HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 08/05/2555 ]
"โทลูอีน"....สารพิษมาบตาพุด

 "5.5.55" วันเลขสวยต้องกลายเป็นวันสยองของชาวมาบตาพุดที่ต้องจดจำไปอีกแสนนาน...หลัง เกิดเหตุระเบิดอย่างรุนแรงภายในโรงงานบีเอสทีอิลาสโตเมอร์ ราวบ่าย 3 โมง !!
          ผู้ เห็นเหตุการณ์ซึ่งอยู่บริเวณหน้าโรงงาน เล่าว่าหลังจากได้ยินเสียงระเบิด มองเห็นวัตถุโลหะขนาดใหญ่ไฟลุกท่วมพัดกระจัดกระจายเต็มท้องฟ้า บางคนหาที่หลบได้ทัน แต่ส่วนใหญ่จะโดนแผ่นเหล็กไฟไหม้ปลิวมากระแทกใส่ ส่วนคนที่เสียชีวิตทันทีคือคนที่อยู่ด้านใน ซึ่งไม่มีใครเห็นว่าเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา จนเวลาผ่านไปกว่า 10 ชั่วโมงจึงทยอยเคลื่อนย้ายซากศพที่ถูกเผาไหม้ดำเป็นตอตะโกออกมา
          ผ่าน ไป 3 วัน ยังไม่มีใครรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นด้านใน มีเพียงนายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ให้สัมภาษณ์ว่า เป็นเหตุระเบิดของถังบรรจุสาร "โทลูอีน" ของบริษัทบีเอสที อิลาสโตเมอร์ส ซึ่งผลิตยางสังเคราะห์สำหรับอุตสากรรมผลิตยางยนต์ภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบตา พุด จ.ระยอง มียอดผู้เสียชีวิตรวม 12 คน บาดเจ็บ 130 คน ทางโรงงานกำลังช่วยเหลืออย่างเต็มที่ สื่อท้องถิ่นระบุว่า ผู้บาดเจ็บยังคงเข้ามารักษาตัวอย่างต่อเนื่อง ตัวเลขมากกว่า 140 คนแล้ว
          แต่ ที่สร้างความสับสนให้แก่ชาวบ้านมากที่สุดคืออันตรายของสาร "โทลูอีน" เนื่องจากสื่อมวลชนราบงานว่าเป็นสารพิษทำให้เกิดมะเร็งในมนุษย์และเป็น อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่ตัวแทนจากกรมควบคุมมลพิษ ให้สัมภาษณ์ในทางกลับกันว่า โทลูอีน เป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลองเท่านั้น ยังไม่พบว่าทำให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ และสารโทลูอีนไม่ละลายน้ำจะระเหยเมื่อเจอแสงแดดเผา จึงไม่มีผลตกค้างในน้ำหรือในดิน
          แหล่งข่าวผู้เชี่ยวชาญด้ารการ จัดสารเคมีอันตรายให้ข้อมูลเชิงลึกว่า คำตอบแบบนี้ไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะที่ผ่านมายังไม่เคยมีนักทดลองหรือนักวิจัยคนไหนกล้าเอาสารโทลูอีนใส่ เข้าไปทดลองในร่างกายมนุษย์ มีแต่ทดลองในตัวสัตว์ ซึ่งผลยืนยันออกมาแน่ชัดว่า "เป็นสารก่อมะเร็ง" ทำให้เกิดความผิดปกติในอวัยวะ และยังมีผลทำลายตับ ไต กระเพาะปัสสาวะสมอง" ส่วนในสิ่งแวดล้อมนั้น ผลวิจัยชี้ชัดว่า "เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำ เป็นพิษต่อปลาและแพลงก์ตอน"
          สาร โทลูอีน (Toluene) ถูกใช้เป็นตัวทำละลายยกตัวอย่างเช่น เวลาผสมแป้งกับน้ำเพื่อทำขนมนั้นน้ำจะเป็นตัวทำลายของแป้ง เช่นเดียวกัน โทลูอีนเป็นตัวทำละลายผสมอยู่ในสารต่างๆ เช่น สี กาว ทินเนอร์ แล็กเกอร์ หมึกพิมพ์ ฯลฯ เป็นสารปิโตรเคมีได้จากการกลั่นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติหากถามว่าอันตรายแค่ ไหน ก็ต้องดูว่าใน พ.ร.บ.วัตถุแนตราย 2535 ระบุให้เป็นสารอันตรายชนิดที่ 3 หมายถึงต้องมีการขึ้นทะเบียนและขออนุญาตนำเข้า ถ้าเป็นสารชนิดที่ 1 สามารถนำเข้าได้เสรี ชนิดที่ 2 ต้องขออนุญาตก่อนนำเข้า ส่วนชนิดที่ 4 ห้ามนำเข้าเด็ดขาด หมายความว่า โทลูอีนอยู่ในหมวดสารอันตรายจึงอยากเตือนให้ผู้สูดดมสารตัวนี้เข้าไปโดยตรง ในวันที่เกิดอุบัติเหตุอย่านิ่งนอนใจต้องสังเกตุว่าร่างกายมีอะไรผิดปกติ หรือไม่ บางคนรับสารนี้เข้าไปแล้วไม่มีผลอะไรร่างกายสามารถขับออกมากจากเหงื่อหรือ ปัสสาวะได้ แต่บางคนร่างกายไม่สามารถขับออกมาได้ตามธรรมชาติ อยู่ที่ความเข้มเข็งแรงของแต่ละคน" ผู้เชี่ยวชาญสารเคมีอันตรายข้างต้นกล่าวเตือน ดร.จารุพงศ์ บุญ-หลง ผู้เชี่ยวชาญสารเคมีพิษอดีตรองอธิบดีกรมควบคุมสารพิษ (คพ.) อธิบายว่าโทลูอีนเป็นพวกกลุ่มตัวทำละลายหรือที่เรียกว่า โซลเวนท์ (SOLVENT) สารพวกนี้ถ้าเข้าร่างกายมนุษย์มากๆ ภายในไม่กี่วินาทีก็วิงเวียนและสลบได้และอาจเสียชีวิตระหว่างสลบ เนื่องจากคนที่สลบยังหายใจสูดดมสารโทลูอีนเข้าไปเรื่อยๆ สารพิษจะทำลายระบบทางเดินหายใจ จนหายใจไม่ออกตาย วิธีการำจัดจากร่างกายก็ไม่มียาช่วยได้ ต้องใช้เวลาให้ร่างกายค่อยๆ ขับพิษออกมาเอง แต่สารตัวนี้จะไม่ตกค้างในสิ่งแวดล้อมมากนัก แต่เพื่อความปลอดภัยทางการควบคุมมลพิษต้องเข้าไปสรวจสารตกค้างในจุดต่างๆ อย่างละเอียด
          ด้าน นพ.พิบูล อิสระพันธ์ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุขเล่าว่า ขณะนี้ยังไม่มีใครไดชันสูตรศพ จึงยังไม่รู้ว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 12 คนนั้นเกิดจากแรงปะทะของระเบิดไฟไหม้ หรือจากการสูดดมสารโทลูอีนเข้าไปในร่างกายในปริมาณมากแล้วเกิดพิษเฉียบพลัน ยิ่งไปกว่านั้นระหว่างที่เกิดไฟไหม้นั้นมีสารพิษตัวอื่นเจือปนออกมาเพิ่ม หรือไม่ เช่น ควันจากคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วงแรกควรอพยพชาวบ้านออกนอกพื้นที่ให้หใด แล้วตรวจสอบสารตกค้างในสิ่งแวดล้อมอย่างละเอียด เช่น ดิน น้ำ อากาศ และไม่ควรครวจแค่โทลูอีนตัวเดียว แต่ต้องตรวจสารพิษอื่นๆด้วย ส่วนที่ชาวบ้านในชุมชนรู้สึกเจ็บป่วยไม่สบายหลังเกิดระเบิด อาจเป็นไปได้ว่าสารพิษเหล่านี้ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว และมันยังสะสมอยู่ในร่างกายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อเนื่องหลายปี จนกระทั่งเมื่อรับสารเคมีบางชนิดเข้าไปจำนวนมากในทันทีทันใด ร่างกายจึงเกิดปฎิกิริยารุนแรงเจ็บป่วยเฉียบพลัน
          หลัง อุบัติเหตุน่าสลดใจนี้เกิดขึ้น กลุ่มที่เข้าไปสืบหาข้อเท็จจริงและสอบถามเบื้องลึกจากชาวบ้าน คือกลุ่มองค์กาพัฒนาเอกชน หรือ "เอ็นจีโอ" ที่ทำเรื่อวปัญหามลพิษในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมายาวนานกว่า 10 ปี พวกเขารู้สึกดีว่าผลสุดท้ายเหยื่อจะถูกปฏิบัติในรูปแบบใด
          "เพ็ญ โฉม แซ่ตั้ง" ผู้อำนวนการมูลนิธิบูรณะนิเวศ เล่าว่า ได้เข้าไปในโรงงานที่เกิดเหตุตั้งแต่เที่ยงวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม แต่เจ้าหน้าที่โรงงานไม่อนุญาตให้ใครเข้าไปดูข้างในแม่แต่ข้าราชการและหน่วย งานกู้ภัยยังต้องรออยู่ข้างนอก สร้างความเคลือบแคลงใจสงสัยให้แก่ทุกคนว่า พวกเขากำลังทำอะไรกับสารเคมีพิษรั่วไหลอยู่ด้านใน มีการพยายามทำให้ข่าวเรื่องนี้เป็นเรื่องเล็ก ๆ ทำให้ทุกอย่างดูเหมือนปลอดภัยแล้ว
          "ผ่านไป 1 วัน ตอนยืนหน้าโรงงานยังรู้สึกได้ว่าแสบตาแสบจมูก จะมาบอกว่าปลอดภัยแล้วคงไม่มีคนเชื่อเท่าไร และที่ไม่น่าเชื่อคือจำนวนตัวเลขผู้เสียชีวิตแค่ 12 คน จากสภาพแวดล้อมแล้วน่าจะมีอีกหลายคนเพราะในวันนั้นผู้อยู่ข้างในมีปริมาณ 50 กว่าคน หรือว่าศพบางคนเหลือแต่แถ้าถ่านทำให้ดูไม่ออกว่าเป็นอะไร คำถามสำคัญตอนนี้ 3 ข้อ 1.จะดูแลเยียวยาคนงานที่เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บป่วยอย่างไร 2.การจัดการกากของเสีย หรือมลพิษที่ตกค้างในบริเวณนั้นอย่างไร 3.ต้องมีการเปิดเผยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด โดยเฉพาะปริมาณสารเคมีโทลูอีนที่ระเบิดนั้นมีจำนวนขนาดไหน จะได้คาดการณ์ได้ว่าอาจตกค้างหลงเหลือในสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงไร"
          เพ็ญ โฉมแนะนำทิ้งท้ายว่า กลุ่มเหยื่อสารโทลูอีนระเบิดครั้งนี้ ควรมีการขึ้นทะเบียนเก็บข้อมูลพวกเขาทุกคนอย่างละเอียด ให้ตรวจร่างกายเป็นระยะเพื่อศึกษาผลตกค้างในร่างกายระยะยาว หากทุกคนปลอดภัยก็โชคดี แต่ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นจะได้เยียวยารักษาได้ทัน


pageview  1205090    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved