกต่อไป
          นายแพทย์วีรชัย ชื่นชมพูนุช ผู้บริหารนิรันดาคลินิก ศูนย์ความงามครบวงจร ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนว่า โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่กระดูกสูญเสียเนื้อกระดูก และโครงสร้างของกระดูกผิดไป เนื่องจากแคลเซียมในกระดูกลดลง ทำให้กระดูกพรุน มีความเปราะบาง เกิดการหักได้ง่าย อาการสำคัญฦของโรค ได้แก่ ปวดตามกระดูกส่วนกลางที่รับน้ำหนัก เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และอาจมีอาการปวดข้อร่วมด้วย ต่อมาความสูงของลำตัวจะค่อยๆลดลง หลังจะโก่งค่อม หากหลังโก่งค่อมมากๆ จะทำให้ปวดหลัง เคลื่อนไหวลำบาก ส่งผลต่อบุคลิกภาพ ระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหารถูกรบกวน ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ท้องอืดเฟ้อ และท้องผูกเป็นประจำ โรคแทรกซ้อนที่อันตรายที่สุดของกระดูกพรุน คือ กระดูกหัก หากกระดูกสันหลังหัก จะเกิดอาการปวดมาก จนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
          "โดยปกติกระดูกของคนจะมีความแข็งเหมือนหินหรือเหล็ก เพื่อให้อวัยวะต่างๆยืดเกาะ กระดูกของคนเรา ประกอบไปด้วยโปรตีนคอลลาเจน ซึ่งสร้างยึดโยงกัน โดยมีเกลือแคลเซียม ปอสเฟส เป็นสาร ที่ทำให้กระดูกแข็งแรง และทนต่อแรงดึงรั้ง เกลือแคลเซียมจะอยู่ในร้อยละ 99 และอยู่ในเลือดร้อยละ 1 ปกติกระดูกของคนฃจะมีการสร้างมากกว่าการสลาย ทำให้กระดูกของเด็กมีการเจริญเติบโตและแข็งแรง กระดูกจะใหญ่ขึ้นจนกระทั่งอายุ 30 ปี และเริ่มสลายมากกว่าการสร้างทำให้เนื้อกระดูกเริ่มลดลง ในวัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีระดับลดลงอย่างรวดเร็วทำให้อัตราการสลายของกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กระดูกลดลงและเกิดภาวะกระดูกพรุนในที่สุด"
          นายแพทย์วีรชัย กล่าวต่อว่า สตรีที่อยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือน หรือย่างเข้าสู่ช่วงวัยทองไปแล้ว เป็นกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงสูงสุด อีกทั้งผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้ คนผอมมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนอ้วน คนที่มีภาวะทุโภชนาการ เช่น กินอาหารไม่ครบสัดส่วน สูบบุหรี่ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ามีวิธีรักษาโรคนี้หายขาดมีเพียงแค่หยุดยั้งการสูญเสียมวลกระดูก และรักษาอาการกระดูกหักเท่านั้น การตรวจภาวะกระดูกพรุน จะตรวจหาภาวะกระดูกพรุน จะตรวจโดยเครื่องมือความหนาแน่นของมวลกระดูก เครื่องเอ็กเรย์ธรรมดาทั่วไปไม่สามารถวัดหาปริมาณความหนาแน่นของมวลกระดูกได้
          "แคลเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญในการเสริมสร้างมวลกระดูก แต่จากการศึกษาพลกว่าปริมาณแคลเซียมที่คนไทยได้รับต่อวันเฉลี่ยประมาณ 384 มิลลิกรัม ซึ่งต่ำกว่าปริมาณที่แนะนำ คือ 800-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุด้วย โดยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี ควรได้รับปริมาณแคลฃเซียมสูงประมาณ 1,200 มิลลิกรัมต่อว่าเพื่อช่วยสร้างเนื้อกระดูก ในวัยผู้ใหญ่ 20-59ปี ปริมาณแคลเซียมที่ต้องการ คือ 800 มิลลิกรัม ส่วนในอายุโดยเฉลี่ยต้องการประมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
          วิธีที่จะหลีกเลี่ยงการเป็นโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุด คือ การเร่งสร้างและสะสมมวลกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่วัยเด็ก จนอายุ 20-30 ปี ให้มีมวลกระดูกหนาแน่นที่สุด หลังจากนั้นจะต้องรักษามวลกระดูกไว้ไม่ให้ลดลงมากเกินไป ทำได้โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง อาทิ นมและผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิด ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งฝอย ผักใบเขียว โดยเฉพาะผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ผักกาดเขียว ผักบรอคโคลี่ เป็นต้น รวมทั้งควรให้ร่างการสัมผัสกับแสงแดดอ่อนๆบ้าง เพื่อสร้างเสริมวิตามินดี ซึ่งมีประโยชน์ในการทำให้แคลเซียมจับกับกระดูกได้ดียิ่งขึ้น" นายแพทย์วีรชัย กล่าวสรุป
          นายกฤช เมธาธราริป ผู้จัดการทั่วไป คอนซูมเมอร์ เฮลท์แคร์ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและวิตามิน แบรนด์ แคลเทรด พลัส (Caltrate Plus) เสริมว่า จากสภาพการมช้ชีวิตในปัจจุบัน พบว่า ในผู้หญิงวัยทำงานหรือสาวออฟฟิศ ที่มีความเร่งรีบจากการทำงาน ขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมถึงความกังวลเรื่องรูปร่างและมักจะจำกัดปริมาณอาหาร อาจทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะคลเซียมและวิตามินดี ซึ่งมำให้เลี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ ดังนั้นการบริโภคแคลเซฃียมเสริม จึงเป็นอีกทางตัวช่วยหนึ่ง ที่จตะช่วยสร้างและบำรุงให้กระดูกแข็งแรง ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่ว และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างคล่องตัว
          "เพื่อให้สาวๆ รวมทั้งผู้รักสุขภาพได้รู้จักกระดูกของตัวเอง ว่ากำลังเสี่ยงกับภาวะกระดูกพรุนหรือไม่ คลเทรต พลัส จึงได้จัดงาน Caltrate Plus-Time to Move ขึ้นเพื่อให้สาวๆได้มาทดสอบการเคลื่อนไหวและตรวจวัดมวลกระดูก โดยจะมีการจำลองเครื่องเล่นที่สามารถทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกของสาวๆ อาทิ หน้าผาจำลอง, แทรมฌพลีน, การปั่นจักรยาน ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้เชิญแพทย์ผู้มีความรู้ด้านกระดูกมาให้คำแนะนำแก่สาวๆในงานอีกด้วย"
          พบกับสาระความรู้เรื่องเกี่ยวกับกระดูกพร้อมมาตรวจวัดมวลกระดูก และทดสอบการเคลื่อนไหว ได้ที่งาน "Time to Move ขยับ สนุก กระดูกแข็งแรง" ระหว่างวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2556 ณ ลานหน้าเซ็นทรัลเวิลด์


pageview  1205868    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved