Follow us      
  
  

กรุงเทพธุรกิจ [ วันที่ 23/04/2557 ]
ลดเสี่ยง'ภูมิแพ้' ในเด็ก
"โรคภูมิแพ้" ถือเป็นโรคที่เกิดมาคู่กับเด็ก "โหลายคน แต่จะทำอย่างไรให้ลูกน้อยห่างไกลจากโรคภัย การเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับลูกจึงเป็นหน้าที่หลักของคุณพ่อคุณแม่ อีกทั้งต้องช่วยกันสร้างภูมิต้านทานให้ลูกเพิ่มเป็น 2 เท่า เนื่องจากโรคภูมิแพ้เกิดจากหลายปัจจัย ด้วยสาเหตุของสภาพแวดล้อมในสังคมที่ส่งผลให้มีโอกาสเสี่ยงสูงเพิ่มขึ้น รวมถึงการที่คุณแม่ให้กำเนิดลูกน้อยโดยการผ่าท้องคลอด หรือ C-Section ซึ่งทำให้ลูกน้อยเกิดความเสี่ยง ในการปรับภาวะภูมิต้านทานต่ำนั่นเอง
          "การประเมินความเสี่ยงจากประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัวจะมีส่วนช่วยให้ทราบว่า ทารกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้สูงหรือไม่" รศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวและอธิบายเพิ่มเติมว่า "วิธีนี้จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับมือด้วยการป้องกันโรคภูมิแพ้ของทารกได้แต่เนิ่นๆ อย่างถูกต้องทันท่วงที
          นอกจากนั้นการศึกษาพบว่า แม้แต่ทารกที่พ่อแม่ไม่เป็นโรคภูมิแพ้เลย ลูกก็มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้ถึงร้อยละ15 หากพ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้ถึงร้อยละ 40 แต่ถ้าทั้งพ่อ และแม่เป็นโรคภูมิแพ้ โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้จะมีมากถึงร้อยละ 70 กรรมพันธุ์จึงเป็นสาเหตุหลักของการเป็นภูมิแพ้ในเด็กที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้"
          ทั้งนี้ จากผลสำรวจในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาของงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า เด็กไทย ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมถึง 3 เท่า นับเป็นข้อบ่งชี้ที่ไม่ควร มองข้าม เพราะการเป็นโรคภูมิแพ้ตั้งแต่วัยเด็กจะ ส่งผลให้การเจริญเติบโต และพัฒนาการต่างๆ ไม่เป็นไปตามวัย ที่เหมาะสม
          นอกจากกรรมพันธุ์ซึ่งเป็นสาเหตุหลักแล้ว ยังพบว่า การคลอดด้วยการ "ผ่าคลอด" หรือ Caesarean section: C-section ทำให้เด็กมีความเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้มากกว่าเด็กที่คลอดแบบธรรมชาติประมาณ 3 เท่าและถ้าแม่เป็นโรคภูมิแพ้ด้วย เด็กจะมีความเสี่ยง สูงถึง 9 เท่า ในขณะที่การคลอดแบบธรรมชาติ เมื่อเด็กผ่านช่องคลอดก็จะได้สัมผัสกับแบคทีเรียที่ดี หรือจุลินทรีย์สุขภาพภายในบริเวณช่องคลอด ซึ่งจะไปเป็นเชื้อบุกเบิกเข้าไปอยู่ในลำไส้ของเด็กทารก (Early Colonization) และเติบโตเพิ่มจำนวนอยู่ในลำไส้ ซึ่งถ้ามีอยู่มากระบบภูมิต้านทานของเด็กก็จะดีและกลายเป็นเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรง
          สำหรับสภาพแวดล้อมก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่พบบ่อยที่สุดว่า ส่งผลต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ในเด็ก ซึ่งลักษณะการแพ้ที่พบได้โดยทั่วไป ได้แก่ การแพ้อาหาร อากาศ และยาปฏิชีวนะ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยจำนวนมากที่บ่งชี้ว่า การให้เด็กกินนมแม่ อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้ในเด็กได้
          "6 เดือนแรกของการให้นมลูก นับเป็นช่วงนาทีทองของลูกน้อยในการสร้างภูมิต้านทาน ที่ดี การได้ดื่มนมแม่เป็นวิธีลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ดีที่สุด เนื่องจากในน้ำนมแม่ มีสารอาหารที่เป็นใยอาหารสุขภาพ (พรีไบโอติก) ที่จุลินทรีย์ในลำไส้ (โพรไบโอติก) ชื่นชอบ ซึ่งจะช่วยให้เด็กทารกเติบโตได้ดี รวมถึงทำให้ระบบภูมิต้านทานของเด็กทารกหลังคลอดปรับไปในด้านดี แต่หากแม่ไม่สามารถให้นมลูกได้ การให้นมที่มีส่วนผสมของจุลินทรีย์และอาหารของจุลินทรีย์ หรือซินไบโอติก ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับนมแม่นั้น ก็สามารถช่วยสร้างจุลินทรีย์ในลำไส้ได้เช่นกัน ซึ่งข้อสรุปนี้สอดคล้องกับผลวิจัยในเด็ก 98 คนในประเทศออสเตรเลียที่พบว่า เด็กที่กินนมที่มีส่วนผสมของซินไบโอติก ในอุจจาระจะมีจุลินทรีย์ที่ดีมากกว่าเด็กที่กินนมทั่วไป"
          ทั้งนี้การพัฒนาของจุลินทรีย์ในลำไส้ (Early Colonization) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ดีนั้นจะอยู่ในกลุ่มของ บิฟิโดแบคทีเรียม และหนึ่งในสายพันธุ์ที่ดีที่สุดคือ เบรเว่ เอ็ม 16 วี (Health beneficial bacteria) ก็เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่มีผลงานวิจัยรองรับว่ามีคุณสมบัติเด่นในการช่วยลดอาการภูมิแพ้ เมื่อผสานกับใยอาหารที่ละลายน้ำได้ สูตรเฉพาะ scGOS/lcFOS สัดส่วน 9:1 ก็จะช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ใน เด็กทารกที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบ บรรเทาผื่นภูมิแพ้จากผ้าอ้อมและช่วยเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหาร รวมถึงป้องกันอาการที่เกี่ยวกับโรค หืดหอบได้" รศ.พญ.จรุงจิตร์ กล่าว
          แม้การ "ผ่าคลอด" อาจส่งผลต่อภูมิต้านทานของลูกน้อย ทำให้เขามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป แต่ธรรมชาติก็สร้างกลไกของการป้องกันด้วยน้ำนมแม่ที่มากคุณค่า แต่หากลูกรักไม่สามารถสร้างเกราะให้กับตัวเองด้วยวิธีทางธรรมชาติแล้ว คุณแม่ก็สามารถปรึกษาบุคลากรทาง การแพทย์เพื่อขอคำแนะนำได้
          บรรยายใต้ภาพ
          จรุงจิตร์ งามไพบูลย์
 pageview  1204268    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved