HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 11/09/2556 ]
โรคกระดูกพรุน หญิงหรือชายก็เป็นได้


          โรคกระดูกพรุน หมายถึง ภาวะที่กระดูกสูญเสียเนื้อกระดูก และโครงสร้างของกระดูก ผิดไป ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง ความหนาแน่นของกระดูกต่ำ เกิดการหักได้ง่าย โดยเฉพาะ กระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลังและกระดูก ข้อมือ เนื้อกระดูกจะมีรูพรุนเหมือนฟองน้ำ  ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายและสามารถป้องกันได้9 ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน
          1.ผู้หญิงหรือชายหากมีฮอร์โมนต่ำก็เกิดกระดูกบางได้
          2.การกินอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วน เช่น กินอาหารที่มีโปรตีนสูง (เนื้อสัตว์) หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง (รสเค็ม) แต่กินอาหารที่มีแคลเซียมน้อย ดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้วต่อวัน
          3.กรรมพันธุ์ โดยเฉพาะผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุนก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น
          4.เป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคขาดวิตามินดี โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคมะเร็งบางชนิด
          5.ได้รับยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น ยา สเตียรอยด์ ยากันชัก ยาขับปัสสาวะ ซึ่งมักใช้ในโรคความดันโลหิตสูง
          6.สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
          7.ภาวะเครียด 8.การขาดแสงแดดซึ่งจะทำให้ได้รับวิตามินดีน้อยมีผลทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง
          ปัจจุบันแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนก่อนที่จะเกิดอาการ โดยการตรวจความเข้ม หรือความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density หรือ BMD) การตรวจนี้ใช้แสงเอกซเรย์ปริมาณน้อยมากส่องตามจุดที่ต้องการแล้วใช้คอมพิวเตอร์คำนวณหาความหนาแน่นของกระดูกเมื่อเทียบกับค่ามาตรฐาน
          การป้องกันและรักษาโรค กระดูกพรุน
          1.การออกกำลังกายที่จะทำให้กระดูกแข็งแรงคือ การออกกำลังชนิด Weight Bearing Exercise คือใช้น้ำหนักตัวเองช่วยในการออกกำลังกาย เช่น การเดิน การวิ่ง  การเดินขึ้นบันได กระโดดเชือก  ยกน้ำหนัก การเต้นรำ การรำ มวยจีน ลองเริ่มต้นการออก กำลังกายวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5วันซึ่งนอกจากจะทำให้กระดูกแข็งแรง ยังทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและการทรงตัวดี ป้องกันการ หกล้มได้
          2.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมอย่างเพียงพอ
          3.ควรได้รับแสงแดดอ่อนๆ อย่างเพียงพอ เพื่อให้ผิวหนังสร้างวิตามินดี ในวันหนึ่งควรได้วิตามินดี 400-800 IU โดยให้ถูกแสงแดดบริเวณมือ แขน ใบหน้าครั้งละ 10-15 นาที สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ก็เพียงพอที่จะสร้างวิตามินดี การทาครีมกันแดดจะลดการสร้างวิตามินดี
          4.หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่ เครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
          5.การใช้ยาในการป้องกันและรักษา จะ แตกต่างกันตามปัจจัยต่างๆ ในผู้ป่วยแต่ละราย  เช่น อายุ เพศ ระยะเวลา หลังหมดประจำเดือน เป็นต้น


pageview  1205835    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved