Follow us      
  
  

กรุงเทพธุรกิจ [ วันที่ 20/12/2560 ]
ห่วงพฤติกรรม เลียนแบบ เตือนผู้ปกครองระวังใกล้ชิด

กรมสุขภาพจิต เผยการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการ เสียชีวิตทั่วโลกกว่า 8แสนคนต่อปี คาดจะเพิ่มเป็น 1.5 ล้านคนในอีก 5 ปี ข้างหน้าแนะพ่อ-แม่คนใกล้ชิดจับตาดูบุตรหลาน ป้องกันพฤติกรรมเลียนแบบ
          น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตทั่วโลกกว่า 8 แสนคนต่อปี คาดว่า จะเพิ่มเป็น 1.5 ล้านคนในปี 2563 โดยมีคนพยายามฆ่าตัวตายสูงกว่าคนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ 20 เท่าตัว เกิดจากหลายสาเหตุประกอบกัน
          สำหรับความกังวลเป็นห่วง แฟนคลับหวั่นเกิดการฆ่าตัวตายเลียนแบบคนดังหรือ Copycat Suicide ในเมืองไทยนั้น การเลียนแบบ จะไม่เกิดขึ้นกับคนที่ไม่มีความคิด ฆ่าตัวตายอยู่ก่อน แต่สำหรับคนที่คิดฆ่าตัวตายอยู่ อาจจะทำให้เห็นช่องทาง หรือวิธีการฆ่าตัวตายมากขึ้น ถ้าบุคคล ที่ฆ่าตัวตายมีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จักในสังคม จะมีผลให้คนมีความคิดที่จะ ฆ่าตัวตายตามได้ ต้องดูความเปราะบาง ด้านจิตใจหรือผูกพันกันขนาดไหน ผูกพันมากก็ทำให้หวั่นไหวตามมาก
          แม้ในไทยกระแสการฆ่าตัวตาย เลียนแบบบุคคลมีชื่อเสียงจะยังมี ไม่มาก ก็ไม่ควรชะล่าใจ เรื่องนี้ต้องระวัง อย่างสื่อเองการพาดหัวหรือการแจง รายละเอียดการฆ่าตัวตาย เป็นสิ่งที่ต้อง ระวัง เพราะหากบรรยายมากเกินไปอาจเกิดผลกระทบได้ แต่ให้เน้นไปที่แนวทางการป้องกัน ดูแล ช่วยเหลือ ผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายให้มากขึ้น
          ขณะที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเฝ้า ระวังอย่างใกล้ชิดหากลูกหลานมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงก็ต้องใส่ใจ ซักถามและทำความเข้าใจ เช่น ร้องไห้บ่อยเก็บตัว ไม่พูด เหม่อลอย บางครั้ง จะพูดถึงเรื่องฆ่าตัวตาย บ่นไม่อยาก มีชีวิต ชีวิตไม่มีคุณค่า เป็นต้นสัญญาณ เตือนเหล่านี้พ่อแม่ จะต้องให้ความสนใจ เป็นพิเศษหมั่นสังเกตเด็ก  รวมไปถึง ต้องดูแลเด็กที่เคยฆ่าตัวตายมาแล้ว อย่างใกล้ชิด เพราะโอกาสที่จะกลับไป ฆ่าตัวตายซ้ำมีมาก
          แม้สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ แต่ควรป้องกันไว้ก่อนดีที่สุด สำหรับแฟนคลับก็ขอให้ชื่นชมในความสามารถของบุคคลนั้น การฆ่าตัวตายไม่ใช่ทางออกของปัญหา ขอให้มองสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอุทาหรณ์มองเป็น บทเรียน ไม่มีใครอยากฆ่าตัวตาย และ คงไม่หวังที่จะให้คนอื่นฆ่าตัวตายตาม การฆ่าตัวตายเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ ส่วนภาวะซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้เช่นกัน หากเกิดภาวะซึมเศร้า คิดสั้น ทำใจไม่ได้ ให้พูดคุยกับ คนใกล้ชิดหรือปรึกษาจิตแพทย์
          ด้าน นพ.ณัฐกร จำปาทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กล่าวเสริมว่าอัตราฆ่าตัวตาย ของคนไทยปี 2559 อยู่ที่ 6.35 ต่อประชากรแสนคน ลดลงจากปี 2558 ที่มีอัตรา 6.47 ต่อประชากรแสนคน โดยช่วงอายุ 35-39 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด ขอย้ำว่าปัญหาการฆ่าตัวตายเป็นเรื่องใกล้ตัว เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ทุกคนสามารถช่วยป้องกันและลดปัญหาฆ่าตัวตายลงได้ สัญญาณเตือนของการฆ่าตัวตาย เช่นเวลาพูด มีน้ำเสียงวิตกกังวล สีหน้าเศร้าหมอง กินไม่ได้ นอนไม่หลับ พูดเปรยๆว่า อยากตาย โดยเฉพาะ กลุ่มเสี่ยงเช่นผู้มีปัญหาโรคซึมเศร้า มีปัญหาชีวิตผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง

 pageview  1204946    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved