HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 14/02/2555 ]
เปิดอกคุยเรื่อง'เซ็กซ์'ห้ามยาก-แต่ป้องกันได้

          "เซ็กซ์"และ "โรคติดต่อ"เป็น 2 สิ่งที่สังคมให้ความสนใจ พูดถึงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในเทศกาลแห่งความรักเรื่องดังกล่าวถูกหยิบมาย้ำเตือน และทำให้สังคมรับรู้ร่วมกันว่าต้องแก้ไข
          เรื่องของเรื่องจะไม่เกิดปัญหาเลยหาก"เซ็กซ์"มาพร้อมกับการป้องกัน และความรับผิดชอบ ปัญหาขณะนี้ คือ เยาวชนมีเพศสัมพันธ์อายุน้อยลง ขณะที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการป้องกันความปลอดภัยน้อยเช่นกัน
          หลายโพลสำรวจพบว่าไม่ใช่เยาวชนทั้งหมดที่จ้องมีเพศสัมพันธ์ในวันแห่งความรัก และ 4 ใน 5 ของเยาวชนที่สำรวจยังเห็นว่าเซ็กซ์เป็นเรื่องใหญ่ แต่ความไม่ปลอดภัยจากการมีเพศสัมพันธ์เกิดขึ้นได้ทุกวันเพราะปัจจัยเสี่ยงอยู่รอบตัวเด็ก ทำให้อาจพลาดพลั้งได้เสมอ
          เมื่อถามถึงการป้องกัน
          ตนเองพบว่า เยาวชนไทยเพียงร้อยละ 43 ที่เห็นความสำคัญของถุงยางอนามัยป้องกันโรคส่วนผลสำรวจการใช้และเข้าถึงถุงยางอนามัยคนอายุ 12-24 ปี ในกรุงเทพฯ พบเยาวชนไทยร้อยละ 69 ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ส่วนในกลุ่มที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ระบุว่าเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 14-15 ปี โดยใช้ถุงยางอนามัยเพียงร้อยละ 52
          ถุงยางอนามัยไม่ใช่แค่ไม่ท้อง แต่หมายถึงสุขภาพ เพราะข้อมูลที่น่าเป็นห่วง คือ จำนวนผู้
          ป่วยหนองในมีเพิ่มขึ้นโดยเมื่อปี 2543 มีอัตราผู้ป่วยจาก 22.3 รายต่อแสนประชากรแต่เมื่อปี 2553 พบว่ามีอัตราผู้ป่วยเพิ่มเป็น42.2 รายต่อแสนประชากร ปัญหาเกิดจากการไม่ใช้ถุงยางอนามัย ยังไม่นับรวมโรคเอดส์ที่พบการติดเชื้อของกลุ่มเยาวชนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
          การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาเป็นสิ่งที่ต้องเริ่มตั้งแต่ครอบครัว พูดคุยอย่างเปิดอก และให้ความรู้ สอนความรับผิดชอบ ยับยั้งชั่งใจและให้ความรักตนเองเป็นพื้นฐานให้เกิดความปลอดภัยได้
          การแสดงออกถึงความรัก มีหลากหลายวิธีการให้กำลังใจ การให้สิ่งของ การดูแล ล้วนแต่เป็นวิธีการแสดงออกถึงความรัก แต่เรื่องเซ็กซ์เป็นสิ่งที่ห้ามได้ยาก งานวิจัยหลายชิ้น
          ล้วนชี้ไปในทางเดียวกันว่า เด็กมีเซ็กซ์อายุต่ำลง เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 15 ปี ซึ่งวุฒิภาวะที่ไม่เพียงพออาจทำให้เกิดปัญหาตามมา
          ความรับผิดชอบ การดูแลสุขภาพให้มีเซ็กซ์ที่ปลอดภัย จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้ใหญ่ต้องช่วยกันป้องกัน ด้วยการให้ความรู้ ความเข้าใจ
          หากไม่รู้จะเริ่มอย่างไรก็หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหลายช่องทาง เช่น เว็บไซต์ www.takaboutsex.thaihealth.or.th หรือ www.dekd.com/truelove หรือ สายด่วนต่างๆ เป็นต้น
          ดีกว่าปล่อยเด็กเรียนรู้เอาเอง ซึ่งอาจเกิดปัญหาหนักอกตามมาให้แก้ในที่สุด


pageview  1205110    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved