HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันที่ 31/10/2556 ]
โรคลำไส้แปรปรวนทำให้เกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือไม่ (2)

 

 รศ.นท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศลคลินิกสุขภาพชาย หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
          คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
           สิ่งกระตุ้นซึ่งส่งผลกระทบเฉพาะต่อ ผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนบางคน สำหรับเหตุผลนั้นยังคงไม่ทราบชัดเจน ผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนบางรายอาจมีปฏิกิริยาอย่างรุนแรง  ต่อสิ่งเร้าซึ่งไม่รบกวนผู้ป่วยรายอื่น ๆ สิ่งกระตุ้นสำหรับอาการโรคลำไส้แปรปรวนสามารถทำ ให้เกิดแก๊สหรือความดันในลำไส้ของผู้ป่วย จากอาหารบางอย่าง ยาบางชนิด หรืออารมณ์  ตัวอย่างเช่น อาหาร ผู้ป่วยหลายรายพบว่าอาการและอาการแสดงเลวลงเมื่อรับประทานอาหารบางชนิด ได้แก่ ช็อกโกแลต นม และแอลกอฮอล์  อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกหรือท้องเสีย เครื่องดื่มน้ำอัดลม ผลไม้และผักบางชนิดอาจนำไปสู่ 
          อาการท้องอืดและไม่สบายในช่องท้อง  ยาบางชนิด บทบาทของการแพ้อาหารหรือแพ้ยาในกลุ่มอาการของโรคลำไส้แปรปรวนยังไม่เข้าใจได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้อาจพบว่า ส่วนใหญ่มีอาการตะคริวและท้องอืดหลังจากรับประทานอาหารคน ประเภทผลิตภัณฑ์นมแบบประจำวัน  อาหารซึ่ง มีกาเฟอีน หรือหมากฝรั่งซึ่งปราศจากน้ำตาล หรือลูกอม   อย่างไรก็ตามควรตระหนักว่าปัญหาดังกล่าว อาจจะไม่เป็นกลุ่มอาการของโรคลำไส้ แปรปรวน แต่อาจเป็นจากร่างกายไม่สามารถที่จะทนน้ำตาล (แล็กโทส) ในผลิตภัณฑ์นม กาเฟอีนหรือสารให้ความหวานเทียม ความเครียด อาจพบว่าอาการและอาการแสดงจะเลวร้ายหรือบ่อยมากขึ้นในช่วงเหตุ การณ์ที่เครียดเช่นการเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวัน  การวินิจฉัยของโรคลำไส้แปรปรวน ต้องอาศัยกลุ่มอาการของโรค โดยขึ้นอยู่กับประวัติทางการแพทย์ที่สมบูรณ์และการตรวจร่างกาย เป็นหลัก นอกจากนี้ใช้วินิจฉัยแยกจากโรคอื่น ๆ โรคลำไส้แปรปรวนพบว่าเพิ่มความเสี่ยงของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ มีหลายรายงานการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์
          แนะนำว่าโรคลำไส้แปรปรวนอาจเชื่อมกับการ เพิ่มความเสี่ยงของโรคหย่อนสมรรถภาพทาง เพศ นักวิจัยในประเทศไต้หวันได้เปรียบเทียบ ผู้ป่วยชาย โรคลำไส้แปรปรวนจำนวน 17,600 คนกับบุคคลที่ไม่ได้เป็นโรคดังกล่าวจำนวน 70,400 คน  และพบว่าอุบัติการณ์ของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนเพิ่มสูงเป็น 2.9 เท่า มากกว่าผู้ที่ไม่ได้มีอาการ (29.5 vs. 10.1 ต่อ 10,000 คน-ปี)  นอกจากนี้ยังพบว่าความเสี่ยงของโรคจะเพิ่มสูงขึ้นตามอายุและจำนวนของโรคประจำตัว และยิ่งผู้ป่วยมีความซึมเศร้าร่วมด้วย จะยิ่งมีความเสี่ยงของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยซึ่งไม่มีโรคซึมเศร้า.

pageview  1205455    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved