HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 22/01/2557 ]
นวัตกรรม'ซีจีเอช'ลดเสี่ยงดาวน์ซินโดรม
 ปัจจุบันหนุ่มสาวเริ่มมีการวางแผนครอบครัวเพื่อมีบุตรช้าขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อภาวะการมีบุตรยาก ภาวะแท้งซ้ำซาก หรือแม้แต่ความเสี่ยงในการเกิดโรคดาวน์ซินโดรม ปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดมาจากความผิดปกติของโครโมโซมเนื่องมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือบางรายอาจจะเกิดมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
          นพ.สมเจตน์ มณีปาลวิรัตน์ ผอ.แพทย์และสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์การมีบุตรยาก ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อนที่มีเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย กล่าวว่า หนุ่มสาวยุคปัจจุบัน ตัดสินใจแต่งงานและมีบุตรช้าขึ้น เมื่อมีบุตรในช่วงอายุที่มากเกินไปส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อ
          ลูกน้อยที่จะเกิดมา ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงด้านภาวะการมีบุตรยาก การแท้งซ้ำซาก และภาวะความผิดปกติของโครโมโซมอย่างโรคดาวน์ซินโดรม
          โดยพื้นฐานจำนวนโครโมโซมมนุษย์มีทั้งหมด 23 คู่ ถ้ามากหรือน้อยกว่านี้อาจก่อให้เกิดภาวะความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย ปัจจุบันพบความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม ตามธรรมชาติมากถึง ร้อยละ 40-80 โดยหากอายุมากขึ้นความผิดปกติก็จะมากขึ้นตามไปด้วย เพราะตัวอ่อนที่ผิดปกติ ส่วนใหญ่จะไม่ฝังตัว หรือถ้าฝังตัวจะก่อให้เกิดการแท้งในช่วง 3 เดือน ซึ่งหากรอดมาได้ ทารกก็จะผิดปกติ
          ตัวอย่างโรคที่รู้จักกันดี คือ ภาวะดาวน์ซินโดรม โดยเฉพาะฝ่ายหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไป จะพบว่ามีความเสี่ยงที่จะให้กำเนิดบุตรเป็นดาวน์ซินโดรมประมาณ ร้อยละ 0.5 โดยเฉพาะในรายที่มีประวัติแท้งซ้ำซาก หรือมีประวัติทารกพิการมาก่อน อาจพบมากขึ้น
          "ดังนั้นการตรวจโครโมโซมของตัวอ่อนก่อนเลือกมาฝังตัว จะมีประโยชน์กับหญิงสาวทุกคนที่มีความเสี่ยง"
          ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ได้นำเทคนิค CGH นวัตกรรมล่าสุดของการหาความผิดปกติของตัวอ่อนมาใช้ โดยตรวจโครโม โซมได้ครบทั้ง 23 คู่ และตรวจหาการขาดหายหรือเกินมาของชิ้นส่วนโครโม โซมได้ด้วย
          นายอธิคม และ คุณนฤภร จากครอบครัวฉันทวานิช ตัดสินใจใช้เทคนิค CGH กล่าวว่า การวางแผนที่จะมีบุตรคนที่ 2 ในช่วงอายุที่มีความเสี่ยง จึงใช้เทคนิค CGH ช่วยลดภาวะความเสี่ยง ทำให้มั่นใจมากขึ้นว่าการตั้งครรภ์ในครั้งนี้บุตรจะออกมาสมบูรณ์ เพราะการมีบุตรที่สุขภาพสมบูรณ์ ปลอดโรคต่างๆ รวมถึงโรคทางพันธุกรรม น่าจะตอบโจทย์ปัญหาใหญ่ของคู่สามีภรรยายุคปัจจุบันได้ดีที่สุด
          เพราะโครโมโซมแม้จะเป็นจุดกำเนิดของชีวิตที่กำหนดไม่ได้ แต่เราเลือกได้

pageview  1205453    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved