HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 05/05/2555 ]
ดีเอสไอเชือด3กลุ่มยาซูโดฯ เปิดชื่อ11รพ.-ฟัน7คนพัวพัน

อย.เผยตัวเลขส่ง'ซูโดฯ'คืน 43 บริษัท รวม 20 ล้านเม็ด พาราฯพุ่งเกิน 10 ล้าน ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจซ้ำ 3 บริษัทยอดคืนสูงกว่า 1 ล้าน เตรียมล้อมคอกให้ผลิตปีละ 12 ตัน 'ดีเอสไอ'สรุปยาหายจากระบบ แยกเป็น 3 กลุ่ม
          เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยากล่าวถึงความคืบหน้าการคืนยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนทุกสูตร รวมทั้งสูตรผสมพาราเซตามอลตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน ถึงวันที่ 2 พฤษภาคม ว่าบริษัทยา 43 แห่ง ได้รายงานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ถึงตัวเลขการคืนยาทั้งหมด 20,700,000 เม็ด เป็นยาสูตรผสมพาราเซตามอลประมาณ 10,923,726 เม็ด ยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนสูตรแก้หวัดกว่า7,109,878 เม็ด ส่วนยาน้ำ 11,700,000 มิลลิลิตร สำหรับยอดการรับยาคืนที่ตึกเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด อย. ซึ่งเป็นสถานที่เปิดมิลลิลิตร สำหรับยอดการรับยาคืนที่ตึกเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด อย. ซึ่งเป็นสถานที่เปิดให้บริษัทยารับยาคืนจากร้านขายยา คลินิก และสถานพยาบาลเอกชนที่ไม่ประสงค์จะครอบครองยา เมื่อวันที่ 1-2 พฤษภาคมที่ผ่านมายอดรวม 81,853 เม็ด ยาน้ำ 10,680 มิลลิลิตร
          นพ.พงศ์พันธ์กล่าวว่า ข้อมูลการคืนยามี 3 บริษัทแรก ที่มียอดรับยาคืนสูงสุดมากกว่า 1 ล้านเม็ดขึ้นไป คือ 1.บริษัท ไทยนครพัฒนาจำกัด 10,149,268 เม็ด ยาน้ำ 6,403,080 มิลลิลิตร 2.บริษัท เอ็ม แอนด์ เอ็ช แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด 1,984,979 เม็ด ยาน้ำ 1,467,300 มิลลิลิตร และ 3.บริษัท ยูนิแล็ป ฟาร์มาซูติคอลส์ จำกัด 1,118,280 เม็ด ทั้ง 3 แห่งอย.จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบเช็กยอดของบริษัทว่าตรงตามที่รายงานหรือไม่ เนื่องจากมียอดจำนวนมากจึงต้องตรวจสอบเพิ่มเติม ส่วนบริษัทว่าตรงตามที่รายงานหรือไม่ เนื่องจากมียอดจำนวนมากจึงต้องตรวจสอบเพิ่มเติม ส่วนบริษัทรายอื่นๆ จะทยอยตรวจหลังจากวันที่ 3 พฤษภาคม เป็นต้นไป
          "สำหรับการส่งยาคืนทางไปรษณีย์นั้น ยังไม่มีรายงาน คาดว่าอาจวิตกกังวลในเรื่องการจัดส่ง อย่างไรก็ตาม หากมีการส่งมาจริงจะดูวันที่ตีตรา หากอยู่ภายในวันที่ 3 พฤษภาคม ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย" นพ.พงศ์พันธ์กล่าว
          รองเลขาธิการ อย.กล่าวว่า หลังเรียกเก็บยาคืนทั้งหมดแล้วจะอยู่ในขั้นตอนจัดระเบียบต่างๆโดยจะลงพื้นที่ตรวจปริมาณยาของแต่ละบริษัทรวมทั้งตรวจร้านขายยา คลินิกต่างๆ ว่ามียาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนทุกสูตรอยู่หรือไม่ และในวันที่25 พฤษภาคมนี้ จะเรียกบริษัทยาที่ผลิตและนำเข้าซูโดฯ รวมทั้งคลินิกหรือสถานพยาบาลที่มีความประสงค์ถือครองยา มาประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางการจัดการยาให้เป็นระบบ หรือที่เรียกว่า FDA Reporter ซึ่งเป็นระบบออนไลน์เรียลไทม์ ที่แจ้งจำนวนการสั่งยา และส่งยาของบริษัทต่างๆ อีกครั้ง
          "สำหรับแผนการจัดระเบียบต่างๆ หากเป็นคลินิก สถานพยาบาลเอกชนต้องการมียาในครอบครอง นอกจากต้องมีใบอนุญาตครอบครองจาก อย.แล้ว ต้องมีใบประกอบโรคศิลปะยอดการสั่งอีก ซึ่งการจัดการนั้นจะอิงทั้งส่วนบริษัทยา และสถานพยาบาล ตัวเลขการสั่งซื้อต้องตรงกัน ไม่เพียงแต่ควบคุมการผลิตยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนเท่านั้น สำหรับยาสูตรเดี่ยวที่เดิมอนุญาตให้ 4 บริษัท ผลิตได้เท่านั้น ขณะนี้
          ได้สั่งห้ามผลิตเป็นการชั่วคราว" นพ.พงศ์พันธ์กล่าว
          นพ.พงศ์พันธ์กล่าวอีกว่า อย.มีแผนว่าจะควบคุมการใช้ยากลุ่มนี้ไว้ไม่เกินปีละ 12 ตันหรือ 12,000 กิโลกรัมเบส (กิโลกรัมเบส หมายถึง จำนวนการผลิตยาในกลุ่มอุตสาหกรรมยา)จากเดิม 35 ตันต่อปี หรือ 35,000 กิโลกรัมเบสอย่างไรก็ตาม ขณะนี้ไม่อนุญาตให้นำเข้าหรือส่งออกยากลุ่มนี้เด็ดขาด เพราะยังอยู่ระหว่างการควบคุม เรื่องนี้ได้แจ้งไปยังคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศแล้ว
          ด้านนายธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ โฆษกคณะทำงานป้องกันปราบปราม ฟื้นฟูและเยียวยาด้านยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงผลตรวจสอบคลินิกหู คอ จมูก ใน อ.เมืองจ.ชลบุรี หลังพบสั่งยาซูโดอีเฟดรีนสูตรเดี่ยวสูงถึง 165,000 เม็ด ยาซูโดอีเฟดรีนสูตรผสมถึง530,730 เม็ด ว่า ในส่วนของยาสูตรผสมนั้นตรวจสอบจากจำนวนคนไข้ในแต่ละวัน และเวชระเบียน พบว่ามีการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลเพราะมีจำนวนคนไข้มาก ขณะที่ยาสูตรเดี่ยวนั้นเวชระเบียน พบว่ามีการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลเพราะมีจำนวนคนไข้มาก ขณะที่ยาสูตรเดี่ยวนั้นคลินิกยังไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าเหตุใดยอดที่แจ้ง อย.กับยอดที่แจ้งไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ชลบุรี ไม่ตรงกันและมียอดต่างกันถึง 30,000 เม็ด ดังนั้นอย.แจ้งให้คลินิกทำรายงานแจ้งจำนวนยาที่ต่างกันส่ง อย.ภายใน 7 วัน หากไม่ดำเนินการจะแจ้งไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เข้าตรวจสอบต่อไป
          ขณะที่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอแถลงภายหลังร่วมประชุมกับพนักงานอัยการคดีพิเศษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วยงานเพื่อติดตามความคืบหน้าคดีการลักลอบนำยาแก้
          หวัดสูตรซูโดอีเฟดรีนออกจากระบบโรงพยาบาลที่ดีเอสไอ ว่า ที่ประชุมนำผลการสอบสวนพยานหลักฐานและเอกสารรายละเอียดการลงพื้นที่แต่ละโรงพยาบาลมาสรุปผลการทำงาน ล่าสุด
          ได้แบ่งการกระทำความผิดกรณีดังกล่าวเป็น 3 กลุ่ม 1.กลุ่มที่กระทำความผิดโดยการใช้ชื่อโรง
          พยาบาลสั่งซื้อยาแก้หวัด แต่ไม่มีการนำยาเข้าระบบของโรงพยาบาลหรือลอยยา ในกลุ่มนี้แบ่งผู้กระทำความผิดเป็น 2 ส่วนคือ คนกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลและบริษัทยา เช่น เซลส์ยาและดีเทลยาจำนวน 5 คนโดยมีโรงพยาบาลเอกชน 2 แห่ง คือโรงพยาบาลสยามราษฎร์ จ.เชียงใหม่ และโรงพยาบาลเซ็นทรัล เมโมเรียล จ.เชียงใหม่โรงพยาบาลรัฐ 2 แห่ง คือโรงพยาบาลฮอดและโรงพยาบาลดอยหล่อ จ.เชียงใหม่
          นายธาริตกล่าวต่อว่า กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่ขโมยยาออกจากคลังยาของโรงพยาบาล และบางส่วนมีการใช้ชื่อโรงพยาบาลแอบอ้างด้วย มีผู้เกี่ยวข้องที่เป็นคนกลางและผู้บริหารจัดการ 2 คน โดยกลุ่มนี้มี 2 โรงพยาบาลที่เข้าข่าย คือโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี จ.อุดรธานี และโรงพยาบาลทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์
          "ส่วนกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่มีการทุจริตยาจริงแต่ต้องรอหาหลักฐานความเชื่อมโยงก่อน มีโรงพยาบาล 5 แห่งเข้าข่าย ประกอบด้วย โรงพยาบาลกมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ โรงพยาบาลหนองกี่ จ.บุรีรัมย์ โรงพยาบาลภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษโรงพยาบาลนากลาง จ.หนองบัวลำภู และโรงพยาบาลเสริมงาม จ.ลำปาง" อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษกล่าวโรงพยาบาลเสริมงาม จ.ลำปาง" อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษกล่าว
          นายธาริตกล่าวว่า จากนี้ดีเอสไอจะตรวจสอบหาหลักฐานความเชื่อมโยงให้ชัดเจนก่อนออกหมายเรียกและแจ้งข้อกล่าวหาหากเป็นเจ้าหน้าที่รัฐจะถูกออกหมายเรียกเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาและส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบ แต่หากเป็นเอกชนจะขอออกหมายจับและดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
          "ทั้งนี้ จะเน้นการตรวจสอบความเชื่อมโยงในลักษณะขบวนการใหญ่ รวมถึงจะเร่งตรวจสอบเซลส์ยาและบริษัทยาให้ละเอียดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความเชื่อมโยงกันระหว่างโรงพยาบาลและบริษัทยา นอกจากนี้ จะตรวจสอบระบบงานของโรงพยาบาลทั้งหมด เช่น ผู้ทำหน้าที่ควบคุมการเบิกจ่ายยา โดยยึดตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีและระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข" นายธาริตกล่าว
          ที่สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นายสรรเสริญ ปาลวัฒน์วิไชยรองอธิบดีดีเอสไอ พร้อมคณะ ตรวจสอบข้อมูลขั้นตอนการนำเข้าและส่งออกสินค้า ตามขั้นตอนปกติ โดยมีนางชลิดา พันธ์กระวีผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และนายจาตุรนต์ศรีศุภอรรถ ผู้จัดการคลังฝ่ายคลังสินค้าทั่วไปร่วมให้ข้อมูล
          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสรรเสริญสอบถามนางชลิดากรณีเอกสารการนำเข้าซูโดฯจากประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งนางชลิดากล่าวว่า หากเอกสารการสำแดงไม่ได้เป็นสิ่งของถูกขึ้นบัญชีต้องเฝ้าระวัง เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะไม่เปิดกล่องสินค้า จะตรวจสอบเพียงเอกสารใบปะหน้ากล่องกับเอกสารใบสำแดงว่าตรงตามที่ต้นทางสำแดงหรือไม่
          นายสรรเสริญถามต่อว่า มีเอกสารจากต้นทางว่าเป็นยา ทำไมไม่ได้เปิดตรวจสอบ นางชลิดากล่าวว่า ในทางปฏิบัติศุลกากรจะไม่ทราบว่าสินค้าที่ส่งมาจากต้นทางเป็นอะไร ส่งให้ใครเพราะต้นทางจะแจ้งสายการบิน ซึ่งศุลกากรจะตรวจสอบเพียงใบเอกสารการสำแดง เลขที่ใบขน กับใบปะหน้าตรงกันหรือไม่เท่านั้นใบขน กับใบปะหน้าตรงกันหรือไม่เท่านั้น
          หลังฟังคำชี้แจงแล้ว พนักงานสอบสวนพร้อมเจ้าหน้าที่ศุลกากร เดินทางไปยังเขตปลอดอากร เพื่อตรวจสอบการทำงานจริงของเจ้าหน้าที่ โดยไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าไป
          นายสรรเสริญเปิดเผยว่า ภายหลังเข้าตรวจสอบและสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เขตปลอดอากรว่า การลงพื้นที่ทำให้ทราบวิธีการ ขั้นตอนการทำงานและระบบ พิธีการศุลกากร ปกติของที่ส่งมาจากต่างประเทศจะถูกส่งไปคลังสินค้าของบริษัทการบินไทย จากนั้นบริษัทชิปปิ้ง หรือบุคคลทั่วไปต้องไปติดต่อที่คลังสินค้าเพื่อขอเอกสาร ก่อนนำเข้าสู่พิธีการศุลกากร คือการชำระภาษี การสำแดงสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะออกใบขนสินค้าให้กับเจ้าของหรือบริษัทชิปปิ้ง เพื่อกลับไปติดต่อกับคลังสินค้าและจ่ายเงินก่อนนำของออก
          "ทั้งนี้ หากเป็นสินค้าต้องห้ามหรือกลุ่มสีแดงเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะเปิดสินค้าสุ่มตรวจสินค้า 3 เปอร์เซ็นต์ หากสินค้าตรงตามที่สำแดง มีเอกสารใบอนุญาตถูกต้องก็จะปล่อยของออกสำหรับการนำเข้ายาแก้หวัดจากประเทศเกาหลีใต้ ศุลกากรแจ้งว่าก่อนเจ้าหน้าที่ออกไปปล่อยของได้ตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ามีเอกสารครบ แต่เมื่อให้ตรวจค้นเอกสารต้นขั้วกลับไม่พบใบอนุญาตจาก อย. ทั้งที่สำนักงานศุลกากรและสำนักงาน อย. ลักษณะเช่นนี้อาจเกิดการปลอมแปลงเอกสารของพวกบริษัทชิปปิ้งเถื่อนก็เป็นได้" นายสรรเสริญกล่าว
 


pageview  1205146    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved