HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 14/01/2557 ]
ความสำคัญของการได้ยิน
 คนเราจะพูดได้ต้องได้ยินเสียงพูดมาพอสมควรก่อนแล้วจดจำคำที่ตัวได้ยินนั้นมาหัดพูดทีละเล็กทีละน้อยจนพูดได้ดี หูของเราทุกคนไม่ได้มีไว้ฟังเสียงอย่างเลื่อนลอยการฟังต้องแยกเสียงให้ได้ว่าเสียงนั้นมีความหมายอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงและยังสามารถติดต่อกันได้ในรูปของการสื่อความหมายในรูปการพูดได้ด้วยชีวิตของมนุษย์ต้องอาศัยการฟังเสียงการพูดทุกวันเพราะฉะนั้นเรื่องการใช้หูหรือความผิดปกติของหูจึงต้องไปคู่กันกับการพูดเสมอ (พูนพิศ อมาตยกุล, 2522)
          ในคนที่มีความผิดปกติของการได้ยินลักษณะเสียงพูดจะผิดเพี้ยนไปในระดับที่มากน้อยขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยินกลไกของการได้ยินเสียง
          การได้ยินเสียงของคนเรานั้นเริ่มต้นเมื่อมีคลื่นเสียงจากการสั่นสะเทือนของอากาศผ่านเข้ามาในหูชั้นนอกและเข้าไปกระทบเยื่อแก้วหูทำให้เกิดการสั่นของเยื่อแก้วหูและส่งผ่านการสั่นสะเทือนต่อไปยังกระดูกรูปค้อนกระดูกรูปทั่งและกระดูกรูปโกลนในหูชั้นกลางตามลำดับ
          กระดูกรูปโกลนติดต่ออยู่กับก้นหอยของหูชั้นในจะส่งผ่านการสั่นสะเทือนเข้าไปในหูชั้นใน ซึ่งมีของเหลวและเซลล์ขนอยู่การสั่นสะเทือนจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าและถูกส่งผ่านเซลล์ขนไปสู่เส้นประสาทหูไปยังสมองเพื่อให้เกิดการรับรู้และแปลความหมายของเสียงที่ได้ยินการสูญเสียการได้ยินที่พบบ่อย
          1.การติดเชื้อของหูชั้นกลาง (Otitis Media) หรือหูน้ำหนวกเป็นสาเหตุของการสูญเสียการได้ยินชั่วคราวมักพบในเด็ก
          2.การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงอึกทึก (NoiseInduced) เป็นสาเหตุของการสูญเสียการได้ยินชนิดถาวร
          3.การสูญเสียการได้ยินเนื่องจากวัยชรา (Presbyacusis) มีการสูญเสียการได้ยินในช่วงเสียงที่มีความถี่สูงสาเหตุบางอย่างของการสูญเสียการได้ยิน
          1.ความผิดปกติแต่กำเนิดจากสาเหตุทางกรรมพันธุ์ 2.มารดามีความผิดปกติขณะตั้งครรภ์ หรือขณะคลอด
          3.การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส เช่น โรคไข้สมองอักเสบ คางทูม งูสวัด เป็นต้น
          4.การประกอบอาชีพหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง
          5.อุบัติเหตุต่อศีรษะที่กระทบถึงประสาทหู 6.โรคบางชนิด เช่น เนื้องอกของเส้นประสาทที่เกี่ยวกับการได้ยิน  โรคแพ้ภูมิต้านทานตัวเอง โรคเบาหวาน โรคไต โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
          7.ความเสื่อมตามธรรมชาติอาการของการสูญเสียการได้ยิน
          1.ได้ยินเสียงเบาลงรู้สึกหูสองข้างได้ยินไม่เท่ากันหรือการรับฟังเสียงมีปัญหาเมื่ออยู่ในที่มีเสียงรบกวน
          2.ได้ยินเสียงพูดแต่ไม่สามารถเข้าใจคำพูดของผู้พูด
          3.ถามคำถามซ้ำๆ 4.เปิดเสียงวิทยุหรือโทรทัศน์ดังกว่าคนที่มีการได้ยินปกติ
          5.ไม่สามารถเข้าใจเสียงคำพูดทางโทรศัพท์ 6.มีเสียงรบกวนในหูร่วมกับอาการหูอื้ออาจมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วยการตรวจด้วยตนเองอย่างง่ายๆ
          1.ถูนิ้วที่ข้างหู 2.พูดเสียงกระซิบ 3.เสียงเข็มนาฬิกาเดินแนวทางในการตรวจโรคหู
          1.ปวดเจ็บในหู 2.ในรูมีน้ำ 3.ฟังคำไม่รู้ 4.ในหูมีเสียง 5.เอี้ยวเอียงเวียนหัวมีอาการ
          1 อย่าง -----> สงสัย 2 อย่าง -----> เป็นโรค
          3 อย่าง -----> มีการสูญเสียการได้ยินต้องมาพบแพทย์การรักษา
          การสูญเสียการได้ยินที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของหูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง สามารถรักษาได้โดยการรับประทานยาหรือการผ่าตัด ส่วนการสูญเสียการได้ยินที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของหูชั้นใน ซึ่งมีผลทำให้ประสาทหูเสื่อมจะไม่สามารถรักษาให้หายได้อาจต้องใส่เครื่องช่วยฟังเพื่อช่วยรับฟังเสียง

pageview  1205893    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved