HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 20/09/2556 ]
ท้องผูกเรื้อรังสัญญาณมะเร็งลำไส้

 เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสโนคอต (Senokot) ยาระบายมะขามแขก จัดงาน "อวสาน อาการท้องผูก อึดอัด ติดขัด นึกถึง เสโนคอต" เพื่อให้ความรู้เรื่องอาการท้องผูก โดย น.ส.เจิดสาย สุขแก้ว ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แผนก เฮลธ์แคร์ บริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า อาการท้องผูกเป็นสัญญาณอันตรายที่อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาอีกมากมาย อาทิ สิว นอนไม่หลับ สารพิษสะสม และที่ร้ายแรงที่สุด คือ โรคมะเร็งลำไส้
          การรักษาอาการท้องผูก ควรเริ่มด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น บริโภคอาหารให้พออิ่ม บริโภคอาหารที่มีเส้นใยสูง ดื่มน้ำมากๆ และควรพิจารณาเลือกใช้ยาระบายจากธรรมชาติ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากฝักเมล็ดของต้นมะขามแขก 100 เปอร์เซ็นต์ มีผลการศึกษายืนยันมาหลายร้อยปีว่าเป็นยาจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพสูงในการบรรเทาอาการท้องผูก
          นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ แนะนำวิธีการรักษาอาการท้องผูกแบบธรรมชาติ ในการเสวนา "ท้องผูกที่มากกว่าแค่ระบาย ชะลอวัยและไกลโรคร้าย ต้องไม่ให้ท้องผูก" ว่า ลำไส้ที่ทำงานระบายหลัก คือ "ลำไส้ใหญ่" หากมีปัญหาไม่ระบาย ปล่อยไว้นานจนมีอาการเรื้อรัง ก็ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
          โดยสาเหตุของอาการท้องผูก อาจมาจาก 2 ส่วน คือ สาเหตุจากนอกลำไส้ ได้แก่ ลำไส้แปรปรวน ความเครียดลงลำไส้ นอนดึก อาหารและยาบางชนิดที่มีผลทำให้ท้องผูก และสาเหตุจากในลำไส้ เรียกว่า ลำไส้ขี้เกียจ ลำไส้ขยับน้อยจากระบบประสาท การตั้งครรภ์ และการมีโรคที่ตัวลำไส้เอง  อาการท้องผูกหากทิ้งไว้นาน อาจเป็นสาเหตุของมะเร็งลำไส้ ผลวิจัยในงาน American College of Gastroenterology's 77th Annual Scientific Meeting เมื่อปีที่ผ่านมา พบว่า ท้องผูกเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ ผู้ที่ท้องผูกเรื้อรัง พบมะเร็งลำไส้ใหญ่และเนื้องอกลำไส้ชุกกว่ากลุ่มควบคุม และความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้นถึง 1.78 เท่า และเนื้องอกในลำไส้ถึง 2.70 เท่า
          สัญญาณอันตรายที่ชวนสงสัยว่ามีความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ร่วมกับท้องผูก คือ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องผูกสลับกับท้องเสีย และพบเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ นอกจากโรคร้ายอย่างมะเร็งแล้ว การที่ร่างกายสะสมพิษเอาไว้มากเกินไป ยังเป็นตัวทำให้ร่างกายเสื่อมเร็วด้วย


pageview  1205960    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved