HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 02/12/2556 ]
การรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
   สนับสนุนโดย บริษัท บางกอกดรัก จำกัด
          "คอลัมน์เภสัชอาสา .. ปรึกษาปวด" กลับมาพบกับผู้อ่านอีกครั้ง ครั้งนี้นำเรื่องเกี่ยวกับการรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังมาฝากกัน เพื่อจะได้รู้จัก เข้าใจ และป้องกันได้อย่างถูกต้อง
          หญิง อายุ 33 ปี มีอาชีพเป็นพนักงานรับโทรศัพท์ ลักษณะงานต้องนั่งติดอยู่กับที่เป็นเวลานานหลายชั่วโมง นั่งทำงานอยู่อย่างนี้ทุกวัน เริ่มมีความรู้สึกตึงๆ เจ็บ ๆ ที่สะบัก คิดว่าน่าจะไม่มีอะไรมาก คงเป็นกล้ามเนื้อยึด ตกบ่ายอาการเริ่มเป็นมากขึ้น คราวนี้ปวดมากที่สะบักร่วมกับมีอาการปวดร้าวไปที่ก้านคอ บางครั้งก็ปวดลงที่เบ้าตา หางคิ้ว มีอาการปวดและวิงเวียนศีรษะ ลองไปนวดก็ดีขึ้น อีกหนึ่งสัปดาห์อาการ ก็กลับมาอีก คราวนี้ปวดร้าวไปที่ต้นแขน ใจสั่น พะอืดพะอมเหมือนโรคกรดไหลย้อน แต่ก็แข็งใจทำงานต่อไป ลองรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อแล้ว อาการก็ทุเลาลงเล็กน้อย  หลับไม่สนิท ต้องตื่นขึ้นกลางดึกหลายครั้งเพราะมีอาการ ปวดสะบัก จากอาการที่นานๆ เป็นที คราวนี้เป็นตลอดเวลา โดยเฉพาะเวลานั่งทำงาน พอนั่งทำงานได้ไม่เกิน 10 นาที ก็มีอาการปวดแบบน่ารำคาญ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ชาตามมือ วิตกกังวล ซึมเศร้า หดหู่ ชีวิตไม่เป็นปกติสุข เห็นท่าจะไม่ดีจึงปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาล ทำการตรวจร่างกาย ก็พบว่ามีลักษณะอาการเข้าได้กับโรค "กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง" หรือที่เรียกว่า "Myofascial Pain Syndrome"
          อาการเป็นอย่างไร
          ส่วนใหญ่อาการปวดกล้ามเนื้อจะเป็นบริเวณส่วนบนของลำตัวข้างใดข้างหนึ่ง เช่น ปวดแขน ปวดสะบัก ปวดต้นคอ หรือแผ่นหลัง มักจะปวดล้าๆ ที่กล้ามเนื้อโดยไม่สามารถระบุตำแหน่งของอาการปวดได้ชัดเจน อาการจะดีขึ้นบ้างเมื่อกินยาแก้ปวดแต่มักจะกลับเป็นซ้ำอีก แต่ที่สำคัญคือจะต้องไม่มีไข้ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย หรือ น้ำหนักลด
          ถ้าปวดรุนแรงส่วนมากมักจะเกร็งไม่ยอมขยับเขยื้อน การขยับจะกระตุ้นให้ปวดมากขึ้น บางรายเดินคอแข็งไม่สามารถ เหลียวหน้าไปมาได้  อิริยาบถที่ไม่เป็นธรรมชาติจะส่งผลต่อไปยังการทำงานของกล้ามเนื้อมัดอื่นๆ ที่อยู่ข้างเคียงทำให้เสียสมดุลในการทำงานและเพิ่มความเครียดให้แก่กล้ามเนื้ออื่นๆ ทำให้อาการปวดรุนแรงยิ่งขึ้น
          มีสาเหตุอะไรบ้าง
          1. บาดเจ็บทางร่างกายอย่างรุนแรง เช่น อุบัติเหตุทางการกีฬา, อุบัติเหตุทางรถยนต์ มีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อมาก่อน แต่ขณะนั้นร่างกายยังมีความแข็งแรง อาการบาดเจ็บจึงยังแสดงไม่เห็นเด่นชัด
          2. บาดเจ็บแบบน้อย ๆ แต่เป็นซ้ำซาก เช่น การนั่งทำงานที่ผิดอิริยาบถเป็นเวลาติดต่อกันนาน ๆ ได้แก่ผู้ที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ ไม่ชอบออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อบางกลุ่มต้องทำงานหนักตลอดเวลา จึงเกิดการหดเกร็งเป็นก้อน (Taut Band) ตามมา หากกล้ามเนื้อไม่มีโอกาส ได้คลายตัว  หรือไม่ได้รับการรักษาจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งมากขึ้น เป็นเหตุให้เกิดอาการปวด แม้ว่าจะไม่ได้มีการลื่นหกล้ม หรือบาดเจ็บใด ๆ มาก่อนก็ตาม รวมถึงมีอาการเหนื่อยล้า ชาตามปลายมือและเท้าได้เหมือนขาดวิตามินบี วิตามินซี อีกด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากพฤติกรรมที่เราทำเอง จากงานประจำที่ต้องทำซ้ำ ๆ เหมือนเป็นชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว
          3. โรคข้อเสื่อม ที่พบมากได้แก่ หมอนรองกระดูกคอเสื่อม ทำให้มีอาการปวดคอ กล้ามเนื้อคอหดเกร็งตามมา
          4. ความวิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า
          สมุนไพรเจลพริก สามารถรักษาอาการปวดแบบเรื้อรังได้จริงหรือไม่
          จริง...สมุนไพรที่มีสารสกัดจากแคปไซซิน หรือ สารสกัดจากพริก เป็นยาทาแก้ปวดชนิดที่ไม่ต้องถูนวด นอกจากเจลแล้วยังมีในรูปแบบของโลชั่น สามารถดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ง่าย เวลาทาไม่จำเป็นต้องถูนวด สามารถใช้ทาบริเวณที่ข้อเข่าเสื่อม หรือบริเวณที่มีอาการปวดเรื้อรังต่างๆ เช่นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, อาการปวดหลังส่วนล่าง, ออฟฟิศ ซินโดรม, ปวดคอเรื้อรัง, ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง รวมไปถึงอาการปวดปลายประสาทด้วย ตัวยาจะไปกระตุ้นประสาทให้เกิดความรู้สึกแสบร้อน ซึ่งเป็นผลดีต่อบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อทาอย่างต่อเนื่อง อาการร้อนผ่าวๆจะค่อยๆลดลง ในขณะเดียวกันความปวดต่างๆ จะค่อยๆ ลดลงด้วย
          "การรักษาที่ให้ผลดีต้องทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด การรักษาแต่ปลายเหตุ อาจทำให้อาการปวดกลับมาเป็นซ้ำอีก"
          ท่านสามารถปรึกษาปัญหาปวดได้ที่
          Hotline เภสัชอาสา..ปรึกษาปวด โทร 0-2613-9758-9 E-mail : marketing@bangkokdrug.com www.bangkokdrug.com

pageview  1205932    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved