HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันที่ 15/01/2557 ]
'โรคแพ้ตึก' ภัยเงียบในอาคาร ลดสารพิษในอากาศป้องกันได้
  "การเปิดหน้าต่าง ในห้องให้อากาศถ่ายเทเป็นสิ่งที่ง่ายและดีที่สุดทำให้ลด
 
สารพิษได้ ถึงแม้จะมีปัญหาคือฝุ่นเยอะ แต่อย่างน้อยอากาศก็ได้ถ่ายเทและ
 
หมุนเวียน ส่วนในสำนักงานควรต้องเก็บข้าวของให้เรียบร้อยเพื่อสุขภาพที่ดี
 
โดยรวม"
          ปัจจุบันการใช้ชีวิตของคนเมืองนิยมอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียม 
 
อพาร์ตเมนต์ แฟลต ตึกแถว เพราะถูกจำกัดเนื้อที่ และยังต้องทำงานอยู่ใน
 
อาคารสำนักงาน ซึ่งไม่ว่าจะนอนหรือทำงานก็ต้องใช้เครื่องปรับอากาศตลอด
 
เวลาไม่เคยได้สัมผัสหรือรับอากาศธรรมชาติ จนทำให้หลายคนเกิดอาการอ่อน
 
เพลีย ระคายเคืองจมูก มีอาการภูมิแพ้ ซึ่งเราเรียกลักษณะอาการเหล่านี้ว่า 
 
โรคแพ้ตึก นั่นเอง
          ผศ.ดร.นพ.จามร สมณะอาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหา
 
วิทยา ลัยมหิดล อธิบายว่า โรคภูมิแพ้มี 2 ลักษณะ คือ แพ้เพราะเป็นระบบภูมิ
 
คุ้มกันของเราเอง เช่น บางคนแพ้ไรฝุ่นก็จะมีอาการ แต่บางคนไม่แพ้ไรฝุ่นก็
 
จะไม่เป็นอะไร ส่วนการแพ้สารเคมีทุกคนเป็นเหมือนกันหมดคือ จะมีอาการ
 
ระคายเคือง เพราะไม่ใช่ปฏิกิริยาจากระบบภูมิคุ้มกัน แต่เป็นการทำลายเนื้อ
 
เยื่อ ซึ่งสารเคมีไประคายเคืองเนื้อเยื่อโดยตรง
          ปัญหาเรื่องสารพิษหรือสารเคมีในอากาศ ถ้าเป็นคนในชนบทไม่ค่อย
 
มีปัญหา แต่สำหรับคนในเมืองต้องเผชิญกับหลาย ๆ ปัญหา เนื่องจากวัสดุที่
 
ใช้ทำตึกแทบทุกอย่างมันเกิดฝุ่นหรือเกิดไอระเหยได้อยู่แล้ว ส่วนมากเมื่อ
 
เข้าสู่ปอดแล้วไม่ดีต่อสุขภาพ โดยหลัก ๆ ที่พบมาก ได้แก่ ฝุ่นปูน ไอระเหย
 
ของตัวทำละลาย เช่น ตัวสี ตัวเคลือบ น้ำยาเคลือบหนัง และผงไม้จากการทำ
 
เฟอร์นิเจอร์ ฉนวนกันความร้อน ยิปซัม ใยแก้ว หรือฉนวนยิปซัมที่บุผนังยิ่งน่า
 
กลัว
          อย่างไรก็ตาม เมื่อก่อนมีใยหินด้วย เพราะเมืองไทยไม่ได้กวดขันเรื่อง
 
การใช้แร่ใยหินในวัสดุก่อสร้างที่อยู่ในส่วนภายในมากนัก บางทีเรายังพบว่า
 
กระเบื้องมุงหลังคาก็ยังมีแร่ใยหิน ซึ่งแร่ใยหินและแร่ใยแก้วเมื่อสูดเข้าไปใน
 
ปอดแล้วร่างกายกำจัดไม่ออกจะเกิดการอักเสบเรื้อรัง จนในที่สุดปอดเราจะ
 
กลายเป็นพังผืด ทำให้หายใจลำบากและอาการจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่สามารถ
 
รักษาได้ ส่วนระยะเวลาในการรับสารนั้นอยู่ประมาณ 5-10 ปี และสารระเหย
 
จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ซึ่งอาการระคายเคืองมีแบบรู้ตัว คือโดนปุ๊บมี
 
อาการทันที และระคายเคืองแบบไม่รู้ตัว เช่น ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นอะไร ทุก
 
วันมีน้ำมูกไหล น้ำตาไหล คอแดง เป็นหวัดง่าย และเป็นหวัดแล้วหายยาก
          สำหรับอุปกรณ์ที่ติดตั้งในห้องก็มีสารพิษได้อีก อาทิ เครื่องพรินเตอร์ 
 
เครื่องถ่ายเอกสาร เนื่องจากจะมีผงหมึกออกมาได้ ซึ่งผงหมึกจะมีความ
 
ละเอียดมากเมื่อเข้าปอดแล้วร่างกายมักกำจัดไม่ออกอาจจะมีอาการไม่เป็นมาก 
 
แต่ผงหมึกมันจะปล่อยก๊าซโอโซนออกมาด้วย ซึ่งโอโซนในที่นี้ไม่ใช่ดมแล้ว
 
บริสุทธิ์สดชื่น เป็นลักษณะเป็นเหมือนสารฟอกขาว เมื่อโดนโปรตีนในเยื่อบุ
 
ร่างกายเราจะทำให้โปรตีนและไขมันถูกทำลายหมด
          เฟอร์นิเจอร์บ้านก็เช่นกัน มีน้ำยาเคลือบหนัง แล็กเกอร์ที่ทาไม้ ฝุ่นขี้
 
เลื่อยของเฟอร์นิเจอร์ไม้ กาวที่ใช้แปะเฟอร์นิ เจอร์ขึ้นมาซึ่งมีผลทั้งสิ้น และ
 
ยิ่งบ้านไหนใช้วัตถุดิบจากใต้ดินลึก ๆ เช่น ใช้หินอ่อนแกรนิตเยอะ ๆ ซึ่งดู
 
เหมือนเรียบร้อยดีไม่มีอะไร แต่พบว่าถ้าอยู่ในห้องอับจะมีเปอร์เซ็นต์ของก๊าซ
 
เรดอน (Radon) สูง ซึ่งเป็นก๊าซชนิดหนึ่งได้จากการสลายตัวของธาตุ
 
กัมมันตภาพรังสี ทำให้ตัวของมันมีกัมมันตภาพรังสีด้วย ปกติเป็นก๊าซที่หนัก
 
อยู่ในหินแร่ใต้โลก ปัจจุบันเรานำเอาหินอ่อนและหินแกรนิตมาประดับตึกกัน
 
มาก ทำให้มีการปล่อยก๊าซเรดอนพวกนี้ออกมาแต่น้อยมาก ซึ่งถ้าอยู่ในห้องอับ 
 
ๆ จะมีโอกาสได้รับมากขึ้นและเป็นสารก่อมะเร็ง
          ต่อมาเป็นพวก หนังสือ หากเป็นหนังสือเก่า ๆ ไม่น่ามีปัญหา แต่ถ้า
 
เป็นหนังสือใหม่ ๆ มักมีน้ำยาเคลือบสีปก ทำให้มีสารอะคริลาไมด์ 
 
(Acrylamide) ที่เป็นสารก่อมะเร็งและมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทด้วย ปกติแล้ว
 
อะคริลาไมด์เป็นโพลิเมอร์ช่วยทำให้กระดาษมันเงา เวลาใส่ในกระดาษแล้วจะ
 
เหลือจางมาก ๆ ไม่รุนแรง ส่วนหนังสือพิมพ์ไม่ได้มีพิษมาก อาจจะมีกลิ่น
 
น้ำมันของหมึก แต่ที่ต้องระวังคือ ตัวกระดาษถ้าฟอกไม่ดีจะมีสารฟอกขาวตก
 
ค้างทำให้เกิดการระคายเคืองได้
          สารพิษทั้งหมดที่กล่าวมาเกิดจากทางเคมี นอกจากนี้ยังมีสารพิษจาก
 
ทางชีวภาพอีก เช่น ห้องของเราถ้ามีซอกหรือหลืบเยอะจะเป็นที่เก็บฝุ่น และ
 
ยิ่งใช้เครื่องปรับอากาศด้วยก็ยิ่งก่อสารพิษ เพราะเวลาที่เครื่องปรับอากาศพ่น
 
ไอเย็นออกมา เนื่องจากสภาพอากาศเมืองไทยชื้น ตรงไหนเป็นส่วนที่เย็นจะ
 
มีการควบแน่นเกิดหยดน้ำขึ้น ทำให้หยดน้ำไปคลุกกับฝุ่นและมีความชื้นเย็น
 
เป็นประจำ จะทำให้มีรางอก ยีสต์งอก และไรฝุ่นเติบโตได้ดี เป็นสิ่งที่เรามอง
 
ไม่เห็น ทำให้มีผลต่อสุขภาพ สำหรับคนที่แพ้ หรือร่างกายแพ้ง่ายต่อสารเคมี
 
อยู่แล้ว ถ้ามาเจอสารพิษพวกนี้เข้าไปอีกก็จะยิ่งแพ้และเป็นโรคภูมิแพ้ได้ง่าย 
 
ส่วนคนที่ไม่แพ้ก็ไม่มีผลเท่าใดนัก
          ผลเสียของสารพิษต่าง ๆ ทำให้มีอาการหลัก ๆ คือ 1. เกิดการแพ้  2. 
 
เกิดการระคายเคือง 3. ก่อมะเร็ง และ 4. ถ้าเป็นเชื้อโรคสะสมนอกจากจะแพ้
 
แล้วยังทำให้เกิดเป็นโรค เช่น โรคบางชนิดที่มากับเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ใน
 
ระบบความเย็น ทำให้เป็นโรคปอดบวม ปอดอักเสบ บางรายเป็นหนักถึงขั้นติด
 
เชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิตได้ นอกจากนี้พวกเชื้อราที่อาศัยอยู่ในวัสดุก่อ
 
สร้างชื้น ถ้าสปอร์ตกลงไปในปอดอาจทำให้คนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ๆ เช่น 
 
คนแก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจมีราไปงอกในปอดได้
          ฉะนั้นการสังเกตอาการเจ็บป่วยนับว่าสำคัญ ถ้าเรารู้สึกว่าไปบางสถาน
 
ที่แล้วเกิดการระคายเคืองเป็นพิเศษก็สงสัยได้เลยว่าในห้องนั้นอาจจะมีสาร
 
พิษหรือสารที่ทำให้เกิดการแพ้มากระตุ้นให้เราเจ็บป่วย โดยทั่วไปอาการของ
 
การได้รับสารพิษแต่ละสารพิษจะแตกต่างกัน เช่น พวกโอโซน ดมแล้วกลิ่นจะ
 
เหม็นสาบ เปรี้ยว ถ้าโดนตาและจมูกจะแห้งและแสบ สารระเหย ดมเข้าไป
 
จะทำให้น้ำมูก น้ำตาไหล คอแห้ง และถ้าสัมผัสโดยตรงจะทำให้เป็นผื่นแพ้
 
ขึ้นมา แต่ถ้าเป็นอาการภูมิแพ้มีหลายแบบขึ้นอยู่กับแต่ละคน เช่น ถ้าอาการ
 
เล็กน้อยอาจมีแค่จาม น้ำมูกไหล คันตา แต่ถ้าเป็นมากจะมีอาการเป็นหอบหืด 
 
ไอมาก ส่วนถึงขั้นติดเชื้อในปอด ถ้าไม่มีอาการเป็นไข้สูงก็จะมาด้วยอาการ
 
เรื้อรัง ไอเป็นเลือด แต่ถ้าเป็นอาการแบบเรื้อรังนาน ๆ จนก่อมะเร็งไม่สามารถ
 
สังเกตได้จนกว่าจะมีอาการและตรวจพบ
          การป้อง กันในเมื่อมันขึ้นอยู่กับวัสดุก่อสร้างบางทีเราเปลี่ยนไม่ได้ แต่
 
มีวิธีลดความรุนแรง เช่น หากมีความจำเป็นต้องอยู่ในห้องพยายามอย่าเปิด
 
แอร์ทั้งวันทั้งคืน เพราะส่วนมากที่พบผู้ป่วยเป็นหวัดแล้วรักษาไม่หายหรือเป็น
 
โรคภูมิแพ้จะแนะนำให้นอนแบบไม่ต้องเปิดแอร์ แต่เปิดหน้าต่างโล่ง ๆ ไม่
 
ต้องห่มผ้าห่ม ถึงแม้จะรู้สึกว่าลมข้างนอกดูสกปรกเพราะมีฝุ่น แต่ลมแอร์ก็ดูด
 
อากาศจากข้างนอกหรือในห้องหมุนไปมา ซึ่งอากาศข้างนอกมีข้อดีกว่าคือ
 
สามารถเจือจางและนำพาเชื้อโรคที่สะสมในห้องออกไปได้
          หากใครที่อยู่ห้องเวลากลางวันสามารถเปิดแอร์ได้ถ้าอากาศร้อนมาก 
 
ส่วนกลางคืนอากาศเย็นเปิดพัดลมและหน้าต่างก็เพียงพอ ที่สำคัญควรทำ
 
ความสะอาดห้องให้เรียบร้อยไม่เก็บอะไรที่เก็บสะสมฝุ่น โดยเฉพาะพวก
 
อาหารและเครื่องดื่ม เพราะเป็นสิ่งสะสมเชื้อรา เอกสารหนังสือไม่ควรนำเข้า
 
มากองในห้องมากเกินไป เครื่องปรับอากาศควรทำความสะอาดอย่างน้อยปีละ 
 
2 ครั้ง พยายามปรับตัวให้อยู่ในสภาพอากาศอุณหภูมิธรรมชาติให้ได้ ปลูก
 
ต้นไม้ใหญ่ ๆ ไว้รอบบ้านเพื่อบังฝุ่นและแสงแดดทำให้ลดการใช้เครื่องปรับ
 
อากาศลง การเปิดหน้า ต่างในห้องให้อากาศถ่ายเทเป็นสิ่งที่ง่ายและดีที่สุด
 
ทำให้ลดสารพิษได้ ถึงแม้จะมีปัญหาคือฝุ่นเยอะ แต่อย่างน้อยอากาศก็ได้ถ่าย
 
เทและหมุนเวียน ส่วนในสำนักงานควรต้องเก็บข้าวของให้เรียบร้อยเพื่อ
 
สุขภาพโดยรวม
          ส่วนใครที่กำลังมองหาห้องพักควรดูที่การตกแต่งก่อนเช่าหรือซื้อว่า
 
ห้องเพดานสูงเพียงพอหรือไม่  มีประตูหลังห้องระบายอากาศและห้องน้ำมี
 
หน้าต่างระบายความชื้นหรือไม่ เพราะเชื้อโรคก่อตัวได้ดีในห้องน้ำชื้น ๆ แสง
 
ส่องไม่ถึง หรือการปูพรมในห้องก็ไม่ดีเพราะเป็นแหล่งสะสมฝุ่นและไรฝุ่นที่ดี
 
มาก หรือการตกแต่งห้องควรใช้วอลเปเปอร์ผิวเรียบ อย่าใช้ที่เป็นซอกหรือ
 
หลุมมาก ๆ เพราะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและสัตว์ที่ชอบความชื้นทั้งหลาย 
 
หากใครที่ซื้อไปแล้วได้ห้องที่อับก็หากิจกรรมนอกห้องทำให้มากขึ้น เช่น 
 
ออกไปฟิตเนส ออกกำลังกายกลางแจ้งบ้าง ไม่ควรหมกตัวอยู่ในห้องบ่อย ๆ 
 
และจัดเก็บห้องให้สะอาด โล่งโปร่งสบาย พยายามอย่าให้มีข้าวของรกรุงรัง
 
เป็นแหล่งสะสมฝุ่นและเชื้อโรค
          สุดท้ายถึงแม้ว่าการก่อสร้างอาคารตึกจะยังไม่มีกฎหมายควบคุมหรือ
 
กฎข้อบังคับอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็อยากให้ผู้ก่อสร้างออกแบบให้ดีตั้งแต่ต้น 
 
โดยการคำนึงถึงเรื่องสุขภาพและการประหยัดพลังงานด้วย.
          ปลูกต้นไม้ในอาคารช่วยดูดซับสารพิษ
          ผศ.ดร.พัชรียา บุญกอแก้วอาจารย์ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ 
 
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความรู้ว่า ประโยชน์ของต้นไม้ที่เรามักมองข้าม
 
ไปคือต้นไม้ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปล่อยก๊าซออกซิเจน
 
ออกมาสู่บรรยากาศ การนำต้นไม้มาปลูกในอาคารหรือในสำนักงานที่มีสภาพ
 
แสงน้อย สิ่งแรกที่ควรคำนึงคือการเลือกชนิดพืช ควรเป็นพืชที่ปลูกง่าย ทน
 
ต่อสภาพแสงน้อยหรือสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแสงจากหลอดไฟ เช่น 
 
พืชกลุ่มไม้ประดับ ได้แก่ อโกลนีม่า หรือแก้วกาญจนา ว่านหางจระเข้ สาว
 
น้อยประแป้ง พลูด่าง ยางอินเดีย ไทรใบใหญ่ กวักมรกต ตีนตุ๊กแกฝรั่ง ฟิโล
 
ใบหัวใจ เดหลี
          ส่วนไม้ประดับที่มีประสิทธิภาพในการขจัดสารพิษ ช่วยดูดซับสารพิษ 4 
 
ชนิด ประกอบด้วย ฟอร์มาดีไฮด์ ไตรคลอโร-เอทธิลีน เบนซีน และคาร์บอน
 
มอนอกไซด์ในอาคารได้ดีได้แก่ ปาล์มไผ่ สามารถอยู่ในที่มีแสงน้อยได้เป็น
 
เวลานานๆ เขียวหมื่นปี มีความทนทานต่อสภาพที่มีความชื้นต่ำตีนตุ๊กแกฝรั่ง 
 
เยอร์บีร่า มีดอกสีสันสดใส คงทนและอยู่ได้นาน วาสนา จันผาขอบแดง 
 
วาสนาอธิษฐาน เป็นไม้ที่คงทนแม้อยู่ในที่มีแสงน้อย ลิ้นมังกร สามารถอยู่ได้
 
เป็นเดือนโดยไม่ต้องรดน้ำ เบญจมาศ ปลูกเลี้ยงง่าย เดหลี ไม้พุ่มเตี้ยที่คาย
 
ความชื้น และ วาสนาราชินี ออกดอกเป็นช่อสวยงาม
 

pageview  1205893    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved