HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันที่ 19/02/2555 ]
เชื้อร้ายก่อมะเร็งกระเพาะอาหาร! แบคทีเรีย 'เอช.ไพโลไร'ดูแลสุขภาพดีป้องกันได้

         ทีมวาไรตี้

          เคล็ดลับสุขภาพดี : แนะวิธีดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด ลดเสี่ยงอาการปวดหัวไมเกรนสรรหามาบอก : อ่านข่าวสารความเคลื่อนไหวด้านสุขภาพ มีมาฝากกันเต็มอิ่ม
          ลายคนเข้าใจว่าโรคกระเพาะอาหารเกิดจากความเครียด การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ทำให้กระเพาะอาหารมีกรดเป็นจำนวนมาก แต่ความจริงแล้ว โรคกระเพาะอาหารเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ซึ่งเชื้อแบคทีเรียตัวนี้มีสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ ดังนั้นหากผู้ที่ติดเชื้อนอกจากจะเป็นโรคกระเพาะอาหารที่สร้างความเจ็บปวดทรมานแล้วยังเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารอีกด้วย..!!
          ศาสตราจารย์นายแพทย์ อุดม คชินทรคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ให้ความรู้ว่า โรคกระเพาะอาหารที่พบมากที่สุดมี 3 ประเภท คือ แผลในกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะอาหารที่ไม่มีแผล และมะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งทั้ง 3 โรคนี้ในระยะแรกผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนกัน คือ ปวดท้องมากหรือน้อยตามอาการ ท้องอืด คลื่นไส้ แน่นท้อง มีเสียงโครกครากในกระเพาะ เรอบ่อย กินแล้วอิ่มง่าย ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเป็นอาการของโรคกระเพาะ และเมื่อมาตรวจโดยการส่องกล้องจะพบว่าผู้ป่วยประมาณ 3 ใน 4 เป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยจะพบว่าเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร และมีเพียง 2-3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่พบว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
          ในปี พ.ศ. 2526 ความเชื่อที่ว่าโรคกระเพาะเกิดจากกรดที่มากเกินไปได้เปลี่ยนไป เนื่องจากศาสตราจารย์ Barry J. Marshall นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้ค้นพบ เชื้อแบคทีเรีย "เอช.ไพโลไร" (Helicobacter pylori)ซึ่งเป็นตัวการก่อให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร แผลในกระเพาะอาหาร แผลที่ลำไส้ส่วนต้น และเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเอช.ไพโลไร มีความสามารถในการสร้างด่างเพื่อมากำจัดกรด ทำให้เชื้อนี้สามารถอาศัยอยู่และเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่มีกรดจำนวนมากในกระเพาะอาหารได้ ผลการค้นพบดังกล่าวทำให้ศาสตราจารย์ Barry J. Marshall ได้รับรางวัลมูลนิธิเจ้าฟ้ามหิดล ในปี พ.ศ.2544 และในปี พ.ศ.2548 ได้รับรางวัลโนเบล
          สำหรับการศึกษาเชื้อแบคทีเรียเอช.ไพโลไร ในประเทศไทยนั้น ปัจจุบันการตรวจหาเชื้อนี้ทำได้โดยวิธีการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและตัดเนื้อเยื่อบุกระเพาะมาตรวจหาเชื้อแบคทีเรียเอช.ไพโลไร โดยเทคนิคต่าง ๆ นอกจากวิธีการส่องกล้องแล้วยังมีวิธีการเจาะเลือดตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อ วิธีการตรวจลมหายใจเพื่อวัดเอนไซม์ Urease ซึ่งเชื้อแบคทีเรีย เอช.ไพโลไรจะสร้างมากกว่าเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นเป็นหมื่นเท่า ซึ่งการตรวจเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อแบคทีเรีย เอช.ไพโลไร ถือว่าปลอดภัยที่สุดแต่ราคาค่อนข้างแพงและยังไม่แพร่หลายทั่วไป
          หลังจากตรวจแล้วพบว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย เอช.ไพโลไร ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเริ่มเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นเป็นครั้งแรกหรือเคยเป็น ๆ หาย ๆ การรักษาที่นิยมใช้กันมากและมีประสิทธิ ภาพสูง คือการใช้ยาลดการหลั่งกรด 1 ชนิด ร่วมกับยาปฏิชีวนะอีก 2 ชนิด เป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์จะพบว่าได้ผลการกำจัดเชื้อมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ข้อบ่งชี้ว่ากำจัดเชื้อ คือการตรวจไม่พบเชื้อแบคทีเรียเอช.ไพโลไรเมื่อ 4 สัปดาห์หลังจากหยุดรักษา
          อย่างไรก็ตามหลายคนอาจสงสัยว่าเชื้อแบคทีเรียเอช. ไพโลไร มาจากไหน ซึ่งเราพบว่าเกิดจากการรับประทานอาหารแต่ตรวจไม่พบเชื้อนี้ในอาหารที่เรารับประทาน ซึ่งเชื้อแบคที เรีย เอช.ไพโลไรมีหลายสายพันธุ์แต่มีอยู่สายพันธุ์เดียวที่ก่อให้เกิดมะเร็ง จากการศึกษาพบว่าผู้ที่รับประทานอาหารรสเค็มสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น ชาวญี่ปุ่นและชาวจีนเป็นมะเร็งมากกว่าชาวไทย เพราะชาวญี่ปุ่นและชาวจีนรับประทานเกลือมาก กว่าเราหลายเท่า ส่วนสาเหตุอื่น เช่น การรับประทานอาหารหมักดองก็มีผล ส่วนเรื่องเพศนั้นพบว่าเพศชายมีโอกาสเสี่ยงมาก กว่าผู้หญิง และคนที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารก็มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งด้วยเช่นกัน
          เชื้อแบคทีเรียเอช.ไพโลไรมีลักษณะพิเศษที่สำคัญ คือไม่พบเชื้อแบคทีเรียเอช.ไพโลไรนอกร่างกายคน แต่เชื้อจะติดต่อจากคนสู่คน และพบในครอบ ครัวที่อยู่กันแออัด ผู้ที่มีการติดเชื้อจะมีโอกาสเป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นเพิ่มขึ้น 6-40 เท่า และมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น 2-6 เท่า เมื่อเทียบกับคนปกติที่ไม่มีการติดเชื้อ
          การปรับปรุงและพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิธีการป้องกันการติดเชื้อ การดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อ และมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อรวมไปถึงการวิจัย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การหาลำดับจีโนมโปรตีนโอมิกส์ และอื่น ๆ ที่จะนำไปสู่การตรวจหาเชื้อต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง ตลอดจนการวินิจฉัยโรค การป้องกันและการรักษาโรคมะเร็งได้ สำหรับในประเทศไทยและประเทศที่กำลังพัฒนาบางประเทศพบว่า มีมะเร็งอยู่หลายชนิดที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อเรื้อรัง เช่น มะเร็งปากมดลูก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV มะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอช.ไพโลไร มะเร็งตับ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับชนิดบีหรือซี  มะเร็งท่อน้ำดี เกิดจากพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งโพรงจมูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัส Epstein-Barr virus เป็นต้น
          มะเร็งทั้งหมดล้วนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทั้ง ๆ ที่มะเร็งเหล่านี้น่าจะเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ ทางคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เชิญนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการระดับโลก และของประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมวิชาการ Mahidol Internationnal Conference on Infections and Cancers 2012 เรื่องโรคติดเชื้อเรื้อรังและโรคมะเร็ง เพื่อมาแลกเปลี่ยนความรู้ ความก้าวหน้าทางงานวิจัยใหม่ ๆ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิธีการป้องกันการติดเชื้อ การดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อ และมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อ เมื่อวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ 2555 ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค ที่ผ่านมา
          จากการแลกเปลี่ยนความรู้จึงมีวิธีการดูแลตัวเองในเบื้องต้นเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อต่าง ๆ ดังนี้ กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย กินอาหารตรงตามเวลาทุกมื้อ กินอาหารจำนวนน้อย ๆ แต่บ่อย ไม่ควรกินจนอิ่มในแต่ละมื้อ หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของดอง น้ำอัดลม งดบุหรี่และสุรา งดการใช้ยาแอส ไพรินและยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูกทุกชนิด ผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวลทั้งหลาย ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ถ้ามีอาการของภาวะแทรกซ้อน เช่น อาเจียนเป็นเลือด, ถ่ายอุจจาระดำ, ปวดท้องรุนแรงหรือเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
          หากเราดูแลสุขภาพร่างกายเป็นอย่างดีแล้วก็ถือว่าเป็นเกราะป้องกันอีกหนึ่งชั้นที่ทำให้เราห่างไกลจากเชื้อร้ายที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งส่งผลเสียต่อสุขภาพและอาจถึงแก่ชีวิตได้.

pageview  1205140    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved