HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 20/08/2556 ]
นักจิตวิทยาแนะสร้าง"ภูมิคุ้มใจ"ลดเครียด-โกรธ

  ดร.วิลาสินี ชัยสิทธิ์ อาจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายเรื่อง "ภูมิคุ้มใจ" ในงานกิจกรรมส่งเสริมสขุภาพจิตเรื่อง "จิตเวชศิริราช...ปันความรู้สู่ประชาชน" ว่า การจะป้องกันอาการเจ็บป่วยของร่างกายจำเป็นต้องมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งปัจจุบันอาศัยการฉีดวัคซีนต่างๆ ส่วนเรื่องของจิตใจ หากจะป้องกันไม่ให้อ่อนแอ หรือเกิดอารมณ์ทางลบต่างๆ เช่น ความเครียด ความโกรธ ความเสียใจ เป็นต้น จำเป็นที่จะต้องสร้างภูมิคุ้มกันเช่นกัน สามารถสร้างด้วยหลัก I have I can และ I am ตามช่วยวัย คือ 1.ช่วยก่อนเข้าเรียน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนวัยเรียน ต้องทำให้เด็กมี 1 have ต้องให้เขารู้สึกว่ามีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีชีวิตอยู่ เช่น เวลากลัวก็ต้องมีคนปลอบ 2.ช่วยเข้าโรงเรียน จะต้องสอนเข้าด้วย I can ฉันสามารถควบคุมทุกอย่างได้ เช่น คุมการขับถ่ายเองได้ คุมมัดกล้ามเนื้อได้ คือ เดินได้ วิ่งได้ ผูกเชือกรองเท้าเองได้ เป็นต้น และ 3.ช่วงวัยรุ่น ต้องสอนด้วย I am ฉันเป็นใคร มีความสามารถหรือไม่สามารถเรื่องใด มีจุดเด่นเรื่องอะไร ต้องรู้จักตัวเอง
          "การสอนให้เด็กมี I havd I can และ I am เมื่อเด็กโตขึ้นและเจอสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกแย่ เสียใจ ผิดหวัง ก็มีภูมิคุ้มใจที่ทำให้ชีวิตเขาไม่อ่อนแอ เขาจะดได้ว่ายังมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เขามีชีวิตต่อไปได้ เมื่อเจอปัญหาสามารถควบคุม จัดการ และแก้ไขได้ รวมถึงรู้ว่าตัวเองมีความสามารถในการจัดการปัญหาในระดับใด" ดร.วิลาสิณี กล่าว
          ดร.วิลาสินี กล่าวอีกว่า การฟื้นตัวของจิตใจหรือความยืดหยุ่นของจิตใจคนเราไม่เท่ากัน ปัจจุบันได้มีการนำแนวคิดเรื่องการฟื้นตัวหรือความยืดหยุ่นของจิตใจของเรซิเลียนซ์ (Resillience) มาใช้รักษาผู้ที่เกิดภาวะทางจิตใจ
          ทั้งนี้ การฟื้นฟูจิตใจได้เร็วต้องอาศัยหลัก 4 ปรับ 3 เติม คือ 1.ปรับอารมณ์ให้รับรู้ว่าเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง แล้วมีอารมณ์แบบใด โดยต้องรีบปรับอารมณ์ให้กลับมาเป็นปกติ 2.ปรับความคิด เช่น บางคนสูญเสียครอบครัว อาจจะรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อก็ต้องปรับความคิดว่า เราจะต้องเป็นตัวแทนคนในครอบครัวที่จะดำเนินชีวิตต่อไป 3.ปรับพฤติกรรม เช่น หันมาดูแลในสิ่งที่พ่อแม่ครอบครัวยังทำไม่สำเร็จ 4.ปรับเป้าหมายชีวิต เช่น หากสูญเสียคนรักที่กำลังจะแต่งงานด้วย หากยังต้องการที่จะมีครอบครัว ก็ต้องตั้งเป้าหมายใหม่ว่ายังมีคนอื่นอีกที่มาสร้างครอบครัวร่วมกับตนได้ ส่วน 3 เติม ได้แก่ 1.เติมศรัทธา โดยอาศัยสิ่งยึดเหนี่ยวต่างๆ ทางจิตใจ โดยเฉพาะเรื่องศาสนา 2.เติมความสัมพันธ์ คือ เมื่อเวลาทุกข์ก็มีคนคอยช่วยเหลือเป็นกำลังใจและ 3.เติมใจให้เข้มแข็ง


pageview  1205889    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved