HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 10/03/2555 ]
ระวังยาร้ายทำให้เด็กไม่โต

นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ
          พ่อแม่หลายคนเป็นกังวลที่บุตรหลานโตเร็วเกินไป หลายคนคิดว่าเป็นเพราะอาหารที่รับประทานเข้าไป ซึ่งความจริงไม่เพียงแต่อาหารเท่านั้นที่ส่งผลโดยตรง ยาเองก็มีส่วนสำคัญเช่นเดียวกันน่าแปลกที่เด็กยุคใหม่ถูกจับให้กินยาประจำหลายขนานราวกับผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กที่เป็นภูมิแพ้ที่จะต้องกินยาหลังอาหารทุกมื้อ
          วิธีตรวจสอบเบื้องต้นง่ายด้วยตัวเองว่าลูกเรากำลังจะอยู่ในกลุ่มป่วยด้วยยาหรือไม่ ดังนี้ 1.ยาภูมิแพ้และยาฆ่าเชื้อ แก้แพ้และทำให้เด็กเรียนหนังสือไม่รู้เรื่องได้ยิ่งหลายขนานยิ่งมีโอกาสตีกันกับยาชนิดอื่นความน่ากลัวของมันอยู่ที่การต้องกินต่อเนื่องนานๆ ถ้าไม่จำเป็นเมื่อแพ้หายแล้วควรหยุดใช้ ในเด็กที่ได้ยาฆ่าเชื้อนานๆภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอจนป่วยง่าย และยาฆ่าเชื้อบางชนิดเป็นตัวกระตุ้นไข้ได้เองถ้าใช้ติดต่อกันนาน (Drug fever)
          2.ยาสเตียรอยด์ ตัวร้ายสุดมีทั้งแบบพ่นจมูก พ่นคอ ยากิน และยาทา
          สเตียรอยด์ที่ว่าเป็นยายอดนิยมที่ถูกจ่ายให้คนไข้ภูมิแพ้มากโดยฤทธิ์ของมันจะไปปิดกระดูกให้หยุดโต เด็กจะตัวแกร็นและอ้วนฉุ ที่สำคัญคือจะไปทำให้กระดูกผุ ปิดกั้นความสูงของเด็กจนเสียโอกาสไปในเด็กวัยกำลังโต
          3.ยาขยายหลอดลม ยากลุ่มนี้มีที่ใช้มากแต่หากได้มากก็จะทำให้เด็กกระวนกระวาย คล้ายไฮเปอร์ลามไปถึงใจ
          สั่น ทรมานถึงขนาดเรียนไม่รู้เรื่องหงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับทั้งคืนได้ ก็ขนาดในผู้ใหญ่ตัวโตๆ ยังทำให้ใจสั่นตาค้างได้ถ้าในเด็กยิ่งน่าห่วง
          4.ยาลดน้ำมูกแบบเมาๆ ยาน้ำลดน้ำมูกที่นิยมกันมีการใส่แอลกอฮอล์ เข้าไปมากทำให้รสอร่อย เช่น รสองุ่น รสส้ม จิบไปแล้วเด็กจะไม่ตื่นมาโยเยเพราะเมาจากยาที่ผสมแอลกอฮอล์เป็นเด็กขี้เมาไป
          5.ยาแก้ปวด อย่าเห็นพาราเซตามอลเป็นเรื่องเล่นๆ ดูเป็นยาปลอดภัยแต่อันตราย เพราะถ้าใช้ผิดขนาด  เช่น เอาของผู้ใหญ่มาแบ่งครึ่งให้เด็กก็อาจทำอันตรายต่อตับของเด็กได้ ในเด็กควรเลือกยาที่เฉพาะกับเด็กโดยตรงจะดีกว่าครับ
          6.ยาลดไข้ ไม่ธรรมดาเหมือนกันโดยเฉพาะยาลดไข้กลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs)อย่างไอบูโพรเฟ่น ที่เด็กป่วยไข้เลือดออก
          กินแล้วอาจชักได้ ในเด็กที่มีไข้ยังไม่ทราบสาเหตุไม่ควรให้ยาลดไข้กลุ่มเร็วสั่งได้นี้เพราะมีสิทธิที่จะทำให้ช็อกได้มาก
          7.ยาธาตุ เด็กน้อยปวดท้องบ่อยมักถูกป้อนด้วยยาธาตุ เอามหาหิงคุ์ทาพุงจนกลิ่นตลบ ในเด็กโรคกระเพาะถ้าได้ยาธาตุน้ำขาวพวกอะลั่มมิลค์บ่อยเกินไปยาจะไปยับยั้งการดูดซึมแร่ธาตุ,วิตามินรวมถึงยาอื่น การได้ธาตุอะลูมิเนียมจากยาน้ำขาวพวกนี้มากไปก็อาจมีผลต่อสมองได้
          8.ยาระบาย ไม่ว่าแบบน้ำ เม็ด หรือยาสวนก้น ต้องดูสุขภาพเด็กให้ดี ถ้ามีอาการเพลีย ซึม ขาดน้ำอยู่แล้วยาถ่ายที่ทำให้ท้อง
          เสียอันตรายถึงช็อกได้ ในเด็กท้องผูกต้องดูแผลปากทวาร (Anal fissure) ให้ดีก่อนสวน
          9.ยาช่วยนอน ในเด็กแทบไม่มีที่ใช้ ถ้าเด็กน้อยนอนไม่หลับจริงให้หาสาเหตุให้เจอก่อน รวมไปถึงยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทเด็กด้วย อย่างยาแก้โรคสมาธิสั้น ที่กินแล้วเด็กจะนิ่งจริงแต่เป็นแบบหุ่นยนต์ ดูเนือยๆทำตามคำสั่งได้ การรักษาที่ดีต้องใช้พฤติกรรมบำบัด และกิจกรรมบำบัดควบคู่ไปด้วยจะดีที่สุด
          10.วิตามินสังเคราะห์ ในเด็กที่กินอาหารไม่ครบ วิตามินเสริมเป็นพระเอกช่วยที่ดี แต่ต้องระวังวิตามินประเภทสังเคราะห์อย่างกรดวิตามินเอ วิตามินอีหรือว่าน้ำมันตับปลาที่มากเกินไปเพราะ
          อันตรายต่อตับได้
          อย่างไรก็ตาม อย่าหยุดปุบปับเลยเด็กอาจมีอาการทรุดลงได้ อย่างยาสเตียรอยด์ที่เด็กภูมิแพ้ได้นานๆ การหยุดแบบหักดิบจะทำให้ต่อมหมวกไตไม่ทันตั้งตัว ทำงานไม่ทันกลายเป็นโรคป่วยด้วยต่อมหมวกไตได้
 


pageview  1204937    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved