HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 04/11/2556 ]
คำต้องห้ามของเด็ก พ่ออย่าว่าแม่อย่าพูด

 

 เด็กเจเนอเรชั่น Z สมัยนี้ นอกจากจะมีชีวิตที่ผูกติดกับโลกดิจิตอล อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีสมัยใหม่แล้ว ยังขึ้นชื่อว่าเป็นเด็กเอาแต่ใจมองตัวเองเป็นศูนย์กลางของบ้าน และมักจะไม่พอใจเวลาถูกพ่อแม่ดุด่าด้วยถ้อยคำที่รุนแรง
          ไม่ว่าคำดุด่านั้นจะเป็นความห่วงหาปรารถนาดีหรือเป็นอารมณ์ของพ่อแม่ แต่เด็กจะไม่สนใจเจตนา รู้เพียงแต่ว่าไม่พอใจ ไม่อยากคุยกับพ่อแม่ ซึ่ง พญ.สินดี จำเริญนุสิต กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านพัมนาการและพฤติกรรมเด็ก โรงพยาบาลเวชธานี บอกว่า เด็กในวัย 3-6 ขวบเป็นช่วงอายุที่พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และภาษา กำลังปรับเปลี่ยนอย่างก้าวกระโดด
          เด็กในวัยนี้จะเริ่มเรียนรู้อารมณ์โกรธ รัก หวง มีความสับสนหรือตกใจเวลาเกิดเหตุการณ์ จากนั้นจะเริ่มฟอร์มลักษณะตัวตนว่า พ่อแม่รู้สึกอย่างไรกับเขา คำพูดทั้งหมดที่ได้ยินจึงทำให้กระทบต่อจิตใจได้ เมื่ออารมณ์ไม่พร้อม พัฒนาการทางร่างกายและจินตนาการจะถูกปิดกั้นไปด้วย
          ตัวอย่างคำพูดที่เด็กเก็บเอาไปคิด เช่น ขู่ลูกว่า "ไม่รักแล้วนะ เดี๋ยวทิ้งซะเลย" ตำหนิที่เด็กว่า "ดื้อ โง่ น่ารำคาญ" เมื่อเด็กทำอะไรไม่ได้ตามที่สอนก็จะดุว่า "ทำไม ทำไม่ได้สักที" ห้ามเด็กไม่ให้ทำบางสิ่งบางอย่างที่เด็กสนใจ โดยสั่งให้ "อยู่นิ่งๆ อย่าซน" เอาตนไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นหรือพี่น้องที่ดีกว่า รวมถึงการหยอกล้อว่า "เดี๋ยวผีมาหลอก" "เดี๋ยวโดนจับตัว" เป็นต้น
          พญ.สินดี แนะว่า พ่อแม่ควรปรับการใช้คำพูดอย่าให้ดูเป็นการดุด่าแบบตรงๆ เช่น พูดว่า "แม่รักลูกนะ แต่ไม่ชอบที่ลูกทำแบบนี้" ควรให้เวลาอยู่บ้านเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูก พูดถึงจุดีมากกว่าจุดด้อยให้เด็กรู้สึกว่า การอยู่บ้านไม่ทำให้เขาถูกตำหนิทุกครั้ง ถ้าพ่อแม่บังคงตนเองได้ เด็กจะรู้สึกดีมากกว่า
          แต่บ่อยครั้ง พ่อแม่เองก็อยากให้ลูกเข้าใจ และปรับตัวเองมากกว่าจะปลอมประโลมด้วยถ้อยคำดีๆ ถ้าพ่อแม่ดุด่าลูกบ่อยๆ โอกาสจะปรับทัศนคติให้ลูกมองพ่อแม่ในด้านดีจะทำได้ยากเพราะเด็กวัยนี้รู้ว่าพ่อแม่คิดอย่างไรจากท่าทีที่แสดงออก พ่อแม่ต้องคิดเสมอว่าเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน เด็กบางคนคิดเองไม่ได้ ต้องอธิบายเหตุผลทุกเรื่องให้ชัดเจน
          เวลาที่เด็กทำดีต้องชื่นชมให้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ไม่ควรติดสินบนด้วยการเอาของมาล่อ เพราะเขาจะทำดีเพื่ออยากได้ของแลกเปลี่ยน ไม่ใช่เพราะอยากจะทำดี
          คำพูดของพ่อแม่มีผลกระทบต่อพัฒนาการทางสติปัญญา ถ้าเด็กได้รับแรงกดดันเยอะ สมองส่วนอารมณ์ความรู้สึกจะถูกใช้งานมาก สมองส่วนการเรียนรู้ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย
          นี่ยังไม่นับคำพูดของคนรอบ่ข้าง เช่น ครู เพื่อน แต่เด็กก็อยู่กับพ่อแม่ที่บ้านมากกว่าที่อื่น พ่อแม่จึงต้องใส่ใจอย่ามองข้ามเรื่องสำคัญนี้ไป
 
          แบบอย่างดีๆ เริ่มที่พ่อแม่
          การแก้ปัญหาลูกซนดื้อ พ่อแม่ต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดี ให้ลูกเห็นตั้งแต่ยังเล็กๆ ถ้ารู้ตัวเองเป็นคนฉุนเฉียวโกรธง่าย ต้องเลี่ยงไม่ให้เด็กรับรู้ ไม่ตี หรือดุด่าด้วยอารมณ์ เพราะเวลาลูกโกรธเขาก็จะตีคนอื่นเหมือนกัน
          ยิ่งเด็กบางคนมีปมด้อยในใจ คำพูดที่ปราศจากการควบคุมสติ อาจยิ่งทำให้เด็กเก็บกด มีพฤติกรรมต่อต้านสังคมแฃะนำไปสู่การทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น มีแต่เสียกับเสีย

pageview  1205450    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved