HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 17/10/2556 ]
ทารกเสี่ยง'หูพิการ'แต่แรกเกิด(1)

 

   ศ.เกียรติคุณ พญ.สุจิตรา ประสานสุข
          ที่ปรึกษาอาวุโส องค์การอนามัยโลก และประธานองค์กรเพื่อการได้ยินนานาชาติ
          ผู้อำนวยการศูนย์การได้ยิน การพูด การทรงตัว เสียงในหู โรงพยาบาลกรุงเทพ
 
          ปัญหาหูหนวก หูตึง โรคหู เสียงรบกวนในหู เวียนหัวบ้านหมุน เป็นปัญหาที่พบบ่อยในทางการแพทย์ อีกทั้งในปัจจุบันการดำเนินชีวิตประจำวันมีการใช้เครื่องมือสื่อสาร โทรศัพท์มือถืออยู่เกือบตลอดเวลา รวมถึงเครื่องอำนวยความสะดวก เกิดหูอื้อ หูตึง หูมีเสียงรบกวน แหล่งบันเทิง ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงและอันตรายที่เกิดจากมลภาวะทางเสียง เพิ่มมากขึ้น
          เป็นเหตุให้เกิดอันตรายขึ้นกับหู ทำให้คุณภาพชีวิตต่ำลง ทั้งๆ ที่เป็นปัญหาที่ป้องกันได้ รักษาได้ แก้ไขได้ ถ้าประชาชนและผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะแพทย์ทั่วไป และแพทย์เฉพาะทาง สามารถเข้าถึงและเข้าใจปัญหา องค์การอนามัยโลกได้ประเมินว่า ทั่วโลกมีคนมีปัญหาทางการได้ยิน ถึง 450 ล้านคน และร้อยละ 50 สามารถป้องกันได้
          ทารกแรกเกิดจำนวน 3 ใน 1,000 ราย มีความพิการทางการได้ยิน หรืออาการหูตึงมาแต่กำเนิด ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการโดยรวม และโดยเฉพาะการพูด สำหรับการพิการทางการได้ยินแต่กำเนิด อาจมีสาเหตุมาจากโรคทางพันธุกรรม ซึ่งหากบิดาหรือมารดามีประวัติบุคคลในครอบครัวพิการทางการได้ยินแต่กำเนิด
          นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากโรคในมารดาระหว่างตั้งครรภ์ อาทิ โรคหัดเยอรมัน โรคครรภ์เป็นพิษ การคลอดผิดปกติหรือล่าช้าจนเด็กขาดออกซิเจน ตัวเหลือง ลูกจะมีโอกาสหูตึงถึงร้อยละ 3 รวมทั้งคลอดก่อนกำหนดและต้องเข้าตู้อบ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้หูชั้นในผิดปกติหรือสมองพิการ ทำให้สูญเสียการได้ยิน
          ในปัจจุบันเราสามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด ใช้เวลาประมาณ 5 นาที และหากว่าไม่ผ่านสงสัยว่าหูหนวกหรือหูตึง ควรตรวจยืนยันภายในเวลา 6 เดือนแรก จะทำให้การรักษาและฟื้นฟูบำบัดโดยใช้เครื่องช่วยการได้ยิน รวมทั้งการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมและสอนพูดได้ทันเวลา เพื่อไม่ให้อาการหูตึง หูหนวกเป็นเหตุให้ไม่สามารถพูดได้ หรือเป็นใบ้ในที่สุด หากพบแพทย์ช้า การฟื้นฟูจะเป็นไปได้ยาก เพราะพัฒนาการทางสมองส่วนการได้ยินจะสูญเสียไปภายใน 2 ขวบ
          ดังนั้น การฟื้นฟูอาการหูตึงในเด็กแรกเกิด ควรทำตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ขวบ เนื่องจากจะสามารถเสริมทักษะต่างๆ ได้ง่าย แต่ถ้าหากอายุเกิน 3 ขวบ การฟื้นฟูจะยากหรืออาจไม่เกิดผล เพราะสมองที่พัฒนาการพูดหยุดชะงัก  หากเด็กไม่ได้ผ่านการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่แรกเกิด ผู้ปกครองสามารถสังเกตอาการเริ่มต้นได้ อาทิ เด็กไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงหรือพูดด้วยไม่หัน ไม่รับรู้ ตรวจวินิจฉัยตลอดจนการไม่เลียนเสียงพ่อแม่ ออกเสียงไม่
          การไม่เลียนเสียงพ่อแม่ ออกเสียงไม่ชัดเจน การให้การรักษาฟื้นฟู ตามช่วงเวลาที่พบ ตลอดจนควรเน้นการป้องกัน วิทยากรจะให้ความรู้ในการเลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน ซึ่งไม่เหมือนกัน ส่วนการใช้การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมทำได้ในบางรายเท่านั้น

pageview  1205847    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved