HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
ไทยโพสต์ [ วันที่ 08/08/2561 ]
10กม.ลูกพ.ร.บ.นมผงเพิ่มฉลากแสดงปริมาณใช้

กรมอนามัยออก 10 กม.ลูก พ.ร.บ.นมผง  หนุนเด็กกินนมแม่มากที่สุด ให้ผู้ผลิตทำฉลากแสดงปริมาณใช้นมผงต่อเดือน พร้อมข้อควรระวัง ห้ามผู้ผลิตตัวแทนจำหน่ายให้ของขวัญ-เงินแก่บุคลากร สธ.  เว้นโอกาสพิเศษไม่เกิน 3 พันบาท
          นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงการออกกฎหมายลูกใน พ.ร.บ.ควบคุมการ ส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560 ว่า หลังจากมีการบังคับใช้ พ.ร.บ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอา หารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560 หรือ พ.ร.บ.นมผง ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย.2560 แต่ต้องมีการออกกฎหมายลำดับรองหรือกฎหมายลูกมารองรับ โดยมีทั้งหมด 10 ฉบับ และออกมาครบทั้งหมดแล้ว เพื่อส่งเสริมให้เกิดการกินนมแม่ มากที่สุด คือ 1.การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 2.การแต่ง ตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ 3.กำหนดแบบบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ 4.การ จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับอาหารสำ หรับทารก 5.การให้ข้อมูลอาหาร สำหรับทารก อาหารสำหรับเด็กเล็ก และอาหารเสริมสำหรับทารก แก่บุคลากรด้านสาธารณสุข 6.การ ให้ตามประเพณีแก่บุคลากรด้านสาธารณสุข 7.การสนับสนุนองค์ กรวิชาชีพด้านสาธารณสุขและสถาบันอุดมศึกษาที่สอนเกี่ยวกับสุขภาพแม่และเด็ก จัดประชุม อบรม สัมมนา เกี่ยวกับอาหารสำหรับทารก อาหารสำหรับเด็กเล็ก และอาหารเสริมสำหรับทารก 8.การบริจาคอาหารสำหรับทารก อาหารสำหรับเด็กเล็ก แก่หน่วย บริการสาธารณสุข 9.การทำลาย เอกสาร สื่อโฆษณา ที่ได้ยึดหรืออายัด และ 10.หลักเกณฑ์การ เปรียบเทียบปรับ
          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำ หรับประเด็นที่น่าสนใจของประ กาศกฎหมายลูกดังกล่าว คือ 1.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข รายละเอียดการจัดทำข้อมูล และช่องทางในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารสำหรับทารก พ.ศ.2561 กำหนดให้ผู้ผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ต้องแสดงปริมาณในการใช้อาหารสำหรับทารกและข้อมูลค่าใช้จ่าย โดยทารกอายุแรกเกิดถึง 3 เดือน ต้องใช้นมผงเฉลี่ย 2.7 กิโลกรัมต่อเดือน ส่วนทารก 3-6 เดือน ต้องใช้นมผงเฉลี่ย 4.5 กิโลกรัมต่อเดือน ดังนั้นต้องระบุทั้งหมดลงในฉลากทั้งหมด ทั้งนมผง 1 บรรจุภัณฑ์ (กล่อง/กระป๋อง) มีปริมาณเท่านี้กิโลกรัม จะต้องใช้ผลิตภัณฑ์กี่บรรจุภัณฑ์ต่อเดือน และใช้เงินเท่าไรต่อเดือน และต้องมีข้อควรระวังจากการเตรียมหรือการใช้อาหารสำ หรับทารก
          2.ประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่อง หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ประกอบการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารสำหรับทารก อาหารสำหรับเด็กเล็ก หรืออาหารเสริมสำหรับทารกแก่บุคลากรด้านสาธารณสุข พ.ศ.2561 กำหนดให้ การให้ข้อมูลแก่บุคลากรสาธารณสุข ต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ ซึ่งมาจากแหล่งข้อมูล
          3.ประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธี การ และเงื่อนไขการให้ตามประ เพณีหรือธรรมจรรยาแก่บุคลากรด้านสาธารณสุข พ.ศ.2561 กำ หนดชัดว่า ห้ามผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้จำหน่าย หรือตัวแทน ให้ของขวัญ เงิน สิ่งจูงใจ แก่บุคลากรด้านสาธารณสุข เว้นแต่เป็นการให้กันในโอกาสต่างๆ โดยต้องมีราคาไม่เกิน 3 พันบาท โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจะต้องทำการใดตอบแทน และไม่มีสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับอาหารสำหรับทารก อาหารสำหรับเด็กเล็ก หรืออาหารเสริมสำหรับทารก
          4.ประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสนับสนุนองค์กรวิชาชีพด้านสาธารณสุข และสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพแม่และเด็ก ในการจัดประชุม อบรม หรือสัมมนาด้านวิชาการเกี่ยวกับอาหารสำหรับทารก อาหารสำหรับเด็กเล็ก หรืออาหารเสริมสำหรับทารก พ.ศ.2561 กำหนดให้การสนับสนุนการจัดประชุม ต้องไม่มีเงื่อนไขผูกมัด เพื่อการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ สามารถสนับสนุนเงินเพื่อใช้ในการจัดทำสิ่งของ อุปกรณ์ประกอบการประชุม และค่าใช้จ่ายของวิทยากรตามความเหมาะสมและจำเป็นได้ การสนับสนุนการไปประชุมของบุคลากรด้านสาธารณสุขโดยผ่านองค์กรวิชาชีพหรือสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพแม่และเด็ก สามารถสนับสนุนได้เฉพาะค่าเดินทาง ค่าลงทะเบียน ค่าอาหาร และค่าที่พักสำหรับเฉพาะตัวบุคลากร และจำกัดเฉพาะช่วงเวลาของการประชุม
          และ 5.ประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการบริจาคอาหารสำหรับทารกหรืออาหารสำหรับ เด็กเล็กที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ และการบริจาคในกรณีจำเป็นแก่หน่วยบริการสาธารณสุข พ.ศ.2561 สามารถบริจาคให้สถานพยาบาลที่มีทารกหรือเด็กเล็กซึ่งเป็นผู้ป่วยเฉพาะโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก แพ้โปรตีนนมวัวรุนแรง ลำไส้ล้มเหลวทุพโภชนาการระดับสาม (รุนแรง) หรือทารกเกิด ก่อนกำหนดที่ต้องได้รับอาหารเสริมนมแม่สำหรับทารกเกิดก่อน กำหนด กรณีจำเป็นสามารถบริจาคให้แก่องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรและดำเนินกิจกรรมด้านแม่และเด็กที่มีทารกซึ่งเป็น กำพร้า หรือทารกที่แม่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ว่าไม่สามารถให้นมบุตรได้.


pageview  1205119    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved