HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันที่ 25/04/2555 ]
ความผิดปกติทางเพศในผู้หญิง

รศ.นท.ดร.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล คลินิกสุขภาพชายโรงพยาบาลรามาธิบดี
          เมื่อผู้หญิงได้รับการวินิจฉัยโรคความ ผิดปกติทางเพศหญิง (FSD) ควรหาสาเหตุเพื่อเลือกแนวทางของการรักษาด้วยการบำบัดทางจิตหรือใช้วิธีทางเภสัชวิทยา
          ทั้งนี้การเลือกวิธีการรักษาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ป่วยและสาเหตุ ของโรค  อาจแนะนำส่งเสริมให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงจากการมีกิจกรรมทางเพศที่ทำเป็นประจำ  เมื่อประเด็นของความปรารถนาทางเพศและการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศได้ถูกระบุ  อาจแนะนำเรื่องการโป๊เปลือยอย่างเหมาะสมหรือของกระจุกกระจิกทางเพศมาใช้ในการร่วมเพศ
          สำหรับผู้หญิงบางคนอาจจะมีปัญหาความเครียดเนื่องจากเวลาใกล้ชิดหรือการมีเพศสัมพันธ์ไม่เหมาะสม อาจแนะนำให้ทำเวลานัดหมายกับคู่นอนสำหรับการมี กิจกรรมทางเพศ
          การออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (kegels) สามารถทำได้ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์และทำเป็นประจำเพื่อเพิ่ม ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความแรงของการถึงจุดสุดยอด และแก้ไขการรั่วไหลของปัสสาวะ ตลอดจนช่วยในการตอบสนองทางเพศส่วนบุคคล
          นอกจากนี้มีตำราหรือหนังสือมากมาย สำหรับการเผชิญปัญหาความผิดปกติทางเพศของผู้หญิงที่น่าศึกษาไว้   ถ้าทั้งผู้ป่วยและคู่นอนได้รับการรักษาร่วมกันจะเพิ่มระดับการรับรู้ปัญหาของทั้งสองฝ่าย
          สำหรับอุปกรณ์บำบัดด้วยความรักเพื่อกระตุ้นบริเวณคลิตอริสได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2000 สำหรับการรักษาโรคความผิดปกติของการกระตุ้นอารมณ์เพศและการถึงจุดสุดยอดของผู้หญิง
          อุปกรณ์ดังกล่าวจะดูดคลิตอริสเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและการคั่งของเลือด และสามารถใช้ในการส่งเสริมการกระตุ้นก่อนจะมีเพศสัมพันธ์หรือการช่วยเหลือตัวเอง
          การทดลองทางคลินิกแสดงว่าการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศและการถึงจุดสุดยอดดีขึ้นในผู้หญิง ถึงแม้จำนวนของผู้ป่วยในการศึกษาทั้งหมดจะมีขนาดเล็ก
          เนื่องจากอาจมีการใช้อุปกรณ์ไปในทางที่เข้าใจผิดหรือผิดวัตถุประสงค์ขึ้นได้ คือใช้อุปกรณ์แทนความสนิทสนมหรือความสัมพันธ์ระหว่างคู่นอน   ทำให้เกิดข้อเสียสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาของพื้นฐานความสัมพันธ์อยู่แล้ว
          แพทย์จะส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการบำบัดโรคทางเพศในกรณีผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาและมีความผิดปกติเป็นระยะเวลานานและมีหลายปัญหา เช่น มีการละเมิดทางเพศหรือมีความผิดปกติทางจิตมาก่อน.
 


pageview  1205015    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved