HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 25/07/2556 ]
"ปลูกถ่ายไขกระดูก" คืนชีวิต..คนติดเอดส์

 หนึ่งในความฝันของนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ คือ  การหาวิธีกำจัดเชื้อร้ายเอชไอวี เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเอดส์กว่า  30 ล้านคนทั่วโลกมีชีวิตยืนยาวได้เหมือนผู้ป่วยโรคอื่นๆ  ผลการทดลองล่าสุดยืนยันได้ว่า การใช้เทคโนโลยี สเต็มเซลล์ปลูกถ่ายไขกระดูก สามารถทำให้ไวรัสร้ายตัวนี้ถูกกำจัดออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อได้อย่างหมดจด แต่อัตราความเสี่ยงและผลข้างเคียงยังสูงมาก
         
           เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ดร.ทิโมธี เฮนริช  เสนอผลงานล่าสุดในงานประชุมสมาคมเอดส์นานาชาติ ครั้งที่ 7 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย งานวิจัยชิ้นนี้สร้างความฮือฮาให้เครือข่ายนักวิจัยโรคเอดส์ทั่วโลก เนื่องจากรายงานถึงผลสำเร็จของการใช้วิธีปลูกถ่ายไขกระดูกหรือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Stem Cell Transplantation) ในผู้ป่วยเอดส์ 2 ราย เพราะหลังจากใช้วิธีนี้เพียงไม่กี่ปี  ก็ตรวจไม่พบเชื้อไวรัสเอชไอวีในร่างกายอีก แม้ว่าจะทดลองให้หยุดกินยาต้านไวรัสนานถึง 4 เดือนยังตรวจไม่พบ แสดงว่าเชื้อนี้ถูกทำลายไปหมดแล้ว !?!  
           ผู้ติดเชื้อเอดส์ทุกคนไม่ใช่ว่าจะไปปลูกถ่ายไขกระดูกกันได้ง่ายๆ สำหรับผู้ป่วยเอดส์ 2 รายนั้น มีโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองร่วมด้วย ทำให้ต้องรับการปลูกถ่ายไขกระดูกเพื่อสร้างเซลล์เม็ดเลือดใหม่ หลังทำได้ระยะหนึ่ง ทีมแพทย์เฝ้าระวังตรวจหาเชื้อเอชไอวีเป็นระยะๆ โดย รายแรกไวรัสร้ายหายไป 4 ปีแล้ว ส่วนอีกรายตรวจไม่พบมา 2 ปีเช่นกัน แพทย์จึงขอความร่วมมือให้หยุดกินยาต้านไวรัส รายแรกหยุดรับยามาได้ประมาณ 4 เดือนส่วนรายที่ 2 ประมาณ 2 เดือน ก็ยังตรวจไม่พบสัญญาณของไวรัสเอดส์ในร่างกาย ทำให้ทีมวิจัยภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ถือเป็นความหวังใหม่ในการรักษาโรคเอดส์ให้หายขาด
           แต่เครือข่ายวิจัยการรักษาโรคเอดส์แสดงความเห็นว่า การรักษาด้วยวิธีการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์แบบนี้ ถือเป็นวิธีรักษาที่ซับซ้อนมีอันตรายและยังมีราคาแพงมาก ยิ่งไปกว่านั้นคงต้องรอดูระยะยาวว่าเชื้อเอดส์จะหายไปถาวรจริงหรือไม่
          ศ.นพ.ประพันธ์ ภานุภาค ผอ.ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย อธิบายว่า การใช้วิธีเปลี่ยนถ่ายสเต็มเซลล์ในไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดใหม่ขึ้นมา ทำให้ไม่มีตัวไวรัสเอชไอวีอาศัยอยู่เหมือนเซลล์เลือดเก่า ตอนนี้ยังไม่มีใครอธิบายได้ว่า
          ทำไมไวรัสเอชไอวีไม่เข้าไปอยู่ในดีเอ็นเอของเลือดใหม่ ดังนั้นเมื่อร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดใหม่ขึ้นมาทดแทนเรื่อยๆ ไวรัสร้ายก็ค่อยๆ หมดไปจนหาไม่เจอ ถือเป็นนวัตกรรมรักษาผู้ป่วยเอดส์ที่น่าสนใจมาก แต่เป็นเพียงระยะเริ่มต้นสำหรัเริ่มต้น สำหรับผู้ป่วย 2 รายข้างต้นนั้น เนื่องจากป่วย
          เป็นมะเร็งหนักอยู่แล้ว ผ่านการใช้วีวิธีฉายแสงและเคมีบำบัดมาต่อเนื่อง อาจทำให้เชื้อไวรัสเอชไอวีอ่อนแอไปด้วย "ถือเป็นข่าวดีมาก แต่ยังมีค่าใช้จ่ายสูง รวมถึงการปลูกถ่ายไขกระดูก ต้องระวังให้เซลล์เข้ากันได้กับร่างกายของผู้ป่วย ถ้าวิธีนี้ได้รับการสนับสนุนให้วิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อาจ
          เวลานานเป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาทำให้ผู้ป่วยโรคเอดส์เหมือนกับผู้ป่วยโรคอื่นๆ เป็นแล้วไม่ตาย สามารถรักษาได้ ตอนนี้สภากาชาดไทยกำลังทำโครงการวิจัยสำคัญ คือ การให้ยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐานทันทีกับผู้ตรวจพบเชื้อเอชไอวีในระยะเริ่มแรกไม่เกิน 1 สัปดาห์ หลังเฝ้าติดตามผลมากว่า 3 ปี ปรากฏว่าแทบจะไม่พบเชื้อหลงเหลืออยู่ในร่างกาย อยากเชิญชวนให้กลุ่มเสี่ยงเข้ารับการตรวจเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบจะได้รับยาต้านทันที มีแนวโน้มว่าจะรักษาได้ง่ายกว่าปล่อยทิ้งไว้นานๆ จนภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ"
           ขณะที่ นพ.ดร.นิพัญจน์ อิศรเสนาณ อยุธยา หัวหน้าหน่วยวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดและเซลล์บำบัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยอมรับว่า การใช้วิธีเปลี่ยนถ่ายไขกระดูกรักษาโรคเอดส์เป็นหนึ่งในวิธีการใหม่ ที่ผ่านมาสถาบันในต่างประเทศเคยวิจัยคนไข้ผู้หนึ่งเช่นกัน แต่ใช้การปลูกถ่ายไขกระดูกจากผู้บริจาคที่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อเอชไอวีอยู่แล้ว ซึ่งหาได้ยากมาก เนื่องจากผู้บริจาครายนี้ในเซลล์ของเขาไม่มีโปรตีนตัวหนึ่งที่ไว
          รัสเอชไอวีใช้อยู่อาศัย ทำให้เขาไม่มีโอกาสติดเชื้อเอดส์ รู้จักกันในชื่อ "ผู้ป่วยเบอร์ลิน" (Berlin patient) ถือเป็นรายแรกที่ได้รับการรักษาเอดส์จนหาย สำหรับผู้ป่วย 2 รายใหม่ข้างต้นนั้น นพ.นิพัญจน์ อธิบายว่าแตกต่างจากผู้ป่วยเบอร์ลิน เพราะเป็นการปลูกถ่ายไขกระดูกจากผู้
บริจาคทั่วไปที่ไม่ได้มีเซลล์ลักษณะพิเศษแบบรายแรก เป็นการพัฒนาอีกก้าวหนึ่งในวงการแพทย์ นอกจากนี้ในอนาคตอาจมีการนำเซลล์ของผู้บริจาครายไหนก็ได้ที่เข้ากับผู้ป่วยได้ แล้วใช้วิธีตัดต่อดีเอ็นเอเอาโปรตีนตัวนี้ออกไป แล้วค่อยนำไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วย หากทำสำเร็จจะยิ่งมั่นใจได้ว่าเซลล์เลือดใหม่มีผลในการกำจัดเชื้อไวรัสเอชไอวีออกจากร่างกายได้ 
          "สิ่งที่ผู้ป่วยต้องรู้คือ ผลข้างเคียงที่อันตรายในการใช้วิธีนี้ เพราะการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูกคือการทำลายเซลล์เม็ดเลือดทั้งหมดในร่างกาย แล้วค่อยๆ สร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมา หมายถึงช่วงแรกร่างกายจะไม่มีภูมิต้านทานเหลืออยู่เลย มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ และในช่วงเดือนแรกต้องอยู่ในห้องปลอดเชื้อพิเศษของโรงพยาบาล จนกว่าร่างกายจะค่อยๆ สร้างภูมิคุ้มกันได้ ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าหลักล้านบาท" นพ.นิพัญจน์ กล่าวเตือนทิ้งท้าย


pageview  1205836    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved