HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันที่ 21/01/2557 ]
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  รศ.น.ท.ดร.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล คลินิกสุขภาพชาย หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
          ส่วนปัจจัยเสี่ยงของทั้งผู้ชายและผู้หญิงประกอบด้วย
          - มีการรบกวนการไหลของปัสสาวะเช่นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะหรือในผู้ชายซึ่งมีต่อมลูกหมากโต ทำให้ไม่สามารถปัสสาวะออกได้หมด บางภาวะอาจทำให้มีอาการเหมือนกับกระเพาะปัสสาวะอักเสบเช่นต่อมลูกหมากอักเสบ และท่อปัสสาวะอักเสบ
          - ระบบภูมิคุ้มกันเปลี่ยนแปลง อาจเกิดขึ้นได้เช่น โรคเบาหวาน การติดเชื้อโรคเอดส์ (HIV) การรักษามะเร็ง ระบบภูมิคุ้มกันลดลงอาจเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียและในบางกรณีรวมทั้งการติดเชื้อของไวรัสของกระเพาะปัสสาวะ
          - ท่อสายสวนปัสสาวะมีความจำเป็นในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังหรือผู้สูงอายุ การใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลานานอาจเป็นผลให้เพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อของแบคทีเรียและทำลายเนื้อเยื่อของกระเพาะปัสสาวะ
          - ในกรณีที่มีการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ โดยเฉพาะในเด็กชายหรือผู้ชายที่เป็นหนุ่ม ควรมีการตรวจสอบว่ามีความผิดปกติแต่กำเนิดของกายวิภาคของระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งทำให้ไม่ให้ปัสสาวะออกได้หมดหรือไม่
          อาการที่ปรากฏ หรือสัญญาณเตือน ที่ควรระวังว่ามีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ได้แก่ ปัสสาวะปวดแล้วต้องรีบเข้าห้องน้ำ, ความรู้สึกแสบร้อนหรือปวดขัดเวลาถ่ายปัสสาวะ, ปัสสาวะบ่อยและได้ปัสสาวะเพียงเล็กน้อย, มีเลือดในปัสสาวะ, ปัสสาวะขุ่นและมีกลิ่นเหม็น, ปวดเหนือบริเวณกระดูกเชิงกรานหรือท้องน้อย, มีไข้ต่ำ ๆ
          ในเด็กที่อายุต่ำกว่าห้าปี มักจะมีอาการไม่ชัดเจนเช่นมีอาการเพลีย เบื่ออาหารและอาเจียน ในเด็กอาจจะมีอาการปัสสาวะรดที่นอนที่เกิดขึ้นครั้งใหม่ซึ่งอาจเป็นอาการของระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ โดยเฉพาะการเปียกเกิดขึ้นทั้งกลางคืนและระหว่างวัน หรือเพียงระหว่างวัน ถ้าปัสสาวะรดระหว่างกลางคืนอาจไม่เกี่ยวกับการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
          ผู้หญิงสูงอายุอาจไม่มีอาการ แต่มักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการอ่อนแรง ล้ม สับสนหรือมีไข้
          หลายคนสงสัยว่า แพทย์จะทำการวินิจฉัยกระเพาะปัสสาวะอย่างไร???
          การวินิจฉัยกระเพาะปัสสาวะอักเสบเริ่มแรกขึ้นอยู่กับอาการและอาการแสดง การดูปัสสาวะด้วยตาเปล่าอาจไม่ช่วย การตรวจที่สำคัญมากที่สุดการตรวจทางเคมีวิทยาเช่น การใช้แผ่นแถบตรวจที่เรียกว่า Dipstick จุ่มลงในปัสสาวะซึ่งรวดเร็วและการ ตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ โดยส่งให้ทางห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยให้แบคทีเรียเติบโตและตรวจเชื้อแบคทีเรียได้
          ปัสสาวะที่ส่งตรวจต้องใหม่ นอกจากนี้มีความสำคัญที่ต้องเก็บปัสสาวะให้ถูกวิธีคือผู้หญิงควรแยกแคม (Labia) ด้านนอกระหว่างปัสสาวะเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนแบคทีเรียจากผิวหนังและช่องคลอด และควรปัสสาวะออกไปช่วงหนึ่งก่อนแล้วเก็บปัสสาวะช่วงกลางเพื่อให้ได้ปัสสาวะที่ไม่ปนเปื้อน ถ้ามีการอักเสบแพทย์จะบ่งบอกจำนวนของเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะจากการตรวจด้วยแถบ Dipstick หรือจากกล้องจุลทรรศน์ และถ้าสิ่งเหล่านี้เป็นบวกแพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะให้รับประทานทันทีและรอผลการตรวจเพาะเชื้อชนิดของแบคทีเรีย
          การตรวจดังกล่าวจะช่วยให้ทราบว่ายาปฏิชีวนะ ที่ใช้ไวหรือดื้อต่อแบคทีเรียที่จะตอบสนองต่อการรักษา ในกรณีที่มีการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำอีกครั้ง ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจพิเศษเพิ่มเติมเช่นการตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) หรือคลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจเอกซเรย์พิเศษของระบบทางเดินปัสสาวะหรือการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ.

pageview  1205450    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved