HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 25/07/2556 ]
กรมควบคุมโรค รู้ก่อน รู้ทัน ป้องกันได้: เตือนภัย "บารากู่"พิษร้าย รุนแรงกว่าบุหรี่ถึง 6 เท่า

 "บารากู่" หรือที่ชาวอาหรับเรียกว่า ฮุกก้า (Hookah) หรือ ชีช่า (Sheesha) เป็นอุปกรณ์สำหรับการสูบยาเส้นชนิดหนึ่งที่มีมานานแล้ว ซึ่งนำเข้าจากประเทศอียิปต์หรืออินเดีย นิยมใช้อุปกรณ์ชิ้นเดียว ล้อมวงกันสูบหลาย ๆ คน ซึ่งปัจจุบันการสูบ "บารากู่" กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น  ด้วยความเชื่อที่ว่า  การสูบบารากู่ให้ผลเสียน้อยกว่าการสูบบุหรี่ โดยมักเสพในสถานบันเทิง ผับ บาร์ หรือแม้กระทั่งตามชุมชนต่าง ๆ
          การสูบบารากู่ จะใช้เครื่องมือการสูบที่เป็นภาชนะเนื้อโลหะ รูปทรงคล้ายตะเกียงอาหรับ ทรงสูงปากแคบ ส่วนบนสุดใช้วาง ยาเส้นที่เรียกว่า มาแอสเซล (MU'ASSEL)  ซึ่งเป็นส่วนผสมของใบยาสูบกับสารที่มีความหวานอย่าง น้ำผึ้ง กากน้ำตาล ผลไม้หรือดอกไม้ตากแห้ง รวมไปถึงสมุนไพรต่าง ๆ ทำให้เกิดกลิ่นหอม ซึ่งมักจะห่อไว้ในกระดาษฟอยล์ โดยจะใช้ถ่านหรือความร้อนจากไฟฟ้าในการเผายาเส้น ควันจากการเผาไหม้จะผ่านน้ำมายังส่วนล่างสุด ซึ่งด้านล่างจะเป็นกระเปาะใส่น้ำ เมื่อมีการทำความร้อน ยาสูบจะเกิดควันแล้วลอยผ่านมาทางน้ำ และผ่านไปยังท่อที่ต่อกับส่วนปากดูดเพื่อใช้ในการดูดควัน ซึ่งผู้สูบเชื่อว่าจะสามารถกรองเอาของเสียต่าง ๆ เอาไว้ได้
          วิธีการที่สูบยาเส้นผ่านน้ำนี่เอง ทำให้ผู้สูบเข้าใจผิดว่า จะทำให้ปลอดภัยมากขึ้น แต่ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยเวอร์จีเนียแห่งอังกฤษ ได้พิสูจน์แล้วพบว่า ยาเส้นประเภทสูบผ่านน้ำอย่างบารากู่นั้น มีอันตรายมากกว่าการสูบบุหรี่ทั่วไป เพราะมีสารนิโคติน และสารทาร์จำนวนมากกว่า อีกทั้งการสูบผ่านน้ำและการผสมกับผลไม้กลิ่นต่าง ๆ จะทำให้ความเข้มข้นของควันจางลง ทำให้ผู้สูบ สูบได้ลึกมากขึ้น และจำนวนมากขึ้น ถ้าใช้เวลาสูบ
          นาน 45 นาที จะได้รับสารทาร์เป็น 36 เท่า คาร์บอนมอนนอกไซด์เป็น 15 เท่า และนิโคตินเป็น 70 เท่า เมื่อเทียบกับการสูบบุหรี่ 1 มวน ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก โดยเฉพาะ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งเป็นสารที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดแข็งตัว และโรคเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจ ผู้สูบจะมีอาการปวดศีรษะ ตามองเห็นภาพไม่ชัด ใจสั่น เวียนศีรษะ และมีระดับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดมากกว่าผู้ที่สูบบุหรี่ทั่วไป อีกทั้ง ยังอาจกระตุ้นให้เกิดหลอดลมตีบตัวในผู้ป่วยโรคหอบหืด และเพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร จึงเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ ยังพบว่าทำให้การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ผิดปกติอีกด้วย
          ดร.นพ.พรเทพ  ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สิ่งที่ น่าเป็นห่วงในขณะนี้ คือ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบารากู่ ที่สามารถช่วยเลิกสูบบุหรี่ ช่วยฟอกปอดให้สะอาดขึ้น และแก้โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ เช่น โรคแพ้อากาศ หรือไซนัส
          รวมถึงช่วยกระตุ้นอารมณ์เพศ จึงเป็นเหตุจูงใจให้กลุ่มวัยรุ่นหันมาสูบบารากู่ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะวัยรุ่นและนักศึกษา ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ไม่จริง อย่างแน่นอน เพราะการสูบบารากู่มีพิษภัยกว่าบุหรี่ทั่วไปถึง 6 เท่า หากสูบ ทุกวันจะเท่ากับสูบบุหรี่วันละ 10 มวน อีกทั้งยังมีโอกาสจะติดโรคร้ายใน ช่องปาก และโรคเหงือก และที่สำคัญคือ บารากู่ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการ เสพและขายยาเสพติดอีกด้วย ซึ่งปัญหานี้ เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด ก่อนที่การสูบบารากู่จะกลายมาเป็นวัฒนธรรมที่ผิดของหมู่วัยรุ่น  และ ดร.นพ.พรเทพ  ศิริวนารังสรรค์ ถูกซึมซับจนกลายเป็นปัญหาที่ยากจะอธิบดีกรมควบคุมโรคแก้ไขได้
          อธิบดีกรมควบคุมโรค ยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้ช่องทางให้คำปรึกษาในการ เลิกบุหรี่มีหลายช่องทาง โดยเฉพาะ "สายเลิกบุหรี่ 1600" ที่ให้บริการแก่ประชาชนที่ต้องการขอคำปรึกษาในการเลิกบุหรี่ ซึ่งขณะนี้ ได้ยกเว้นค่าบริการในการเรียกเข้าหมายเลข 1600 โดยประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ใดๆ และขอย้ำว่า "บุหรี่ เลิกยากแต่เลิกได้ แค่อาศัยความตั้งมั่นและรู้จักธรรมชาติของตนเอง"


pageview  1205835    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved