Follow us      
  
  

กรุงเทพธุรกิจ [ วันที่ 29/08/2560 ]
เร่งออก 4 กฎกระทรวง ป้องกันวัยรุ่น 'ตั้งครรภ์'

 ปัญหา "แม่วัยใส" หรือการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรเป็นปัญหาสังคมอันดับต้นๆ ของประเทศ และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานาน โดยมีความพยายามแก้ไขกันมาโดยตลอดจากหลายหน่วยงาน แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังคงเกิดปัญหาอย่าง ต่อเนื่อง และมีทีท่าว่าจะรุนแรงขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การต่อสู้ดิ้นรน ทางสังคมอาจทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง มีเวลาดูแลลูกหลานน้อยลงกว่าในอดีต ขณะเดียวกัน โลกการสื่อสารออนไลน์ ทำให้เด็กมีความรับรู้เรื่องเพศ รวมทั้ง มีสิ่งเร้าที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น รวมถึงการพูดคุยสื่อสารกับเพื่อนต่างเพศก็สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านการพูดคุยบนสื่อโซเชียล  อย่างไรก็ดีแนวโน้มวัยรุ่นไทยตั้งครรภ์ ก่อนวันอันควร กำลังถูกปัดฝุ่นเร่งรัด การแก้ไขอีกครั้ง ด้วยการบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเร่งเดินหน้า ออกกฎกระทรวง 4 ฉบับ โดย 4 กระทรวง เพื่อสอดรับกับกฎหมายป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
          พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัยรองนายกรัฐมนตรี กล่าวหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ครั้งที่ 2/2560 วานนี้ (28 ส.ค.) ว่าการประชุมมีสาระสำคัญในการรายงานความก้าวหน้าร่างกฎกระทรวง ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 โดยขณะที่ทั้ง 4 กระทรวงที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาเด็กและเยาวชน ได้มีการดำเนินการดังนี้
          กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการสวัสดิการสังคมที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ... ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมีมติอนุมัติ หลักการ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาและดำเนินการต่อไป
          กระทรวงแรงงาน ได้ดำเนินการจัดประชุม กลุ่มผู้ประกอบกิจการเพื่อรับฟังความคิดเห็น ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการของสถานประกอบการกิจการในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น แก่ลูกจ้าง พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560 ซึ่งกระทรวงแรงงานได้ปรับปรุง ตามข้อเสนอ โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อเสนอต่อรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแล เพื่อเสนอต่อเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
          กระทรวงศึกษาธิการ ได้เสนอร่าง กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษา และการดำเนินการของสถานศึกษา พ.ศ. ...  ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเสนอต่อรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแล เพื่อเสนอต่อ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
          กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอร่าง กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการ  และการดำเนินการของสถานบริการ ในการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ... ต่อครม.โดยมีมติอนุมัติหลักการ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560 และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาและดำเนินการต่อไป
          ด้านนพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดี กรมอนามัย กล่าวว่านับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา สถานการณ์การตั้งครรภ์ใน วัยรุ่นมีแนวโน้มดีขึ้น อัตราคลอดในวัยรุ่น อายุ 15-19 ปี ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 54.3 ต่อพันประชากร ในปี2555 ลงมา เหลือ 42.5 ในปี 2559 และข้อมูลล่าสุด ในปี2560 จาก Health data Center ของกระทรวงสาธารณสุข อัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี นับตั้งแต่เดือนต.ค.2559-มิ.ย.2560 อยู่ที่ 36.6 ต่อพัน ประชากร สำหรับการขับเคลื่อนการสอนเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตให้แก่วัยรุ่นในสถานศึกษานั้น พบว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดการเรียนรู้เรื่องเพศวิถีศึกษาไว้ในกลุ่มสาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 6 หน่วยการเรียนรู้ คือ 1.พัฒนาการทางเพศ (Human Sexuality Development) 2. สุขภาวะทางเพศ (Sexuality Health) 3. พฤติกรรมทางเพศ (Sexual Behavior)
          4. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Relationship) 5. ทักษะส่วนบุคคล (Value, Attitudes and Skills หรือ personal Skills) และ 6. สังคมและวัฒนธรรม (Social, Culture and Human Right)
          ทั้งนี้ ได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วยการพัฒนาหลักสูตร จัดทำสื่อการสอน พัฒนาครูผู้สอน และพัฒนาแกนนำนักเรียน พร้อมดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียนด้วยการกำหนดมาตรการเรียนรู้ การเฝ้าระวัง และดูแลให้ความช่วยเหลือ
          "ปัญหาแม่วัยใส กำลังถูกปัดฝุ่น เร่งรัดแก้ไขอีกครั้ง ด้วยการบูรณาการ ของ 4 กระทรวง'

 pageview  1204270    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved