HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 25/12/2556 ]
เบาหวานเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด
ช่วงปาร์ตี้ตามใจปากท้อง ฉลองกันหนัก อย่างไรก็อย่าลืมดูแลสุขภาพกันด้วย วันนี้มี 1 โรคที่อยากให้ผู้อ่านได้รู้จักเพื่อเป็นข้อมูลการดูแลตัวเอง นั่นก็คือโรคเบาหวาน
          โรคเบาหวานถือว่าเป็นโรคที่คนไทยป่วยกันมาก เป็นโรคยอดฮิต 1 ใน 10 ของโรคที่คุกคามคนไทยมากที่สุด พบได้ในทุกช่วงวัย และยังมีแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทั้งนี้การเป็นโรคเบาหวานเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น อาหารพฤติกรรมการใช้ชีวิต การออกกำลังกาย กรรมพันธุ์ เป็นต้น
          สิ่งที่ผู้ป่วยหรือครอบครัวส่วนใหญ่เป็นกังวล เนื่องจากเข้าใจกันมาตลอดว่าการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้เป็นเบาหวานเป็นเรื่องยาก แต่จริงๆ แล้วเพียงแค่การปรับทัศนคติและพฤติกรรมการใช้ชีวิตใน 4 ข้อหลักๆ ก็เพียงพอแล้ว
          แล้วการคุมเบาหวาน หรือการคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำคัญกับผู้ป่วยอย่างไร จากการศึกษาเกี่ยวกับโรคเบาหวานครั้งใหญ่ที่สุด UKPDS (United Kingdom Prospective Diabetes Study) ซึ่งใช้เวลาถึง 20 ปีในการศึกษากับอาสาสมัครผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 กว่า 5,000 คน ณ ศูนย์การแพทย์ 23 แห่งในอังกฤษ ไอร์แลนด์เหนือ และสกอตแลนด์ ชี้ให้เห็นว่า การจัดการเบาหวานด้วยวิธีรักษาที่มีอยู่อย่างจริงจัง สามารถลดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวซึ่งเกิดจากเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อนทางตาอันเป็นผลจากเบาหวานได้ถึง 25% และโรคไตเสื่อมระยะแรกได้ถึง 33%
          นอกจากนี้ ควรปรับทัศนะและมีความตั้งใจจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตใน 4 ข้อหลัก ดังนี้
          1.การกินอาหาร สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน คาร์โบไฮเครดมีอิทธิพลสูงสุดต่อค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่หลังอาหาร แม้จะมีหลักการแนะแนวอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรือทดแทน ก็อาจจะไม่ได้ส่งผลต่อผู้ป่วยเบาหวานแต่ละคนเหมือนๆ กัน ดังนั้น ผู้ป่วยควรมีการจัดตารางอาหารให้สมดุล ควบคู่ไปกับการคำนวณคาร์โบไฮเดรต และการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความยืดหยุ่นในการเลือกทานอาหารแต่ละวัน
          2.การออกกำลังกาย การทำตัวแอ็กทีฟ กระฉับกระเฉง และออกกำลังในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเรื่องการออกกำลังที่เหมาะสม โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับยาฉีดอินซูลิน นอกจากนี้ ควรคำนึงถึงข้อควรระวังต่างๆ เช่น การป้องกันบาดแผลที่เท้า
          3.ยาเบาหวานและอินซูลิน ผู้ป่วยเป็นเบาหวานหลายๆ คน อาจจะไม่จำเป็นต้องกินยาเบาหวานหรือฉีดอินซูลิน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอาการและแนวทางรักษาจากทีมแพทย์ของผู้ป่วยแต่ละคน แต่หากได้รับการจ่ายยาจากทีมแพทย์ ผู้ป่วยจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
          4.ควรเช็กระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่าเสมอ ซึ่งก็ไม่ต่างจากการวางแผนลดน้ำหนัก ที่เราจะหมั่นตรวจสอบน้ำหนักตัวเป็นระยะ เพื่อให้รู้ว่าแผนที่ทำมาได้ผลดีหรือไม่ ผู้ป่วยเบาหวานก็เช่นกัน ที่ต้องตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ว่าจะจากทีมแพทย์หรือการตรวจระดับน้ำต

pageview  1205893    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved